การจัดการเชิงกลุ่มเพื่อการเพิ่มศักยภาพผู้ปกครองและครูในการประเมิน และเฝ้าระวังพัฒนาการเด็กต่ำกว่า 5 ปี ศูนย์พัฒนาการเด็กเล็กภายใต้ การดูแลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดพัทลุง
คำสำคัญ:
การจัดการเชิงกลุ่ม, การประเมินพัฒนาการเด็ก, การเฝ้าระวังพัฒนาการเด็ก, ศูนย์พัฒนาการเด็กเล็กบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินระดับความรู้ ทัศนคติ และความสามารถในการตรวจประเมินและส่งเสริมพัฒนาการเด็กวัยก่อนเรียนของกลุ่มผู้ปกครองและครูประจำศูนย์พัฒนาการเด็กเล็ก และ 2) เพื่อเปรียบเทียบผลการจัดการเชิงกลุ่มของกลุ่มผู้ปกครองและครูประจำศูนย์พัฒนาการเด็กเล็ก กลุ่มผู้มีส่วนร่วมในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ตัวแทนผู้ปกครอง และตัวแทนครูจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ที่ได้รับการคัดเลือกแบบเจาะจงจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 33 แห่ง เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสัมภาษณ์และชุดประเมินพัฒนาการเด็กเล็กก่อนวัยเรียน ทำการศึกษาเดือนสิงหาคม 2562 – 30 มิถุนายน 2563 ใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเปรียบเทียบ T-test. ผลการประเมินและเฝ้าระวังพัฒนาการเด็กวัยก่อนเรียน กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 95.24) มีการศึกษาระดับปริญญาตรี (ร้อยละ 95.24) ผลการพัฒนาศักยภาพการจัดการเชิงกลุ่มด้านการประเมินและเฝ้าระวังพัฒนาการเด็กวัยก่อนเรียน พบว่า คะแนนเฉลี่ยความรู้ ทัศนคติ และความสามารถในการประเมินของกลุ่มตัวอย่าง เพิ่มขึ้นโดยก่อนเข้าร่วมโครงการมีคะแนนเฉลี่ย(SD) เท่ากับ 80.27 (10.24), 75.46(7.28), และ 82.43(12.61) เพิ่มเป็น 85.77(9.57), 85.45(6.58) และ 89.50(10.20) แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.022, 0.014 และ 0.002 ตามลำดับ ของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด ดังนั้น การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (PAR) เป็นกระบวนการวิจัยที่เป็นวงจรของการสะท้อนคิด และการปฏิบัติ มุ่งเน้นรูปแบบของการประชุมร่วมกันทั้งแบบ Face to face และ Online ในช่องทางที่จัดตั้งตามมติของกลุ่มคือ Line กลุ่ม ในชื่อ กลุ่มไลท์ “กลุ่มเฝ้าระวังฯในศพด. จ.พัทลุง” มีความเหมาะสมในการประเมินและเฝ้าระวังพัฒนาการของเด็กของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กภายใต้การดูแลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดพัทลุง
References
Best, J. W. (1977). Research in Education. New Jersey: Prentice hall Inc
Bloom, B.S. (1975). Taxonomy of Education. New York : David McKay Company Inc.
Chaikongkiat, P. (2018). Factors Related to Suspected Delayed Development of Early Childhood https://so05.tci-thaijo.org/index.php/pnuhuso/article/view/117957/100076.
Department of Local Government Promotion. (2019). Academic Cooperation Project between Department of Local Government promotion and Suan Dusit University. [Internet]. Available from: http://dusitcenter.org/schools/?region=south&pc.
Khamenkan, K. (2011). Children’s Thoughts and Feelings during Hospitalization: Nursing Management Journal of Nursing Science & Health, 34 (3): 75-87.
Bumrungchon, N., Rattanapiroj, P., & Prada, J. (2014). The development of empowerment program for caregivers of persons with development and intellectual disabilities. The Journal of Psychiatric Nursing and Mental Health, 28 (2):125-140.
National Institute for Child and Family Development. (2015). Holistic approach to child with delayed development and child with special need, happiness version. [Internet]. Available from: www.mahidolclinic.com.
Marshall, C., & Rossman, G. Designing Qualitative Research (4th ed.). Thousand Oaks, CA: Sage Publications.
Neuman, W. L. (1991) . Social research methods: Qualitative and quantitative aproaches. Boston: Allyn and Bacon.
Pengjuntr, W., Health Literacy: [Internet]. 2018 [Cited in 2 October, 2019] Available from: hpc5.anamai.moph.go.th/director/ data/HL/HL_Workshop25012560.pdf.
Phattarasatjatum, P., Nillapun, M., Prachusilpa, G., Vanichwatanavorachai, S .(2021). Development of an Integrated Social Media and Technology based Coaching Model for Developing Early Childhood Healthcare Competencies of Caregivers in Local Administration Organization Childcare Centers. Journal of The Royal Thai Army Nurses 22 (3), 123-134. . (In Thai)
Phongissaranuporn, S & Yamsakul, N. (2019). The Developmental Model for the Health Service System of Early Childhood Through the Participation of Family and Community in Damneon Saduak District, Ratchaburi Province. Medical Journal Region 4-5, 38(1): 25-37. (In Thai)
Puntanit, U., Sangngam, J., Greadsrephun, G. (2019). The effect of a supportive program for developmental screening on knowledge and skills of kindergarten teachers in child developmental centers. Journal of Nursing, Siam University, 20 (39): 60-72. . (In Thai)
Rajanagarindra Institute of Child Development . (2552). TDSI [Internet]. Available from: roporsortor70.pdf (thaichilddevelopment.com)
Palakawong-na-ayudhya, S. (2016). Functional Influence of Preschool Education on Cognitive Development In 3-4-Year-Old Children Academic Services Journal, Prince of Songkla University, 27(1): 133-143. . (In Thai)
Sanivee, H., Wangthong, A & Wangthong A. (2020). Development Process of Enhancing Health Literacy in Children’s Development among Parents in Nongjik District, Pattani Province Journal of Health Science, Thaksin University, 2(1),41-51. . (In Thai)
Ulla, M.B., & Winitkun, D. (2018). In-service teacher training program in Thailand: Teachers’ beliefs, needs, and challenges. Social sciences & Humanities, 26(3): 1579-1594. . (In Thai)
Walk, L.M., Evers, W.F., Quante, S., & Hille, K. (2018). Evaluation of a teacher training program to enhance executive functions in preschool children. PLOS ONE, 13(5), e0197454. http://doi.org/10.1371/journal. pone.0197454.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทุกบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารสาธารณสุข