ลักษณะการเดินของผู้ที่มีสุขภาพดีขณะเดินบนพื้นแข็งและพื้นนุ่มที่มีระดับความหนาระดับต่างๆ

Main Article Content

Donlaya Promkeaw
Ananya Yam-ubon
Wilairat Saensook
Pipatana Amatachaya
Thiwabhorn Thaweewannakij
Sugalya Amatachaya

บทคัดย่อ

ที่มาและความสำคัญ: พื้นนุ่มส่งผลให้เกิดความไม่มั่นคงซึ่งท้าทายความสามารถด้านการเดินแต่ปัจจุบันยังไม่มีรายงานผลของพื้นนุ่มและระดับความหนาที่ส่งผลต่อลักษณะการเดิน


วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาลักษณะการเดินของอาสาสมัครสุขภาพดีจำนวน 16 คนขณะเดินบนพื้นนุ่มหนา 1 นิ้ว และหนา 3 นิ้ว เปรียบเทียบการเดินบนพื้นเรียบแข็ง


วิธีการ: อาสาสมัคร (อายุเฉลี่ย26±2.85 ปี) ได้รับการประเมินความเร็วในการเดิน ความถี่การก้าวขา ความยาวรอบการเดิน และความสมมาตรของระยะก้าว ขณะเดินบนพื้นแต่ละแบบด้วยความเร็วปกติและความเร็วสูงสุด อย่างละ 3 รอบ ผู้วิจัยบันทึกภาพการเดินของอาสาสมัครเพื่อวิเคราะห์การเคลื่อนไหวแบบ 2 มิติโดยใช้โปรแกรม Kinovea ใช้สถิติ ANOVA with repeated measure เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของตัวแปรขณะเดินบนพื้นแต่ละแบบ กำหนดระดับนัยสำคัญที่ p<0.05


ผลการศึกษา: เมื่อเดินบนพื้นนุ่มอาสาสมัครเดินและก้าวขาช้าลงกว่าการเดินบนพื้นเรียบแข็งอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทั้งเมื่อเดินด้วยความเร็วปกติและความเร็วสูงสุด (ความเร็วในการเดิน = 1.12-1.35 เมตร/วินาที และ 1.34-1.74 เมตร/วินาทีความถี่การก้าวขา = 96-110ก้าว/นาที และ 120-139 ก้าว/นาที เมื่อเดินบนพื้นนุ่มและพื้นเรียบแข็งด้วยความเร็วปกติและความเร็วสูงสุดตามลำดับ p<0.05) แต่ไม่พบความแตกต่างของตัวแปรอื่นรวมถึงไม่พบความแตกต่างระหว่างการเดินบนพื้นนุ่มหนา 1 นิ้วและหนา 3 นิ้ว (p>0.05)


สรุปการศึกษา: พื้นนุ่มท้าทายความสามารถด้านการเดินโดยเฉพาะในตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับเวลา โดยการประยุกต์ใช้ทางคลินิกอาจเลือกใช้พื้นนุ่มหนา 1 นิ้ว เนื่องจากมีน้ำหนักเบา ราคาถูก จัดเก็บง่าย และขนย้ายได้สะดวกกว่าพื้นนุ่มหนา 3 นิ้ว อย่างไรก็ตาม ข้อมูลที่ได้เป็นการศึกษาเบื้องต้นในอาสาสมัครสุขภาพดี ดังนั้น การศึกษาในอนาคตควรเปรียบเทียบข้อมูลในอาสาสมัครที่มีความบกพร่องทางการเคลื่อนไหวเพื่อยืนยันการประยุกต์ใช้พื้นนุ่มในการฟื้นฟูความสามารถทางคลินิกได้ดียิ่งขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. Savin DN, Morton SM, Whitall J. Generalization of improved step length symmetry from treadmill to overground walking in persons with stroke and hemiparesis. ClinNeurophysiol 2014; 125: 1012-20.

2. Sawachaa Z, Spolaora F, Guarnerib G, et al. Abnormal muscle activation during gait in diabetes patients with and without neuropathy. Gait Posture 2012; 35: 101-5.

3. Boonstra TA, van der Kooij H, Munneke M, Bloem BR. Gait disorders and balance disturbances in Parkinson's disease: clinical update and pathophysiology. CurrOpinNeurol 2008; 21: 461-71.

4. Behrman A, Harkema S. Locomotor training after human spinal cord injury: a series of case studies. Phys Ther 2000; 80: 688-700.

5. Amatachaya S, Kaewsutthi M. Gait rehabilitation for patients with incomplete spinal cord injury (iSCI): conventional and treadmill training. J Med Tech Phys Ther 2007; 19: 7-19.

6. Behrman AL, Bowden MG, Nair PM. Neuroplasticity after spinal cord injury and training: an emerging paradigm shift in rehabilitation and walking recovery. Phys Ther 2006; 86: 1406-25.

7. Morrison K, Braham RA, Dawson B, Guelfi K. Effect of a sand or firm-surface walking program on health, strength, and fitness in women 60-75 years old. J Aging Phys Act 2009; 17: 196-209.

8. Pinnington HC, Dawson B. The energy cost of running on grass compared to soft dry beach sand. J Sci Med Sport 2001; 4: 416-30.

9. Lejeune TM, Willems PA, Heglund NC. Mechanics and energetics of human locomotion on sand. J ExpBiol 1998; 201: 2071-80.

10. National Spinal Cord Injury Statistical Center. Spinal cord injury facts and figures at a glance. J Spinal Cord Med 2013; 36: 568-9.

11. Cardenas DD, Hoffman JM, Kirshblum S, McKinley W. Etiology and incidence of rehospitalization after traumatic spinal cord injury: a multicenter analysis. Arch Phys Med Rehabil 2004; 85: 1757-63.

12. Pramodhyakul N, Amatachaya P, Sooknuan T, Arayawichanon P, Amatachaya S. Visuotemporal cues clinically improved walking ability of ambulatory patients with spinal cord injury within 5 days. J Spinal Cord Med 2016; 39:405-11.

13. Kumprou M, Amatachaya P, Sooknuan T, Thaweewannakij T, Mato L, Amatachaya S.Do ambulatory patients with spinal cord injury walk symmetrically? Spinal Cord 2016; 55; 204-7.

14. Kumprou M, Amatachaya P, Sooknuan T, Thaweewannakij T, Amatachaya S. Is walking symmetry important for ambulatory patients with spinal cord injury? Disabil Rehabil 2017; 1-9

15. Kirtley C. Clinical gait analysis: theory and practice. Edinburgh: Livingstone; 2006.

16. Balasubramanian CK, Bowden MG, Neptune RR, Kautz SA. Relationship between step length asymmetry and walking performance in subjects with chronic hemiparesis. Arch Phys Med Rehabil 2007; 88: 43-9.

17. Patterson KK, Gage WH, Brooks D, Black SE, McIlroy WE. Evaluation of gait symmetry after stroke: a comparison of current methods and recommendations for standardization. Gait Posture 2010; 31: 241-6.