ระยะเวลาที่เหมาะสมสำหรับการนวดเพื่อเพิ่มการไหลเวียนเลือดส่วนปลายและ อุณหภูมิผิวหนังบริเวณเท้า

Main Article Content

Saitida Lapanantasin
Wipada Inkeaw
Kanyanut La-orsub

บทคัดย่อ

ที่มาและความสำคัญ: การนวดเป็นวิธีการรักษาชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยมในการเพิ่มการไหลเวียนเลือดส่วนปลาย อย่างไรก็ตาม ไม่พบการศึกษาใดระบุชัดเจนถึงระยะเวลาที่เหมาะสมของการนวดที่เพิ่มการไหลเวียนเลือดส่วนปลาย


วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลทันทีของการนวดที่ขาและเท้า ณ ระยะเวลาต่างๆ ต่อการไหลเวียนเลือดส่วนปลายและอุณหภูมิผิวหนังบริเวณเท้า


วิธีการ: รูปแบบการวิจัยคือ time series research design โดยวิจัยในกลุ่มอาสาสมัครหนุ่มสาวสุขภาพดี 30 คน อายุเฉลี่ย 21.97 ± 1.07 ปี ได้รับการนวดแบบสวีดิชที่บริเวณปลายขาและเท้าด้านขวาเป็นเวลา 40 นาที ในห้องควบคุมอุณหภูมิที่ 24-26 องศาเซลเซียส ค่าตัวแปรที่ต้องการศึกษา ก่อนและหลังได้รับการนวดทุก 10 นาที ได้แก่ ค่าความดันโลหิตที่เส้นเลือดแดงบริเวณข้อเท้าdorsalis pedis (aSBPd)  และ posterior tibial (aSBPp)  ค่าดัชนีความดันโลหิตบริเวณข้อเท้าเมื่อเทียบกับแขน (ABI) และอุณหภูมิผิวหนังบริเวณเท้า (T) การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติของค่า ABI และ T ใช้ One-way repeated measures ANOVA และการทดสอบ Bonferroni ส่วนค่า aSBPd และ aSBPp วิเคราะห์ด้วยการทดสอบ Friedman และการทดสอบ Wilcoxon signed rank


ผลการศึกษา: พบว่าระยะเวลาการนวดมีผลอย่างมีนัยสำคัญต่อค่า aSBPd (p = 0.001), aSBPp (p = 0.024) และ ค่า ABI (p = 0.002) แต่ไม่มีผลต่ออุณหภูมิผิวหนังบริเวณเท้าโดยพบว่าค่า aSBPd และ aSBPp ณ เวลา 20, 30 และ 40 นาที หลังนวดสูงกว่าก่อนการนวดอย่างมีนัยสำคัญ( p <0.01) และพบว่าค่า ABI ณ เวลา 20 และ 30 นาทีเท่านั้น ที่มีค่าสูงกว่าก่อนได้รับการนวดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01)


สรุปการศึกษา: การนวดขาและเท้า(อย่างไม่ต่อเนื่องโดยมีการหยุดเป็นระยะทุก 10 นาที) เป็นระยะเวลาตั้งแต่ 20 นาทีขึ้นไปอาจส่งผลเพิ่มการไหลเวียนเลือดส่วนปลายสู่บริเวณเท้า โดยการเพิ่มความต่างของแรงดันภายในหลอดเลือดแดงและหลอดเลือดดำ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. Taspinar F, Aslan UB, Sabir N, Cavlak U. Implementation of matrix rhythm therapy and conventional massage in young females and comparison of their acute effects on circulation. J Altern Complement Med 2013; 19: 826-32.

2. Lind L, Lithell H. Decreased peripheral blood flow in the pathogenesis of the metabolic syndrome comprising hypertension, hyperlipidemia, and hyperinsulinemia. Am Heart J 1993;125(5):1494-7.

3. Cheing GL-Y, Sun J, Kwan RL-C, Zheng Y. The potential influence of diabetic history on peripheral blood flow in superficial skin. Microvasc Res 2013; 90: 112–6.

4. Cunningham JE, Kelechi T, Sterba K, Barthelemy N, Falkowski P, Chin SH. Case report of a patient with chemotherapy-induced peripheral neuropathy treated with manual therapy (massage). Support Care Cancer 2011; 19: 1473-6.

5. Kim JO, Kim IS. Effects of aroma self-foot reflexology massage on stress and immune responses and fatigue in middle-aged women in rural areas. Journal of Korean Academy of Nursing 2012; 42: 709-18.

6. .Aourell M, Skoog M, Carleson J. Effects of Swedish massage on blood pressure. Complement Ther Clin Pract 2005; 11: 242-6.

7. Ejindu A. The effects of foot and facial massage on sleep induction, blood pressure, pulse and respiratory rate: crossover pilot study. Complement Ther Clin Pract 2007; 13: 266-75.

8. Lapanantasin S, Songkhropol Y, Ritsamret N, Jamjuree S. Immediate effects of massage, Buerger-Allen exercise and weight bearing exercise on peripheral blood flow and skin temperature of foot in young adults. Thai Journal of Physical Therapy 2016; 38: 14-22. (In Thai)

9. WOCN® Clinical Practice Wound Subcommittee, 2005 Updated/Revised: WOCN® Wound Committee, 2010-2011. Ankle brachial index: quick reference guide for clinicians. J Wound Ostomy Continence Nurs 2012; 39 (2 Suppl): S21-9.

10. Boonsinsukh P. Manual therapy. Bangkok: SP Printing. 2009. (In Thai)

11. Nelson NL. Massage therapy: understanding the mechanisms of action on blood pressure: a
scoping review. J Am Soc Hypertens 2015; 9: 785-93.

12. Diego MA, Field T. Moderate pressure massage elicits a parasympathetic nervous system response. Int J Neurosci 2009; 119: 630-8.

13. Cassar M-P. Handbook of massage therapy: a complete guide for the student and professional massage therapist. Oxford; Boston: Butterworth-Heinemann; 1999.

14. Goats GC. Massage--the scientific basis of an ancient art: part 2 physiological and therapeutic effects. Br J Sports Med 1994; 28:153-6.

15. Kunikata H, Watanabe K, Miyoshi M, Tanioka T. The effects measurement of hand massage by the autonomic activity and psychological indicators. J Med Invest 2012; 59(1-2): 206-12.

16. Eguchi E, Funakubo N, Tomooka K, Ohira T, Ogino K, Tanigawa T. The effects of aroma foot massage on blood pressure and anxiety in Japanese community-dwelling men and women: a crossover randomized controlled trial. PLoS One 2016; 11(3): e0151712.