ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อผลการสอบใบอนุญาตประกอบวิชาชีพกายภาพบา บัดของผู้สา เร็จ การศึกษาประจาปี พ.ศ. 2556-2558 คณะกายภาพบาบัด มหาวิทยาลัยมหิดล: กรณีศึกษา
Main Article Content
บทคัดย่อ
ที่มาและความสาคัญ: การสอบความรู้เพื่อขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพกายภาพบำบัดเป็นเป้าหมายที่สำคัญของสถาบันการศึกษาที่ผลิตนักกายภาพบาบัด อย่างไรก็ตาม ปริมาณบัณฑิตที่สอบผ่านยังไม่เป็นไปตามความคาดหมาย
วัตถุประสงค์: ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลการสอบความรู้เพื่อขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพกายภาพบำบัดของบัณฑิตคณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล
วิธีการ: การศึกษาครั้งนี้ใช้ข้อมูลของผู้สาเร็จการศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (กายภาพบำบัด) มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2556 ถึง 2558 จานวน 283 คน ข้อมูลประกอบด้วย 1) ผลเกรดเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตร 2) ผลสอบในวิชากลุ่มวิชาชีพที่สอดคล้องกับเนื้อหาสำคัญของข้อสอบขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบวิชาชีพสาขากายภาพบำบัด 3) ผลการสอบประมวลความรู้ของคณะกายภาพบำบัดและ 4) ผลการสอบความรู้เพื่อขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพกายภาพบำบัด วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของข้อมูลโดยใช้ Chi-square test
ผลการศึกษา: 1) นักศึกษาที่สอบผ่านประมวลความรู้ของคณะกายภาพบาบัดมีโอกาสสอบความรู้เพื่อขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพกายภาพบาบัดผ่านทั้ง 3 รหัสวิชา (OR = 2.54-21.62) 2) ผลสอบผ่านรหัส 02 วิชาเทคนิคและวิธีการทางกายภาพบาบัด และรหัส 03 วิชากายภาพบำบัดในโรคและภาวะต่าง ๆ มีความสัมพันธ์กับเกรดในวิชากลุ่มวิชาชีพที่สอดคล้องกับเนื้อหาสำคัญของข้อสอบขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบวิชาชีพสาขากายภาพบำบัดโดยพบว่านักศึกษาที่ได้เกรด A, B+, B มีโอกาสผ่านรหัส 02 และ 03 ถึง 10.07 และ 24.34 เท่าตามลำดับ ของนักศึกษาผู้สอบได้เกรดต่ำกว่า B 3)นักศึกษาที่ได้เกรดเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรมากกว่า 2.80 จะมีโอกาสสอบความรู้เพื่อขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพกายภาพบำบัดผ่านในครั้งแรก
สรุปการศึกษา: ผลการสอบประมวลความรู้ ผลสอบวิชาในกลุ่มวิชาชีพกายภาพบำบัดและเกรดเฉลี่ยตลอดหลักสูตรมีความสัมพันธ์กับการสอบผ่านความรู้เพื่อขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพกายภาพบำบัด
Article Details
References
2. Regulation of Physical Therapy Council related with criteria of physical therapy license examination 2006.
3. Regulation of Physical Therapy Council related with valid date of license and renewal of physical therapy license 2008.
4. Taksin P, Charoensuk S, Sutineum U. Grade point average, preparation for students’ readiness, and undergraduate nurses who passed the nursing license examination for the First class of nursing professional and midwifery registration of student graduated from Boromarajonani College of Nursing, Chon Buri. Thai Journal of Nursing Council 2011;26(3):117-129.
5. Nuchsutam W, Somboon L, Tongswas T, Kaewkajorn S, Siririth W. Factors related to the result of the license examination of graduates Faculty of Nursing Chiangrai College. Nursing Journal. 2013;40 (Supplement January):61-72.
6. Kongkar R, Charoenkitkarn V, Tosuksri W, Sareewiwatthana P. Factors affecting the result of nursing licensure examination among bachelor graduates from Faculty of Nursing, Mahidol University. J Nurs Sci. 2012;30(3):82-90.
7. Pansiriarsa T.Factors related to anxiety during license examination of graduates Faculty of Nursing, Christian University. (Thesis) Bangkok; Srinakharinwirot University; 2004. Available from: http://thesis.swu.ac.th/swuthesis/Ed_Psy/Tassawan_P.pdf