ผลของการจัดกิจกรรมส่งเสริมความปลอดภัยต่อการเพิ่มความรู้ทักษะและพฤติกรรมการจัดการความปลอดภัยจากอัคคีภัยในกลุ่มนักเรียนโรงเรียนอนุบาลป่าพะยอม ตำบลป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง
คำสำคัญ:
การเสริมสร้างความรู้, การจัดการความปลอดภัย, อัคคีภัย, การอพยพ, เหตุฉุกเฉินบทคัดย่อ
การศึกษาในครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง(Quasi-Experimental Research) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ประเมินระดับความรู้ ทักษะและพฤติกรรมการจัดการความปลอดภัยจากอัคคีภัยในกลุ่มนักเรียนโรงเรียนอนุบาลป่าพะยอม 2. เพื่อเปรียบเทียบความรู้ ทักษะและพฤติกรรมการจัดการความปลอดภัยจากอัคคีภัยในกลุ่มนักเรียน โรงเรียนอนุบาลป่าพะยอม ก่อน-หลัง การจัดกิจกรรมส่งเสริมความปลอดภัย จำนวนกลุ่มตัวอย่างนักเรียนจำนวน 118 คน ทำการสำรวจและเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามดำเนินการก่อนและหลัง การจัดกิจกรรมส่งเสริมความปลอดภัย
ผลการศึกษา ระดับความรู้ ทักษะและพฤติกรรมการจัดการความปลอดภัยจากอัคคีภัยในกลุ่มนักเรียนพบว่า (1) ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยจากอัคคีภัย ในภาพรวมพบว่าก่อนการจัดกิจกรรมส่งเสริมนักเรียนมีระดับความรู้ปานกลาง และหลังการจัดกิจกรรมส่งเสริมนักเรียนมีความรู้ ระดับดีและเมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างก่อน และหลังจัดกิจกรรมส่งเสริมพบว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p<0.001 (2) ทักษะด้านการป้องกันและควบคุมอัคคีภัย ก่อนการจัดกิจกรรมส่งเสริมนักเรียนมีระดับทักษะปานกลาง และหลังการจัดกิจกรรมส่งเสริมนักเรียนมีระดับทักษะปานกลาง และเมื่อเปรียบเทียบความต่างของก่อนและหลังการจัดกิจกรรมส่งเสริมพบว่า มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p=0.015 และ (3) พฤติกรรมการจัดการความปลอดภัย พบว่าก่อนการจัดกิจกรรมส่งเสริมมีระดับพฤติกรรมปานกลาง (3.12±1.50) และหลังการจัดกิจกรรมส่งเสริมนักเรียนโรงเรียนอนุบาลป่าพะยอมมีระดับพฤติกรรมดี (3.76±1.32) และเมื่อเปรียบเทียบความต่างของก่อนและหลังการจัดกิจกรรมส่งเสริม พบว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p<0.001 ดังนั้นผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าการจัดกิจกรรมส่งเสริมความปลอดภัยส่งผลให้ความรู้ ทักษะและพฤติกรรมการจัดการความปลอดภัยด้านอัคคีภัยของนักเรียนเพิ่มขึ้น และเป็นแนวทางให้ผู้บริหารสถานศึกษาในการจัดทำแผนการบริหารความปลอดภัยเกี่ยวกับอัคคีภัยอย่างมีประสิทธิภาพ
References
Khunjong, C.( 2020). Building Risk Management in Secondary School. Sarasatr, 2: 287-300. (in Thai)
Department of Disaster Prevention and Mitigation. (2023). Disaster statistics for the month of December 2023 and accumulated disaster statistics data. Ministry of Interior, Thailand. (in Thai)
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3): 607–610. (in Thai)
Phim Sa-at, K. & Suwathanpornkul, I. (2016). A Needs Assessment Study of Learning Management on Conflagration for Enhancing Kowledge, Awareness and Skills of Fire Protection of Elementary School Students Under Bangkok Metropolitan Administration. Sripatum Review of Humanities and Social Sciences,16(1):73-83. (in Thai)
Sawatdiphan, T.,et al, (2017).Knowledge about Fire Extinguishment of Medical Students,Khon Kaen University, Srinagarind Med J ,32(5): 461-467. (in Thai)
Yokphochanachai, C., Paengprakhon, Y. & Duangsri, J. (2021). Factors Associated with Safety Behaviors in the Prevention of Fire in Ban Bok Household, Muang Sam Sip District, Ubon Ratchathani Province, Regional Health Promotion Center 9 Journal,15 (38). (in Thai)
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความทุกบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารสาธารณสุข