การรับรู้และทัศนคติของผู้นำชุมชนต่อการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการทางการเคลื่อนไหวในชุมชน อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช

Main Article Content

Khomkrip Longlalerng
Charupa Lektip
Wannisa Kumban
Taweepol Sanpakdee

บทคัดย่อ

ปัจจุบันจำนวนคนพิการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี ขณะที่กลยุทธ์ในการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการใช้ “การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการโดยชุมชน” หรือ community-based rehabilitation และเป็นกลยุทธ์ที่นำมาใช้ในการดูแลคนพิการในหลายประเทศทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย โดยกลยุทธ์นี้อาศัยการมีส่วนร่วมของบุคลากรทุกภาคส่วนในชุมชน รวมทั้งกลุ่มผู้นำชุมชน ที่ผ่านมาการศึกษาเกี่ยวกับการรับรู้และทัศนคติของผู้นำชุมชนต่อการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการทางการเคลื่อนไหวยังมีจำกัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทย  วัตถุประสงค์ของการศึกษาคือเพื่อทราบการรับรู้และทัศนคติของผู้นำชุมชนต่อการฟื้นฟูสมรรถภาพของคนพิการทางการเคลื่อนไหวใน 3 ชุมชน ได้แก่ ตำบลท่าขึ้น ตำบลดอนตะโก และตำบลโพธิ์ทอง อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช แต่ละตำบลมีผู้เข้าร่วมการวิจัยจำนวน 8, 8 และ 9 คนตามลำดับ รวบรวมข้อมูลโดยการสนทนากลุ่ม ผลการศึกษาพบว่า ผู้นำชุมชนรับรู้ประเภทคนพิการ รับรู้อุบัติการณ์ รับรู้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ รวมทั้งรับรู้ปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาคนพิการทางการเคลื่อนไหว นอกจากนี้ ผู้นำชุมชนเห็นว่างานด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการทางการเคลื่อนไหวยังไม่ดีพอ เนื่องจากยังมีปัญหาในหลาย ๆ ด้าน จึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาต่อไป และผู้นำชุมชนโดยส่วนใหญ่ไม่พอใจบทบาทของตัวเองในการดูแลคนพิการทางการเคลื่อนไหวในชุมชน ประโยชน์ที่ได้จากการศึกษาในครั้งนี้ทำให้ทราบว่าผู้นำชุมชนมีความรู้และความสนใจที่จะทำงานเพื่อแก้ปัญหาคนพิการ อย่างไรก็ตาม จำเป็นต้องมีการประสานความร่วมมือกับบุคคลต่าง ๆ ในชุมชนมากขึ้น เพื่อให้เห็นผลของการปฏิบัติงานอย่างเป็นรูปธรรมในอนาคต

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. คณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ. แผนพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ ฉบับที่4 พ.ศ. 2555-2559. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เทพเพ็ญวานิสย์; 2555.
2. ข้อมูลประมวลผลจากฐานข้อมูลทะเบียนกลางคนพิการ กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ. สถิติข้อมูลคนพิการที่มีบัตรประจำตัวคนพิการ จำแนกตามภูมิภาค และเพศ ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2537 ถึงวันที่ 31 เดือนมกราคม พ.ศ. 2558. 2558 [cited 2558 31 มกราคม 2558 ]; Available from: http://nep.go.th/th/disability-statistic
3. องค์การบริหารส่วนตำบลดอนตะโก ท่าขึ้น และโพธิ์ทอง. รายงานแผนพัฒนา 3 ปี ของตำบลดอนตะโก ตำบลท่าขึ้น และตำบลโพธิ์ทอง ปี 2557-2559. นครศรีธรรมราช 2557.
4. World Health Organization. Community-based rehabilitation: CBR guidelines. Malta: World Health Organization 2010; 2010.
5. Nomjit Nualnetr. Physical therapy roles in community-based rehabilitation: A case study in rural areas of north eastern Thailand. Asia Pacific Disability Rehabilitation Journal. 2009;20(1):73-82.
6. นริสา วงศ์พนารักษ์ และ ศิรินาถ ตงศิรี. การใช้แนวคิดการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการโดยชุมชนในการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2556;6(3):6-10.
7. รัชนี สรรเสริญ, เบญจวรรณ ทิมสุวรรณ, วรรณรัตน์ ลาวัง, ยุวดี รอดจากภัย, รจนา ปุณโณทก, ชุติมา ฉันทมิตรโอภาส. การบูรณาการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน ในสถานบริการปฐมภูมิ: บทเรียนรู้จากประเทศไทย. วารสารพยาบาลและการศึกษา 2010 ; 3(2):99-113.
8. อัญภัชชา สาครขันธ์ และ น้อมจิตต์ นวลเนตร์. การมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อปรับปรุงการเข้าถึงบริการด้านการแพทย์ของคนพิการ: กรณีศึกษาตำบลหนองบอน อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม. วารสารเทคนิคการแพทย์และกายภาพบำบัด. 2554;3(23):274-83.
9. วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี. คู่มือประชาชน การดูแลคนพิการทางกายและการเคลื่อนไหว กรณีศึกษาเขตอำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี. ราชบุรี: เมืองราชการพิมพ์; 2554.
10. สุพัตรา ศรีวณิชชากร. เวทีเสวนาเพื่อการพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน ครั้งที่ 3 โรงพยาบาลกับการขับเคลื่อนระบบสุขภาพชุมชน. กรุงเทพฯ: สำนักงานวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน (สพช.) สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล; 2554.
11. สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ. พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550. กรุงเทพฯ: ศรีเมืองการพิมพ์; 2550.