ความต้องการบริการสุขภาพของวัยรุ่นสาวประเภทสอง

ผู้แต่ง

  • หทัยรัตน์ สุขศรี วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • ศันสนีย์ จันทสุข วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • พิทยา ศรีเมือง วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • ศศิวิมล ทองพั้ว ศูนย์อนามัยที่ 7 จังหวัดขอนแก่น กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

ระบบบริการสุขภาพ สาวประเภทที่สอง วัยรุ่น ร้านยา ยาฮอร์โมน

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการบริการสุขภาพของกลุ่มวัยรุ่นสาวประเภทสอง ผู้ให้ข้อมูลคือวัยรุ่นสาวประเภทสอง อายุ 16-19 ปี จำนวน 9 คน เป็นผู้ที่อาศัยอยู่ในเขตจังหวัดขอนแก่นและจังหวัดใกล้เคียง  เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกระหว่าง 1 ธันวาคม 2563 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2564   ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ที่ได้รับการถอดความคำต่อคำเป็นภาษาไทยและบันทึกของผู้วิจัยถูกนำไปสู่วิเคราะห์ด้วยวิธีวิเคราะห์แก่นสาระ ผลการศึกษา พบว่า ผู้ให้ข้อมูลทุกรายไม่ทราบข้อมูลเกี่ยวกับคลินิกสุขภาพบุคคลข้ามเพศที่ให้บริการในเขตพื้นที่ และผู้ให้ข้อมูลเสนอความต้องการบริการสุขภาพสำหรับสาวประเภทสอง แบ่งเป็น 4 ประเด็น คือ (1) บริการสุขภาพเฉพาะสำหรับสาวประเภทสอง  (2) คุณลักษณะของผู้ให้บริการ ณ สถานบริการสุขภาพสำหรับสาวประเภทสอง  (3) การบริการสุขภาพที่เกี่ยวกับยา ณ ร้านยาในชุมชน และ (4) ความต้องการอื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับสุขภาพองค์รวม เช่น การเข้าใจและยอมรับเพศสภาพ การให้ความรู้เรื่องเพศสภาพในงานอนามัยโรงเรียน ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้ ผลการศึกษาในงานวิจัยนี้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนให้บริการสุขภาพที่เหมาะสมกับความต้องการและเพศสภาพตั้งแต่ระยะแรกเริ่มของการเข้าสู่การเป็นสาวประเภทสอง ดังนั้น ภาครัฐและเครือข่ายสุขภาพที่เกี่ยวข้องควรมีการเตรียมการด้านบุคลากร รวมทั้งเภสัชกรที่ปฏิบัติงานที่ร้านยาในชุมชน ให้มีความรู้และความเข้าใจในความแตกต่างของเพศสภาพและการดูแลสุขภาพของสาวประเภทสอง ดูแลติดตามการใช้ยาฮอร์โมนและให้ความรู้ด้านยา นอกจากนี้ควรจัดให้มีส่งเสริมความรู้ความเข้าใจเพศสภาพที่หลากหลายในสังคมวงกว้างเพื่อสร้างเสริมสุขภาพและสุขภาวะที่ดีของสาวประเภทสองต่อไป

References

Bourns A. 2019. Guideline for gender-affirming primary care with trans and non-binary patients. Retrieved December 20, 2021 from http://www.transforumquinte.ca/downloads/Guidelines-and-Protocols-for-Comprehensive-Primary-Care-for-Trans-Clients-2019.pdf

Bongsebandhu-phubhakdi, C. (2021). Transgender children and adolescents. In: Voranaddha Vacharathit, V., Ratanalert, W., & Samitpol, K. (editor). Thai handbook of transgender healthcare services. Retrieved December 20, 2021 from https://ihri.org/wp-content/uploads/2021/09/The-Thai-Handbook-of-Transgender-Heatlhcare-Services.pdf

Braun, V. & Clarke V. (2006). Using thematic analysis in psychology. Qualitative Research in Psychology, 3: 77–101.

Chirawatkul, S. (2010). Qualitative research in health sciences. Bangkok: Wiriyapat. (in Thai)

Nikratok, P. & Nlilwarangkul, K. (2014). Maltreatment in male-to-female trans adolescents. Journal of Nursing and Health Care, 31(4): 61-69. (in Thai).

Samakkeekarom, R., Ratlerdkarn, S., Sinchai, K., Jullawat, K., Sangnak, N., & Taesombat, J. (2019). The use of hormone therapy among trans-women students in governmental and private universities. Quality of Life and Law Journal, 15(1): 48–66. (in Thai)

Thrisuwan, H. (2018, July 13). “first-hand experiences of transgender people for using universal healthcare scheme for sex assignment”. BBC Thailand. https://www.bbc.com/thai/thailand-44822766 (in Thai)

Yimprasert, D. (2019). Survey of knowledge, attitudes and behaviors in use of sex hormones for male-to-female transition by transgender women (Master’s thesis, Naresuan University, Thailand). Retrieved December 20, 2021 ThaiLis database. (in Thai)

World Professional Association for Transgender Health. (2012). Standard for care for the health of transsexual, transgender, and gender non-conforming people. Retrieved December 20, 2021 from https://www.wpath.org/media/cms/Documents/SOC%20v7/SOC%20V7_English2012.pdf?_t=1613669341

Seal, L. J. (2017). The transgender handbook. In: Bouman, W.P., Arcelus, J. (editors). The transgender handbook. New York: Nova Science Publishers, Incorporated.

Wainipitapong, S. & Ketumarn, P. (2021). Diagnosis of gender dysphoria. In: Voranaddha Vacharathit, V., Ratanalert, W., & Samitpol, K. (editor). Thai handbook of transgender healthcare services. Retrieved December 20, 2021 from https://ihri.org/wp-content/uploads/2021/09/The-Thai-Handbook-of-Transgender-Heatlhcare-Services.pdf

World Health Organization. (2010). Universal Coverage Scheme in Thailand: Equity Outcomes and Future Agendas to Meet Challenges. Retrieved December 20, 2021 from https://cdn.who.int/media/docs/default-source/health-financing/technical-briefs-background-papers/whr-2010-background-paper-43.pdf?sfvrsn=8f53065a_3&download=true

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-10-30