การส่งบทความ
เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน เพื่อส่งบทความ
รายการตรวจสอบก่อนส่งบทความ
ในขั้นตอนการส่งบทความ ผู้แต่งต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบการส่งทุกข้อ ดังต่อไปนี้ และบทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้แต่งกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมด
- ต้นฉบับจัดหน้าแบบ double-spaced โดยใช้ฟอนต์ Cordia ขนาด 14 points ใช้ตัวเอียงแทนการใช้การขีดเส้นใต้ (ยกเว้น URL address) ตามด้วยรูปและตารางในส่วนท้ายของต้นฉบับ
- ต้นฉบับบทความนี้ไม่เคยตีพิมพ์หรือกำลังได้รับการพิจารณาจากวารสารอื่น
- ตันฉบับเป็นไฟล์จากโปรแกรม Microsoft Word, OpenOffice หรือ RTF
- การจัดรูปแบบต้นฉบับเป็นไปตามรูปแบบและข้อกำหนดจากคำแนะนำสำหรับผู้แต่ง
คำแนะนำผู้แต่ง
คำแนะนำสำหรับผู้เขียน
หลักเกณฑ์การเสนอบทความวิชาการหรือบทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์ลงในวารสารกายภาพบำบัด (Thai J Phys Ther)
***ก่อนส่งบทความ โปรดศึกษาวิธีการอย่างละเอียดในการส่งบทความวารสารกายภาพบำบัดผ่านระบบ ThaiJo (วิธีการส่งบทความ)
Download files for journal submission
ประเภทบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร ประกอบด้วย บทความวิจัย หรือนิพนธ์ต้นฉบับ (Research report/Original article) บทความวิชาการ (Review article) รายงานกรณีศึกษา (Case study report) หรือจดหมายถึงบรรณาธิการ (Letter to the editor)
เอกสารสำหรับส่งกองบรรณาธิการในระบบ
- ไฟล์เอกสารแสดงความยินยอมให้ตีพิมพ์ในวารสารกายภาพบำบัดและคำรับรองว่าบทความที่ส่งมานั้นเป็นบทความต้นฉบับที่ไม่เคยส่งวารสารใดมาก่อนและไม่ส่งบทความนี้เพื่อพิจารณาในวารสารอื่นในขณะเดียวกัน พร้อมทั้งการลงนามจากผู้เขียนทุกคน (แบบฟอร์มขอส่งตีพิมพ์)
- ไฟล์เอกสารที่ประกอบด้วย
- Title page (หน้าแรก) ประกอบด้วย (ไฟล์ตัวอย่าง Title page)
- ชื่อเรื่องทั้งภาษาไทยและอังกฤษ
- ชื่อผู้เขียนให้มีทั้งภาษาไทยและอังกฤษ
- สังกัดของผู้แต่งทั้งภาษาไทยและอังกฤษ
- ระบุชื่อผู้รับผิดชอบบทความ (Corresponding author) ที่อยู่และอีเมล์
- Main article text (เนื้อหาบทความ) โดยมีการเรียงเนื้อหาตามที่วารสารกำหนด ซึ่งในไฟล์ต้องไม่มีชื่อผู้เขียนและสังกัด ประกอบด้วย (ไฟล์ตัวอย่าง Main article text)
- ชื่อเรื่องทั้งภาษาไทยและอังกฤษ
- บทคัดย่อภาษาไทยและอังกฤษ
- คำสำคัญ/keyword ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ อย่างละไม่เกิน 5 คำ
- เนื้อหาบทความทั้งหมด (บทนำ วิธีการวิจัย ผลการวิจัย บทวิจารณ์ สรุปผล กิตติกรรมประกาศ เอกสารอ้างอิง)
- Table (ตาราง) ไฟล์ตารางประกอบควรอยู่ในรูปแบบไฟล์ Word ไม่ใช้รูปภาพ โดยให้เรียงลำดับตารางทั้งหมดในไฟล์เดียวกัน
- Figure (รูปภาพ) ไฟล์รูปภาพประกอบส่งแยกจากบทความ โดยแยก 1 ไฟล์ต่อ 1 รูป ใน format รูปภาพ (ในรูปแบบไฟล์ JPEG หรือ TIFF) และมีความละเอียดของรูปมากกว่า 300 dpi โดยกำหนดชื่อไฟล์ตามลำดับของรูปที่ปรากฏในบทความ
- Application and Declaration form (เอกสารขอส่งตีพิมพ์) เป็นไฟล์ scan ในรูปแบบไฟล์ PDF โดยผู้แต่งทุกคนต้องลงนามในเอกสารนี้ (แบบฟอร์มขอส่งตีพิมพ์)
- Ethical approval documents (เอกสารผ่านการพิจารณาจริยธรรม) เป็นไฟล์ scan ในรูปแบบไฟล์ PDF แสดงหลักฐานการผ่านการพิจารณาจริยธรรมของโครงการวิจัย
การเตรียมเรื่อง
- ภาษาที่ใช้คือ ภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ในกรณีที่เป็นบทความวิจัย ขอให้มีบทคัดย่อ (abstract) ทั้งภาษา ไทยและภาษาอังกฤษ
- ในกรณีที่เขียนเป็นภาษาอังกฤษ บทความวิจัยต้องไม่เกิน 4,000 คำ และบทความวิชาการต้องไม่เกิน 6,000 คำ ซึ่งนับรวมบทคัดย่อด้วย ส่วนของภาพ/ตาราง รวมกันไม่เกิน 5 ภาพ/ตาราง โดยแต่ละภาพ/ตารางให้แยกไฟล์เป็นไฟล์ละหนึ่งภาพ/ตาราง
- ในกรณีที่เขียนเป็นภาษาไทยต้องมีบทคัดย่อเป็นภาษาอังกฤษความยาวไม่เกิน 250 คำร่วมด้วย และแบ่งเนื้อหาของบทคัดย่อออกเป็นส่วยย่อยดังนี้ ที่มาและความสำคัญ, วัตถุประสงค์, วิธีการวิจัย, ผลการวิจัย, สรุปผล (Background, Objective, Method, Result, Conclusion) และมีคำสำคัญ/Keyword ทั้งภาษาไทยและอังกฤษ อย่างละไม่เกิน 5 คำ)
- ใส่ชื่อ ที่อยู่ และ email ของผู้เขียนที่รับผิดชอบบทความ (corresponding authors) และกรอกรายละเอียด ชื่อ ที่อยู่ และ email ของผู้เขียนทุกคนลงในระบบ
- ใช้ Font Cordia New ขนาด 14 ทั้งภาษาไทยและอังกฤษ จัดเตรียมรูปแบบให้อยู่ในลักษณะเว้นบรรทัด (double spaced) โดยกำหนดระยะขอบทุกด้าน 1 นิ้ว ใส่หมายเลขบรรทัด และหน้าให้ชัดเจน
- การจัดลำดับเนื้อหาบทความ ดังนี้
- ในกรณีที่เป็นบทความวิจัย
- บทคัดย่อ (ทั้งภาษาไทยและอังกฤษ โดยมี คำสำคัญ/keyword ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ อย่างละไม่เกิน 5 คำ) (ตัวอย่างบทคัดย่อ)
- บทนำ
- วิธีการวิจัย *กรณีที่เป็นการวิจัยในมนุษย์ต้องระบุว่าผ่านการพิจารณาอนุมัติจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยของสถาบัน พร้อมทั้งระบุเลขที่การอนุมัติจริยธรรมการวิจัย*
- ผลการวิจัย
- บทวิจารณ์
- สรุปผล
- กิตติกรรมประกาศ (ถ้ามี)
- เอกสารอ้างอิงเป็นภาษาอังกฤษเท่านั้น (ในกรณีที่เอกสารอ้างอิงเป็นภาษาไทยขอให้ปรับเอกสารที่อ้างอิงนั้นเป็นภาษาอังกฤษ)
- ในกรณีที่เป็นบทความวิชาการ
- บทคัดย่อ (ทั้งภาษาไทยและอังกฤษ โดยมี คำสำคัญ/keyword ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ อย่างละไม่เกิน 5 คำ)
- เนื้อหาบทความต้องระบุวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน แสดงถึงการสังเคราะห์เนื้อหาจากการทบทวนวรรณกรรมที่อ้างอิง และผ่านการเรียบเรียงอย่างเป็นระบบ
- เอกสารอ้างอิงเป็นภาษาอังกฤษเท่านั้น (ในกรณีที่เอกสารอ้างอิงเป็นภาษาไทยขอให้ปรับเอกสารที่อ้างอิงนั้นเป็นภาษาอังกฤษ) และไม่รับการอ้างอิงจาก website
- เอกสารอ้างอิงในเนื้อเรื่องใช้ระบบ Vancouver ควรเรียงตามลำดับเลขที่ โดยใส่ ตัวเลขเป็นตัวยก ตัวตรง ไม่มีวงเล็บ (superscript) ต่อท้ายข้อความนั้นๆ
- เอกสารอ้างอิงท้ายบทความ ไม่ควรอ้างอิงเกิน 40 รายการ และใช้ระบบ Vancouver ดังนี้
- การอ้างอิงวารสาร
- Shirado O, Ito T, Kaneda K, Strax TE. Electromyographic, analysis of four techniques for isometric trunk muscle exercises. Arch Phys Med Rehabil. 1995; 76(3): 225-9.
- Chaipinyo K. Test-Retest Reliability and Construct Validity of the Thai Version of Knee Osteoarthritis Outcome Scores (KOOS). Thai J of Phys Ther. 2009; 31(2): 67-76 *ตัวอย่างวารสารภาษาไทยที่ปรับเป็นอังกฤษ *
- การอ้างอิงหนังสือและโมโนกราฟ
- ผู้นิพนธ์ที่เป็นบุคคล
- Osler AG. Complement: mechanisms and functions. Englewood Cliffs: Prentice-Hall, 1976.
- ผู้นิพนธ์ที่เป็นคณะบุคคล
- American Medical Association Department of Drugs. AMA drug evaluations. 3rd ed. Littleton: Publishing Sciences Group, 1977.
- บรรณาธิการ ผู้รวบรวม ประธานที่เป็นผู้นิพนธ์
- Rhodes AJ, Van Rooyen CE. Textbook of virology: for students and practitioners of medicine and the other health sciences. 5th ed. Baltimore: Williams and Wilkins, 1968
- บทหนึ่งในหนังสือหรือตำรา
- Weinstein L, Swartz MN. Pathogenesis of invading microorganisms. In: Sodeman WA, eds. Pathologic physiology: mechanisms of disease. Philadelphia: WB Saunders, 1974: 457-72.
*ในกรณีที่มีผู้เขียนเกิน 6 คน ให้เขียนชื่อ 6 คนแรก และต่อด้วย “et al”