การศึกษาความเสี่ยงต่อการเกิดโรครองช้ำของบุคลากรโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดลำพูน
คำสำคัญ:
ความเสี่ยง, โรครองช้ำ, บุคลากรบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเสี่ยงต่อการเกิดโรครองช้ำของบุคลากรโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดลำพูน และเพื่อหาความสัมพันธ์ของภาวะความเสี่ยงโรครองช้ำกับปัจจัยส่วนบุคคล ประกอบด้วยกลุ่มงานสนับสนุน และกลุ่มงานทางการแพทย์ คำนวณกลุ่มตัวอย่างจากสถิติจากสูตรทาโร่ยามาเน่ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 318 คน วิจัยเชิงสำรวจ การเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาเพื่ออธิบายลักษณะส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมานใช้สถิติไคสแควร์ เพื่อวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ของภาวะเสี่ยงโรครองช้ำกับเพศ ช่วงอายุ กลุ่มงาน และค่าดัชนีมวลกาย กลุ่มตัวอย่าง ตอบแบบสอบถามและครบถ้วนสมบูรณ์ จำนวน 293 คน คิดเป็นร้อยละ 92.13 ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรครองช้ำ คิดเป็นร้อยละ 18.77 ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรครองช้ำส่วนมากจะมีค่าดัชนีมวลกายท้วม/โรคอ้วนระดับ 1 ถึง อ้วน/โรคอ้วนระดับ 2 ด้านความสัมพันธ์ทางสถิติไม่พบความสัมพันธ์ของภาวะเสี่ยงโรครองช้ำกับเพศ ช่วงอายุ กลุ่มงาน และค่าดัชนีมวลกายของบุคลากรโรงพยาบาลชุมชน ในจังหวัดลำพูน จากการศึกษาครั้งนี้อาจพบผู้ความเสี่ยงต่อการเกิดโรครองช้ำในจำนวนที่ ไม่มากแต่พบว่ามีบุคลากรที่มีความเสี่ยงที่เกิดให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพสามารถสะท้อนให้เห็นถึงภาวะสุขภาพของบุคลากรที่เกิดขึ้นจากบริบทของการทำงานและนำไปสู่แนวทางการวางแผนให้การรักษา ป้องกัน และฟื้นฟูต่อไปข้อเสนอแนะตามผลการศึกษา ปัจจัยอะไรที่มีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงโรครองช้ำของบุคลากรโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดลำพูน
References
Faculty of Medicine Chiang Mai University. (2018). Heel pain, warning signs. From https://www.med.cmu.ac.th/main/activity/21533/
Jiraporn Songpra, Napat Tiewwilai and Thawatchai Sintown. (2018). Effectiveness of Adjustable
Night Socks for Heel Pain Relief in Nurses at Vajira Hospital. Lampang Med Journal 39(2): 55-61.
Kotchakon Anurat and Kulpa Srisawad. (2005). Foot pain of nurses at Siriraj Hospital. Rehabilitation Medicine 2005;15(2):70-8.
Matthew Cotchett, Whittaker Glen and Bircan Erbas. (2014). Psychological variables associated with
foot function and foot pain in patients with plantar heel pain. Clinical Rheumatology, 34(5).
Matthew Cotchett, Angus Lennecke, Virginia G Medica, Glen A Whittaker and Daniel R Bonanno.
(2017). The association between pain catastrophising and kinesiophobia with pain and
function in people with plantar heel pain. The Foot 32,8-14.
Pramote Thanasupakornkul. (2021). The current concept of plantar fasciitis treatment. The Public Health Journal of Burapha University Vol.14 No.1.
Rungkarn Boonpiyawong, Natapol Thanasomboonpan and Chaiyong Jorrakate. (2020). Say goodbye to your foot pain by physical therapy. Siriraj Medical Bulletin 13 Issue 2.
Withoon Boonthanomwong. (2018). Plantar Fasciitis. From https://www.bumrungrad.com/th/ health-blog/january-2021/plantar-fasciitis
Yingrak Boondam. (2021). Articles disseminate knowledge to the public Plantar Fasciitis. Faculty of Pharmacy Mahidol University. From https://pharmacy.mahidol.ac.th/th/ service-knowledge-article-info.php?id=461
Yamsri C, Pensri P, Janwattanakul P, Boonyong S, Romsai W and Rattanapongbundit N. (2013).
Effect of kinesio taping combined with stretching on heel pain and foot functional ability
in persons with plantar fasciitis: a preliminary study. Chula Med Journal 57(1): 61.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทุกบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารสาธารณสุข