การรับรู้ และความคาดหวังต่อคุณภาพบริการปฐมภูมิ ของผู้รับบริการ จังหวัดขอนแก่น
คำสำคัญ:
การรับรู้, ความคาดหวัง, คุณภาพบริการปฐมภูมิบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้ ความคาดหวังของคุณภาพบริการปฐมภูมิของผู้รับบริการ และเปรียบเทียบการรับรู้ และความคาดหวังของคุณภาพบริการปฐมภูมิของผู้รับบริการ ของจังหวัดขอนแก่น จำนวนตัวอย่าง 660 คน สุ่มตัวอย่างแบบสุ่มแบบชั้นภูมิ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติเชิงพรรณนา และ สถิติทดสอบ paired t-test และ one-way ANOVA
ผลการศึกษาพบว่า 1) พบว่า ระดับการรับรู้ของคุณภาพบริการปฐมภูมิของผู้รับบริการในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( =4.40, SD=0.51) และรายด้านส่วนใหญ่อยู่ในระดับมาก ส่วนระดับความคาดหวังของคุณภาพบริการปฐมภูมิของผู้รับบริการในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.53, SD=0.45) และรายด้านส่วนใหญ่อยู่ในระดับมากที่สุด ระดับคุณภาพบริการตามช่องว่าง(ผลต่าง)ความคาดหวังกับการรับรู้ พบว่า มิติที่มีคุณภาพบริการดีที่สุดคือด้านการลดความแออัด รองลงมาคือด้านการเข้าถึงบริการ ส่วนมิติที่มีคุณภาพบริการต่ำที่สุดคือด้านบริการครอบคลุม 2) การรับรู้และความคาดหวังของคุณภาพบริการปฐมภูมิของผู้รับบริการ แตกต่างกัน (p value < 0.001) ผู้ที่ไปใช้บริการที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบล(รพ.สต.) มีค่าเฉลี่ยคะแนนการรับรู้แตกต่างจากผู้ที่ไปใช้บริการที่หน่วยบริการปฐมภูมิ และที่คลินิกหมอครอบครัว (p-value=0.006 และ p-value=0.045 ตามลำดับ) และค่าเฉลี่ยความคาดหวังของคุณภาพบริการปฐมภูมิของผู้ที่ไปใช้บริการที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบล(รพ.สต.) แตกต่างจากผู้ไปใช้บริการที่หน่วยบริการปฐมภูมิ (p-value=0.020) ดังนั้น ผู้บริหารสถานบริการและผู้เกี่ยวข้องควรเร่งพัฒนาระบบบริการหน่วยบริการปฐมภูมิและคลินิกหมอครอบครัว โดยเฉพาะมิติบริการด้านความครอบคลุม ด้านการบริการแบบองค์รวม และด้านให้คำปรึกษา และด้านการสร้างการมีส่วนร่วมและส่งเสริมให้ประชาชนมีศักยภาพในการดูแลตนเอง เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการและความคาดหวังของผู้รับบริการ
References
Baonu, W., Sitakalin, P. (2019). Expectation and Perception of Service Quality of Clients of the Accident and Emergency Department in Nongkhai Hospital. Journal of Health Education, 42(1): 157-172. (in thai)
Basava, M.R.V, Satyanarayana, N. A Study on Patient Perceived Service Quality in a Tertiary Care Teaching Hospital. IOSR Journal of Business and Management (IOSRJBM), 16(11), 29-33. Retrieved from: http://www.iosrjournals.org/iosr-jbm/ papers/Vol16-issue11/Version-1/E01611 12933.pdf.
Charoenchai, S., Ritruechai, S., Sukolpuk, M., Tewtong, K., Chanphet, J., Charoenchai, S. (2020). Experiences of Transformational Leadership in Primary Health Care System of Multidisciplinary Health Care Team. Journal of Health and Nursing Research, 36 (2): 140-148. (in thai)
Chirawatkul, A. (2013). Statistics in Health Sciences for Research. (2nd edition). Bangkok: Wittayaphat. (in thai)
Dechasathien, S. (2021). Cost Analysis of Sub-District Health Promoting Hospitals under the Khon Kaen Provincial Public Health Office. Journal of the Office of Public Health Khon Kaen Province, 3 (2): 164-176. (in thai)
Khanjai, A., Somyana, W. (2015). Expectations and perceptions of service quality of insurers. Lamphun Hospital, Lamphun Province (Master's Thesis). Chiang Mai: Chiang Mai Rajabhat University. (in thai)
Khemthong, M. (2020). The Affect Factors of Primary Care Network Development and Assurance in Phichit Province. Phichit Public Health Research and Academic Journal, 1(1): 35-48. (in thai)
Kitpreedaborisut, B., Sereekachonkitcharoen, P. (2017). Research Methodology in Public Health: A Case Study of Relationships of Variables. Bangkok: Chamchuri Products. (in thai)
Kunarup, P., Moonpetch, S., Katanya, J. (2015). Expectations, perceptions and people's satisfaction towards service quality of community hospitals, Don Kaeo Subdistrict, Mae Rim District, Chiang Mai Province. Ganesha Journal, 11(2): 13-23. (in thai)
Office of Primary Health System Support Ministry of Public Health. (2021). Health Resource Information System Primary care unit. Retrieved April 15, 2021 from http://gishealth.moph.go.th/pcu/. (in thai)
Office of Public Health Administration Office of the Permanent Secretary, Ministry of Public Health. (2014). Family Care team. Bangkok: Agricultural Cooperative Federation of Thailand Printing. (in thai)
Office of the Commission 3, Secretariat of the Senate. (2020). Report on the consideration of studies on Primary Health Care by the Sub-Committee on Education and Monitoring of Primary Health Service Systems towards the people In the Senate Public Health Committee. Retrieved February 24, 2022, from https://shorturl.asia/ptWZm. (in thai)
Parasuraman, A., Zeithaml, V., Berry, L. (1988). SERVQUAL: a multiple-item scale for measuring consumer perceptions of service quality. Retailing: critical concepts, 64(1), 140. Retrieved from: https://bit.ly/33Wge8i.
Phakaiya, N., Khaonuan, B., Phanthunen, P, Bamrung, A., Chirawattanaphaisan, T. (2018). human resources for health (HRH) requirements for primary health care services in 2016. Journal of Health Systems Research, 12(2):189-204. (in thai)
Royal Thai Government Gazette. (2019). Act Primary Health System, B.E. 2019, page 165, volume 136, part 56 A, dated 30 April 2019.
Strategy and Planning Division Ministry of Public Health. (2017). Information on Public Health Resources. Retrieved April 15, 2021 from https://bps.moph.go.th/new_bps/healthdata. (in thai)
Worapongsatorn, T. (2000). Principles of Research in Public Health Sciences. (4th edition). Bangkok: Chulalongkorn University Printing. (in thai)
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทุกบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารสาธารณสุข