การพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศด้านสุขภาพจังหวัดพะเยา
คำสำคัญ:
ระบบข้อมูล;สารสนเทศด้านสุขภาพ;การพัฒนาบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศด้านสุขภาพจังหวัดพะเยา โดยการศึกษา (1) วิเคราะห์สถานการณ์ข้อมูลสารสนเทศสุขภาพจังหวัดพะเยา (2) พัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศสุขภาพจังหวัดพะเยาประยุกต์ตามกรอบวงจรการพัฒนาระบบ (System Development Life Cycle: SDLC) (3)ประเมินผลการพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศสุขภาพระดับจังหวัดและระดับปฏิบัติการ โดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นและปรับจากแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพะเยาและในสถานพยาบาลสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพะเยา จำนวน 144 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ Paired T-Test
ผลการศึกษา ด้าน (1) สถานการณ์ข้อมูลสารสนเทศสุขภาพจังหวัดพะเยา พบว่า มีจุดอ่อนและอุปสรรค คือ ศูนย์ข้อมูลข่าวสารระดับอำเภอยังไม่มีความเข้มแข็ง ขาดการกำกับติดตามการดำเนินงานด้านข้อมูลสารสนเทศ ผู้ปฏิบัติงานในสถานพยาบาลขาดความรู้ ทักษะ ความเข้าใจในการบันทึกข้อมูล จุดแข็งและโอกาส คือ ผู้บริหารในระดับจังหวัด ให้ความสำคัญและสนับสนุนการดำเนินงานด้านข้อมูลสารสนเทศ (2) ผลการพัฒนาระบบสารสนเทศสุขภาพจังหวัดพะเยา พบว่า ได้จัดตั้งศูนย์ข้อมูลสารสนเทศจังหวัดและอำเภอ กำหนดประเด็นการพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศ แลกเปลี่ยนและใช้ข้อมูลร่วมกันระหว่างโรงพยาบาลและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล พัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศและมีระบบการคืนข้อมูลในระดับอำเภอผ่านเว็บ www.pheathcenter.com (3) การประเมินผลการพัฒนาระบบสารสนเทศสุขภาพจังหวัดพะเยา พบว่า ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิง ร้อยละ 71.4 อายุระหว่าง 40-49 ปี ร้อยละ 34.4 (Mean=39,SD±9.37) สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี ร้อยละ 61.0 เป็นข้าราชการ ร้อยละ 66.2 สังกัดโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ร้อยละ 68.2 ตำแหน่ง นักวิชาการสาธารณสุข/นักวิชาการคอมพิวเตอร์/พยาบาลวิชาชีพ ร้อยละ 56.5 ระยะเวลาที่ทำงานในตำแหน่งปัจจุบัน มากกว่า 10 ปี (Mean=12.31,SD±8.70) ร้อยละ 48.1 มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานด้านข้อมูลข่าวสารสารสนเทศ น้อยกว่า 5 ปี ร้อยละ 39.0 (Mean=8.9,SD±6.82) ผลการเปรียบเทียบคะแนนความรู้เกี่ยวกับระบบข้อมูลสารสนเทศสุขภาพของผู้รับผิดชอบงานข้อมูลสารสนเทศสุขภาพ ก่อน-หลัง ดำเนินการ พบว่า หลังดำเนินการมีความรู้เพิ่มขึ้น ร้อยละ 36.78 (Mean = 6.98 , SD± 2.35) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ p-value <0.001 ควรกำหนดให้มีการใช้ประโยชน์จากการประมวลผลฐานข้อมูลในการติดตามกำกับงานตามตัวชี้วัดในทุกระดับภายใต้ข้อกำหนดของกระทรวงสาธารณสุข
References
Chadaporn cheunta, Chanchai seltong., (2018). Development of Universal Health Insurance Database System to Support the Work of Public Health Officers in Yasothon Province.
Khonkaen Provincial Public Health Office. (2020).OP/PP Individual Data Transmission Report . Fiscal year 2020. [Internet]. [Accessed 25 Oct. 2020.]. https://khonkaen.nhso.go.th/apisak/mis/oppp2563
Health Data Center (HDC) Development Team. (2020). Health Data Center (HDC) medical data warehousing system at the provincial, district and ministry levels. Journal of moph eHealth. https://itjournal.moph.go.th/page/detail/22
Health Data Center (HDC). (2020). Medical and Health Archives System. [Internet]. [Accessed 30 Oct. 2020]. Available from: https://hdcservice.moph.go.th/hdc/main/index.php
Kummoon Kaewchaiyaphum. (2018). The Development of health Information System for Chaiyaphum Provincial Health Office. Journal of Chaiyaphum Medicine,38(2):37-45.
(in Thai)
Medical and Health Archives System (Health Data Center : HDC). Ministry of Public Health. [Internet]. [Accessed 25 Oct. 2020]. Available from: URL: https://hdcservice.moph.go.th /hdc/reports/report_kpi.php?flag_kpi_level=1&flag_kpi_year=2020.
Ministry of Public Health. (2016). A manual on the storage and delivery of data in accordance with the Health Information Standards structure version 2.1. 1st print, SP Copy Print Limited Partnership. Bangkok. (in Thai)
Ministry of Public Health. (2017). A manual on the storage and delivery of data in accordance with the Health Information Standards structure version 2.2. 1st print, SP Copy Print Limited Partnership. Bangkok. (in Thai)
Panida Kerdpol, Boonchuay Srithammasak, Sureepun Vorapongsathorn.(2017).The Development of an Information System for Student Health Data at a Health Service Center in Bangkok Metropolis. Journal of Urban Medicine, 61(2): 129-38.(in Thai)
Pimpa Romyen. (2018). Factors Relating to Health Information Management staff of the Office of Public provinces. Southern Regional Primary Health Care Journal, 29(1), 81-88.
(in Thai)
Uten Hakaew. (2016). Development of Health Information Technology System Udon Thani Province. Udon Thani Provincial Public Health Office, 31-37. (in Thai)
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทุกบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารสาธารณสุข