ผลของการนวดกระตุ้นการไหลของน้ำนมและประคบสมุนไพร ในมารดาหลังคลอดโรงพยาบาลนางรอง อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์

ผู้แต่ง

  • สิริเพ็ญ มาตา โรงพยาบาลนางรอง อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
  • จันทร์เพ็ญ ธรรมพร สาขาวิชาการแพทย์แผนไทย คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎสุรินทร์

คำสำคัญ:

การนวดเต้านม , กระตุ้นการไหลของน้ำนม , ประคบสมุนไพร

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการนวดกระตุ้นการไหลของน้ำนมและประคบสมุนไพรในมารดาหลังคลอด โรงพยาบาลนางรอง อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ระหว่างเดือนพฤษภาคม 2564 – พฤษภาคม  2565 โดยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 160 คน แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 80 คน ดังนี้ กลุ่มควบคุม ได้รับโปรแกรมนวดกระตุ้นการไหลของน้ำนมเพียงอย่างเดียววันละ 1 ครั้ง ติดต่อกัน 3 วัน และกลุ่มทดทอง ได้รับโปรแกรมนวดกระตุ้นการไหลของน้ำนมร่วมกับการประคบสมุนไพรวันละ 1 ครั้งติดต่อกัน 3 วัน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยโปรแกรมการนวดกระต้นการไหลของน้ำนม 6 ท่า แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป และแบบประเมินการไหลของน้ำนม 5 ระดับ ประเมินผลทั้งก่อนและหลังทำหัตถการ โดยใช้สถิติแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และหาค่าความเชื่อมั่นทางสถิติ โดยใช้ Wilcoxon Signed Ranks Test ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% (P≤0.05)       

ผลการศึกษาพบว่า มารดาหลังคลอดส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 20-25 ปี จำนวน 73 คน (ร้อยละ 45.62) มีปัญหาน้ำนมไหลน้อยมากที่สุด จำนวน 107 คน (ร้อยละ 66.88) มีลักษณะหัวนมอยู่ในระดับที่ 1 จำนวน 160 คน (ร้อยละ 100) ลักษณะลานนมอยู่ในระดับ 3 มากที่สุด จำนวน 77 คน (ร้อยละ 43.75) เมื่อให้โปรแกรมการนวดกระตุ้นการไหลของน้ำนมมารดาและการนวดร่วมกับการประคบสมุนไพร พบค่าเฉลี่ยการไหลของน้ำนมเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) เมื่อเทียบกับกลุ่มเดียวกัน และพบค่าเฉลี่ยการไหลของน้ำนมในกลุ่มที่ได้รับการนวดร่วมกับประคบสมุนไพรเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) เมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุมซึ่งได้รับการนวดเพียงอย่างเดียว ดังนั้น การนวดกระตุ้นการไหลของน้ำนมร่วมกับการประคบสมุนไพรช่วยเพิ่มระดับการไหลของน้ำนมในมารดาหลังคลอดมากกว่าการได้รับการนวดเพียงอย่างเดียว

References

Chanetiyoung, A. (2018). The Effects of Breast Massage and Hot Compress on Stimulating of Milk Flow in Postpartum Mothers at Phusing Hospital, Srisaket Province. Journal of Traditional Thai Medical Research.4 (1), 42-52 (in Thai)

Cohen, J. (1988). Statistical Power Analysis for the Behavioral Scinces. (2th ed.). Amerrica: Lawrence Erlbaum Associates, Inc.,Publishers.

Cronbach, L.J. (1990). Essentials of psychological testing. New York: Harper & Brothers.

Department of Health, (2022). Promotion of Breastfeeding and Movement Act Regulating the Marketing of Infant and Young Child Food.Retrieved on December 10, from https://hp.anamai.moph.go.th/ (in Thai)

Khaonark, R., Kala, S. Chatchawet,W. (2020). Perception in Breastfeeding of Postpartum Mothers with Newborns Hospitalized in Neonatal Intensive Care Unit. Songklanagarind Journal of Nursing, 40(1): 30-44. (in Thai)

National Statistical Office, (2020). Multiple Indicator Cluster Surveys programme. Retrieved on December 9, from https://www.unicef.org/thailand/th/reports (in Thai)

Puekte, S. (2018). Complementary Therapies for Induced Lactation. Thai Red Cross Nursing Journal. 11(1): 27-37. (in Thai)

World Health Organization. (2021). Breastfeeding. Retrieved on January 28, from https://www.who.int/topics/breastfeeding/en

World Health Organization, (2022). Breastfeeding. Retrieved on December 9, from https://www.who.int/health-topics/breastfeeding#tab=tab_1

Wongsiri. A. (2013). Breast Massage: Method of increasing milk. Proceeding book the 4th National Breastfeeding Conference. Retrieved on March 3, 2020, from https://library.thaibf.com/bitstream/handle/023548404.11/395/TBC-TNBC-2013-Proceeding.pdf?sequence=1&isAllowed=y (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-20 — Updated on 2023-04-20

Versions