ผลของโปรแกรมการปรับพฤติกรรมบริโภคในสามเณรของโรงเรียนสาธิต วิทยาลัยสงฆ์พุทธชินราช จังหวัดพิษณุโลก

ผู้แต่ง

  • จุฑามาศ ผุนลาวงษ์ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธรจังหวัดพิษณุโลก คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • ชนม์สวัสดิ์ เดือนแจ่ม วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธรจังหวัดพิษณุโลก คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • นิพนธ์ แก้วต่าย วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธรจังหวัดพิษณุโลก คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • คมสัน เดือนแจ่ม วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธรจังหวัดพิษณุโลก คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมปรับพฤติกรรมบริโภคในสามเณรของโรงเรียนสาธิตวิทยาลัยสงฆ์พุทธชินราช  จังหวัดพิษณุโลก โดยกลุ่มตัวอย่างคือสามเณรอายุ 16-18 ปี ที่กำลังศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6  และสมัครใจเข้าร่วมโครงการจำนวน 66 คน กลุ่มตัวอย่างถูกคัดเลือกและแบ่งแบบสุ่มออกเป็น 2 กลุ่มคือกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 33 คนเท่ากัน โดยกลุ่มทดลองเป็นกลุ่มที่ได้รับได้รับโปรแกรมปรับพฤติกรรมบริโภคในสามเณร เป็นระยะเวลา 1 สัปดาห์  ซึ่งเป็นโปรแกรมสุขศึกษาเพื่อสร้างความรับรู้เรื่องพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มที่เหมาะสมกับวัย และพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มที่ถูกต้องและเหมาะสมตามวัย โดยโปรแกรมนี้จะมีวิธีการที่ประกอบไปด้วย การบรรยายกลุ่มย่อย สาธิตการอ่านฉลากบริโภค อภิปรายกลุ่ม  เล่นเกมส์ การใช้คำพูดชักจูง และการกระตุ้นทางอารมณ์ โดยใช้เครื่องมือที่ใช้เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม และแบบบันทึกการบริโภคเครื่องดื่ม ข้อมูลที่เก็บได้ถูกวิเคราะห์โดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐาน สมมติฐานการวิจัยถูกวิเคราะห์ โดยใช้สถิติ paired sample t-test และ independent t-test

ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่ากลุ่มทดลองมีความรู้ การรับรู้ความสามารถตนเอง การคาดหวังผลดีและ พฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มที่ถูกต้องตามวัยสูงกว่าก่อนการทดลอง และสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ทั้งนี้เนื่องจากได้รับโปรแกรมปรับพฤติกรรมบริโภคในสามเณรส่งผลให้พฤติกรรมการบริโภคอาหารเครื่องดื่มของสามเณรมีความเหมาะสมตามวัยของตนเอง  ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไปควรทำการประเมินระดับน้ำตาลในเลือดร่วมกับการประเมินน้ำหนักตัวด้วย ข้อจำกัดในการวิจัยครั้งนี้คือกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาคือสามเณรในโรงเรียนสาธิตวิทยาลัยสงฆ์พุทธชินราชเพียงโรงเรียนเดียว เนื่องจากในเขตพื้นที่ที่ศึกษามีเพียงโรงเรียนของสามเณรเพียงแห่งเดียว

References

Aekplakorn, W., Puckcharern, H., Satheannoppakao, W. (2019) National health examination survey. 6th ed. Bangkok; (in Thai)

Angkhavanavanich J. (2016). Situation, nutritional problems in monks, nutritional status problems in monks from the Thai Klai Krok Sangha project. Office of the Health Promotion Fund: Bangkok; (in Thai)

Bandura, A. (1994). Self-efficacy. In V.S. Ramachaudran (Ed.) Encyclopedia of human behaviour (Vol.4, pp.71-81). New York: Academic Press. Retrieved June, 2022 from :http://www.des.emory.edu/mfp/BanEncy.htm

Baker N. (2022) Childhood obesity statistics. Retrieved May, 2022 from https://www.childmode.com/childhood-obesity-statistics/

Dhamma study and support foundation. Phrasuttantapitaka Khuddakanikaya Itivuttak. [Internet]. 2008 [cited 2021 Aug 19]; Available from https://www.dhammahom e.com/. (in Thai).Gannapond , R., Tansakul, S., Wattanasomboon,R., Kaeodumkoeng, K. (2016). The Effect of Self-Efficacy Program for Changing Snack. Journal of Health Education 39(133), 46-59.

Jarusan, S., Boonchai O., Kingkaew, N., Boonsong , A. (2029). Nutrition Knowledge, Stress, Physical activity, Eating Habits and People’s Motivation Affecting Body Mass Index of Novices at Pariyatitam Schoolsin Ubon Ratchathani Province. KKU Research Journal (Graduate Studies)23(2), 247-260.

Jutrakul P, Department of Health. Fit for Life: Smart Novice 4.0 [internet]. 2021 [cited 2021 Sep 18]; Available from: https:/.html (in Thai).

Lalaeng ,T., Vatanasomboon, P., Sateannoppakao,W. (2019). Effects of Health Education Program for Changing Snack Consumption Behavior among Grade 5 Students . Journal of Health Education 42(2) , 12-22.

Panchaiyapum ,N., Uttamavatin, P. (2021). Food Preference Behaviors of HighSchool Students at Waengnoi Suksa School, Khon Kaen Province. KKU Journal for Public Health Research(14)1, 49-56

Somboonnak, W. (2019). Effectiveness of the Program for Changing Food Consumption and Exercise Behavior in Primary School Students Who Are Overweight and Obesity in Angthong Province. Journal of Nursing Science Chulalongkorn University43(1), 85-97.

Srinark, A., Sompopcharoen, M., Aimyong,N., Therawiwat, M. (2021). Effects of Health Promotion Program for Healthy Eating Behavior of Grade 4Students in Nonthaburi Province.

Journal of Health and Nursing Research37(2), 237-250.

Srithanya ,S., Thongbai ,W., Kummabutr J. (2019). The Effects of a Planned Behavior Program onThe Eating and Physical Activity Behaviorof Overweight Late Primary School-Aged Children. Journal of Nursing Science Chulalongkorn University(31)2, 85-97.

Thai Dietetic Association. (2022) Basic nutrition to sweet, oily and salty labels; Jul. 148 p. (in Thai)

Thanisa Lalaeng, Paranee Vatanasomboon, Warapone Sateannoppakao (2019). Effects of Health Education Program for Changing Snack Consumption Behavior among Grade 5 Students. Journal of Health Education2019 (42)2, 12-22.

Thestandard. Obesity monk Obesity monk classic problem Why do you eat less and still get fat and does the monk really forbid exercise. [Internet]. 2017 [cited 2022 July 19]; Available from https://the standard.co/lifestyle-wellness-monk-nutri tions/. (in Thai).

World Health Organization. (2022) .Obesity and overweight . Retrieved June, 2022 from https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/obesity-and-overweight

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-01-20