ผลของการหายใจออกผ่านอุปกรณ์ก่อแรงดันบวกแบบใหม่ในขณะออกกำลังกายต่อความสามารถในการออกกำลังกายและการทางานของปอดและหัวใจในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง: การศึกษาเบื้องต้น
Main Article Content
บทคัดย่อ
พลวัติการโป่งพองของปอดขณะออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมทางกายเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) มีภาวะหอบเหนื่อยง่าย และเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆตามเวลา ทำให้ความทนทานในการออกกำลังกายลดลง การหายใจออกผ่านอุปกรณ์ก่อแรงดันบวกรุปกรวย (Conical-Positive Expiratory Pressure, C-PEP) สามารถลดความหอบเหนื่อยและเพิ่มความทนทานในการออกกำลังกายได้ แต่ไม่สะดวกหากใช้ในขณะออกกำลังกายหรือทำกิจกรมทางกายที่มีการเคลื่อนที่ อันเป็นลักษณะของการทำกิจกรรมทางกายในชีวิตประจำวัน คณะผู้วิจัยจึงพัฒนาอุปกรณ์ก่อแรงดันบวกรูปกรวยแบบใหม่ซึ่งเป็นแบบหน้ากาก (C-PEP mask) สามารถใส่ติดตัวขณะออกกำลังกายที่กำลังเคลื่อนที่ได้ วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการใช้ C-PEP mask ในขณะออกกำลังกายต่อภาวะหอบเหนื่อยและความทนทานในการออกกำลังกาย และการทำงานของปอดและหัวใจในผู้ป่วย COPD การศึกษาแบบ Randomized cross-over trial ในอาสาสมัครCOPD GOLD stage II-III จำนวน 9 คน อายุเฉลี่ย 67.3 ± 3.9 ปี โดยให้อาสาสมัครออกกำลังกายร่วมกับใส่และไม่ใส่ C-PEP mask (ภาวะ CPEP และ ภาวะควบคุม) โดยออกกำลังกายแบบ Spot Marching Exercise Test (SMT) ด้วยความเร็วเฉลี่ย 90±15 ครั้งต่อนาที ซึ่งเป็นความหนักระดับหอบเหนื่อยปานกลาง อาสาสมัครออกกำลังกายจนต้องการหยุด เมื่อมีอาการหอบเหนื่อยมากหรืออัตราการเต้นของหัวใจ (คำเต็มHR) เพิ่มถึง 80% HRmax บันทึกระยะเวลาในการออกกำลังกาย ระดับอาการหอบเหนื่อย (rating of perceived breathlessness; RPB) HR อัตราการหายใจ (RR) ปริมาตรการหายใจแต่ละครั้ง (คำเต็ม VT)แรงดันคาร์บอนไดออกไซด์ในลมหายใจออก (คำเต็ม PETCO2) ความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด (คำเต็ม SpO2) และคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ความดันเลือด (คำเต็ม BP) ก่อน ระหว่าง หลังออกกำลังกายทันที และหลังออกกำลังกาย10 นาที ยกเว้นไม่วัดBP ระหว่างออกกำลงกาย ผลการศึกษา พบว่าอาสาสมัครสามารถออกกำลังกายในภาวะ C-PEP ได้นานกว่าภาวะควบคุม ประมาณ 4 นาที (12.2 ±5.8 เทียบกับ 8.3 ± 2.1 นาที; p< 0.05) โดยหยุดออกกำลังกายที่ระดับความหนักไม่แตกต่างกัน ในภาวะ C-PEP และควบคุม (RPB = 4.6±2.7 หน่วย และ 4.1±1.8 หน่วย และ HR = 106.2±8.4 และ 108.5±11.7 ครั้ง/นาที ตามลำดับ) RPB ใน C-PEP น้อยกว่า ภาวะควบคุม ระหว่างช่วงเวลาออกกำลังกาย (AUC median IQR 25-75 ของ CPEP vs ควบคุม ตามลำดับ p=0.26) เมื่อสิ้นสุดออกกำลังกายทันที RR น้อยกว่า และ VT มากกว่า (24.0±6.0 vs 28.0± 3.0 ครั้งต่อนาที และ 1017.8±189.0 vs 974.4±279.1 มิลลิลิตร ใน C-PEP เทียบกับ Control ตามลำดับ p = 0.42) ในขณะออกกำลังกาย PETCO2 และ SpO2 มีค่าปกติ และไม่แตกต่างกันระหว่างภาวะ และไม่พบความผิดปกติของคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ในระยะหลังออกกำลังกาย 10 นาที RR ในภาวะ C-PEP กลับคืนสู่ระยะพัก แต่ยังคงสูงในภาวะควบคุม BP และ HR ยังคงสูงกว่าระยะพักในทั้ง 2 ภาวะ สรุป การหายใจผ่านอุปกรณ์ก่อแรงดันบวกแบบใหม่ (C-PEP mask) ขณะออกกำลังกายมีความปลอดภัย สามารถลดอาการหอบเหนื่อย ะเพิ่มความทนทานในการออกกำลังกายและช่วยการฟื้นตัวของการทำงานของปอดได้ จึงน่าจะนำไปใช้ในการฝึกออกกำลังกายเพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพและเพิ่มกิจกรรมทางกายในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังได้
Article Details
References
O’Donnell DE, Banzett RB, Carrieri-Kohlman V, Casaburi R, Davenport PW, Gandevia SC. Pathophysiology of Dyspnea in Chronic Obstructive Pulmonary Disease. Proc Am Thorac Soc 2007; 4: 145–68.
Calverley PMA. Exercise and dyspnoea in COPD. EurRespir Rev 2006; 15(100): 72–9.
Cooper CB. The connection between chronic obstructive pulmonary disease symptoms and hyperinflation and its impact on exercise and function. Am J Med 2006; 119(10): 21-31.
Sridhar SA, Vaishali K, Alaparthi GK, Krishnan S, Zulfeequer, Anand R. Effect of Threshold Positive Expiratory Pressure on Dynamic Hyperinflation & Dyspnea in COPD: A Randomized Cross Over Trial. Journal of Health Sciences & Research 2012; 2(5): 7-16.
Saetta M, Turato G, Baraldo S, Zanin A, Braccioni F, Mapp CE, et al: Goblet cell hyperplasia and epithelial inflammation in peripheral airways of smokers with both symptoms of chronic bronchitis and chronic airflow limitation. Am J Respir Crit Care Med 2000; 161: 1016–21.
Padkao T, Boonsawat W, Jones CU. Conical-PEP is safe, reduces lung hyperinflation and contributes to improved exercise endurance in patients with COPD: a randomized cross-over trial. J Physiother 2010; 56(1): 33-39.
Wibmer T, Rudiger S, Heitner C, Kropf- Sanchen C, Blanta L, Stoibe KM, et al. Effects of Nasal Positive Expiratory Pressure on Dynamic Hyperinflation and Six Minute Walk Test in Patients with COPD. Resp care 2013; 174: 1-27.
Olsen MF, Lannefors L, Westerdahl E. Positive expiratory pressure-common clinical applications and physiological effects. Respir Med 2015; 109: 297-307.
Myers RT. Positive Expiratory Pressure and Oscillatory Positive Expiratory Pressure Therapies. Resp care 2007; 50(10): 1308-27
Mughal MM, Culver AD, Minai AO, Arroliga AC. Auto-positive end-expiratory pressure: Mechanisms and treatment. Cleveland Clinical journal of medicine 2014; 72(9): 801-9Marini JJ. Dynamic Hyperinflation and Auto–Positive End-Expiratory Pressure. Am J Respir Crit Care Med 2011; 184: 756-62.
Pongpanit K, Boonsawat W, Jones DA, and Jones CU. Positive expiratory pressure breathing increases the recovery of dyspnea in patients with COPD. Thai Journal of Physical Therapy 2015; 37(1): 41-53.