The 10 แนวปฏิบัติที่ดีในการหาทุนอุดหนุนการวิจัยจากแหล่งทุนภายนอกสถาบัน
คำสำคัญ:
แนวปฏิบัติที่ดี, ทุนอุดหนุนการวิจัยบทคัดย่อ
อาจารย์ซึ่งเป็นนักวิจัยจำเป็นต้องสร้างเครือข่าย/ทีมวิจัยที่ชำนาญในศาสตร์ที่ตนเองสนใจ โดยควรมีสมาชิกของทีมวิจัยเป็นนักวิจัยที่มีชื่อเสียงในสาขาที่จะขอทุน ผลพลอยได้จากการมีเครือข่ายแล้วจับมือรวมกลุ่มกันเป็นทีมทำงานวิจัยคือ สมาชิกภายในทีมนักวิจัยจะดึงดูดงบมาเป็นทุนเพื่อสนับสนุนในการวิจัย ไม่ว่าทุนอุดหนุนวิจัยจากหน่วยงานอื่นภายในจังหวัด เขตสุขภาพ แหล่งทุนวิจัยในระดับชาติ หรือแหล่งทุนวิจัยจากต่างประเทศ ที่สำคัญ สมาชิกของทีมนักวิจัยยังช่วยพัฒนางานวิจัยให้มีคุณภาพยิ่งขึ้นอีกด้วย แนวปฏิบัติที่ดีในการหาทุนอุดหนุนการวิจัยจากแหล่งทุนภายนอกสถาบัน ทีมนักวิจัยจำเป็นต้องศึกษาประกาศ ข้อกำหนด ช่วงวันที่กำหนดส่งข้อเสนอ รูปแบบการเขียนและแบบฟอร์มในการเสนอขอทุนวิจัย ตลอดทั้งวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบระหว่างโครงการวิจัยของคนอื่นที่ได้รับทุนไปแล้วกับโครงการวิจัยที่ทีมนักวิจัยจะเสนอขอว่า ซ้ำกันหรือไม่ ส่งผลกระทบต่อวงการวิชาการ สังคมวงกว้าง หรือสร้างความรู้ใหม่ซึ่งผู้ให้ทุนต้องการหรือไม่ ตลอดจนกำหนดวงเงินทำวิจัยที่มีความคุ้มค่า เหมาะสม นอกจากนี้ เมื่อคณะนักวิจัยได้รับทุนอุดหนุนวิจัยไปแล้ว หัวหน้าโครงการวิจัยและสมาชิกของทีมวิจัยจำเป็นต้องดำเนินการตามสัญญารับทุนและ TOR ให้บรรลุเป็นผลสำเร็จ ทั้งนี้เพื่อสร้างและสั่งสมความเชื่อถือได้แก่ผู้ให้ทุน แนวปฏิบัติที่ได้จากการจัดการความรู้นี้เป็นเครื่องมือหนึ่งที่ช่วยเพิ่มพูนความรู้และพัฒนาทักษะแก่นักวิจัยและอาจารย์ในมหาวิทยาลัยให้สามารถหาและของบประมาณเพื่อการวิจัยจากแหล่งทุนภายนอกจนประสบความสำเร็จ และท้ายสุด แนวปฏิบัตินี้ไม่เพียงเป็นประโยชน์แก่นักวิจัยรุ่นใหม่และอาจารย์ในมหาวิทยาลัยเท่านั้น แต่บุคลากรในสถาบันอุดมศึกษาอื่นและสถาบันวิจัยก็สามารถนำแนวปฏิบัตินี้ไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ได้อีกด้วย
References
American Productivity and Quality Center. (1999). What is benchmarking. Retrieved from www.apcq.com
Camp, R. (1989). Benchmarking: The search for industry best practices that lead to superior performance. Wisconsin: ASQ Quality Press.
Higher Education Act B.E. 2562. Government Gazette. 136(57a.) 1 May 2019: 54-78. (In Thai)
Kahn, K. B., Barczak, G., & Moss, R. (2006). Establishing a NPD best practices framework. Journal of Product Innovation Management, 23(2), 106-116.
Office of the Higher Education Commission. (2017). Manual for the internal quality assurance for higher education institutions (3rd ed.). Bangkok: Internal Quality Assurance Committee at the Level of Higher Education Institution, Higher Education Commission. (In Thai)
Phranakhon Si Ayutthaya Rajabhat University. (2018). Knowledge management of applying external research grants. Phranakhon Si Ayutthaya: Faculty of Humanities and Social Sciences, Phranakhon Si Ayutthaya Rajabhat University. (In Thai)
Sirindhorn College of Public Health of Phitsanulok Province. (2021a, March 25). Live talk and the First Knowledge Management Forum (in the morning sector): Practices of seeking research funds from funding resources outside the institute [Video]. Retrieved from https://drive.google.com/file/d/1O9q1IgVcYq4jcn43wNy7n9-Sfy5sEBKY/view?usp=sharing
Sirindhorn College of Public Health of Phitsanulok Province. (2021b, March 25). Live talk and the First Knowledge Management Forum (in the afternoon sector): Practices of seeking research funds from funding resources outside the institute [Video]. Retrieved from https://drive.google.com/file/d/1s22VEeehWJUzyHL-v0taJz6H_mCzNw7n/view?usp=sharing
Sirindhorn College of Public Health of Phitsanulok Province. (2021c, April 7). Live talk and the Second Knowledge Management Forum: Practices of seeking research funds from funding resources outside the institute [Video]. Retrieved from https://drive.google.com/file/d/1kW1Vp2jI2ZicLZprakL8O1tKqg49aR9k/view?usp=sharing
Sirindhorn College of Public Health of Phitsanulok Province. (2021d, May 27). Live talk and the Third Knowledge Management Forum: Practices of seeking research funds from funding resources outside the institute [Video]. Retrieved from https://drive.google.com/file/d/1zVaKcSEYVYVU5sgFfMrEL_G8VXCE9dH2/view?usp=sharing
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความทุกบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารสาธารณสุข