การพัฒนาสมรรถภาพการทรงตัวและความกลัวการล้มของผู้สูงอายุหญิงในตำบลองครักษ์และบางลูกเสือจังหวัดนครนายกด้วยการบริการวิชาการชุมชน

Main Article Content

Saitida Lapanantasin
Wassana Techovanich
Punpissa Na Songkhla
Yuparat Odglun
Sunantha Wikam

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: การส่งเสริมสมรรถภาพการทรงท่าเพื่อป้องกันการล้ม มีความสำคัญอย่างมากสำหรับผู้สูงอายุ โดยเฉพาะในผู้สูงอายุเพศหญิงซึ่งพบว่ามีความสี่ยงต่อการล้มมากกว่าชาย การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อติดตามประสิทธิผลของการให้บริการวิชาการสร้างเสริมสมรรถภาพการทรงท่าแก่ผู้สูงอายุหญิงในชุมชนด้วยการจัดกิจกรรมเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กลุ่มย่อยร่วมกับการสอนการปฏิบัติการออกกำลังกายด้วยตนเองที่บ้านเพื่อฝึกพัฒนาความสามารถในการทรงตัวแก่ผู้สูงอายุ และติดตามผลความสามารถในการทรงตัวและความกลัวการล้มของผู้สูงอายุ หลังจากเข้าร่วมโครงการแล้ว


วิธีการวิจัย: รวบรวมข้อมูลผลประเมินความสามารถในการทรงตัวและความกลัวการล้ม (FoF) ของอาสาสมัครผู้สูงอายุในตำบลองครักษ์และบางลูกเสือ จังหวัดนครนายก ทั้งก่อนเข้าร่วม (wk0) และ สัปดาห์ที่ 4 หลังเข้าร่วมโครงการ(wk4)  โดยประเมินความสามารถในการทรงตัวด้วย Berg balance scale (BBS), functional reach test (FRT) และ timed up and go test (TUG) ส่วน FoFประเมินด้วย Thai geriatric fear of falling questionnaire และเปรียบเทียบข้อมูลระหว่างก่อนและหลังเข้าร่วมด้วยสถิติ paired t-test ผลการวิจัย: ผู้สูงอายุหญิงจำนวน 50 คน อายุ60-85 ปี (อายุเฉลี่ย ± ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 71.06+6.96 ปี) อาสาสมัครเข้าร่วมโครงการ โดยเข้า


 


ร่วมกิจกรรมกลุ่มที่นำโดยนักกายภาพบำบัด เพื่อเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับสาเหตุและความสำคัญของการทรงตัวสำหรับผู้สูงอายุและเรียนรู้วิธีการปฏิบัติตามโปรแกรมการออกกำลังกายเพื่อพัฒนาการทรงตัวด้วยตนเองที่บ้าน ผลการประเมินความสามารถในการทรงตัวและความกลัวการล้มในสัปดาห์ที่ 4 พบว่า ผู้สูงอายุมีความสามารถในการทรงตัวเมื่อประเมินด้วย BBS, FRT และ TUGดีกว่าก่อนเข้าร่วมโครงการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p=0.001, p=0.05 และ p=0.001 ตามลำดับ) และมีความกลัวการล้มลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.001)


สรุปผล: โครงการบริการวิชาการชุมชนเชิงรุกเพื่อส่งเสริมความสามารถในการทรงตัวสำหรับผู้สูงอายุ ด้วยกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กลุ่มย่อยร่วมกับการสอนวิธีการปฏิบัติการออกกำลังกายเพื่อพัฒนาการทรงตัวด้วยตนเองที่บ้าน และนัดติดตามผลใน 4 สัปดาห์ สามารถใช้เป็นรูปแบบของการบริการส่งเสริมสมรรถภาพการทรงตัวสำหรับผู้สูงอายุในชุมชนได้ เนื่องจากสามารถช่วยให้ความสามารถในการทรงตัวของผู้สูงอายุดีขึ้นและมีความกลัวการล้มลดลง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. สำนักงานสถิติแห่งชาติ. รายงานการสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทยพ.ศ. 2550

2. มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทยพ.ศ. 2547

3. ชูชัย ศุภวงศ์, สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์, ศุภกิจ ศิริลักษณ์ และคณะ คู่มือการให้บริการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล,กรุงเทพฯ; โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก, 2552: 167.

4. Sturnieks DL, George RS, Lord SR. Balance disorders in the elderly. ClinNeurophysiol, 2008; 38: 467-78.

5. Laughton CA, Slavin M, Katdare K, Nolan L, Bean JF, Kerrigan DC, Phillips E, Lipsitz LA, Collins JJ. Aging, muscle activity, and balance control: physiologic changes associated with balance impairment. Gait Posture, 2003: 18; 101-8.

6. Jitapunkul S, Na Songkhla M, ChayovanN, ChirawatkulA, ChoprapawonC, KachondhamY, BuasaiS. Fall and their associated factors: A national survey of the Thai elderly. J Med Assoc Thai, 1998; 81: 233-242.

7. Shumway–Cook A, Gamber W, Baldwin M, Liao S. The effect of multidimensional exercises on balance, mobility, and fall risk in community – dwelling older adults. PhysTher, 1997; 77: 46 – 57.

8. Legters K. Fear of falling. Phys Ther. 2002;82:264-72

9. Scheffer AC, Schuurmans MJ, Dijk N, Hooft T, Rooij SE. Fear of falling: measurement strategy, prevalence, risk factors and consequences among older persons (systematic review). Age and Ageing, 2008; 37:19–24.

10. Barnett A, Smith B, Lord SR, Williams M, Baumand A. Community-based group exercise improves balance and reduces falls in at-risk older people: a randomised controlled trial. Age Ageing, 2003; 32:407-14.

11. สายธิดา ลาภอนันตสิน, ไพจิตรา พรหมวิชัย, วีนัส ฉายแก้ว, อัจฉราภรณ์ บิดา. การพัฒนาโปรแกรมการออกกาลังกายแบบกลุ่มเพื่อฝึกการทรงท่าสาหรับผู้สูงอายุไทยเพศหญิง. Thai Journal of Physical Therapy, 2011; 33: 78-88.

12. สายธิดา ลาภอนันตสิน, กฤตพร เติมกิจวาณิชย์, สุรินทร์ทิพย์ กิติทัศน์เศรณี, อุไรพรปรางศรี. ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายแบบกลุ่มเพื่อฝึกการทรงท่าต่อความสามารถในการทรงท่าในผู้สูงอายุไทยเพศหญิงที่มีระดับกิจกรรมทางกายต่างกัน: การศึกษานำร่อง. Thai Journal of Physical Therapy, 2013; 35: 1-15.

13. Berg K, Wood-Dauphinee S, Williams JI. The Balance scale: reliability assessment for elderly residents and patients with an acute stroke. Scand J Rehab Med, 1995: 27; 27-36.

14. Berg K, Maki B, Williams JI, Holliday P, Wood-Dauphinee S. A comparison of clinical and laboratory measures of postural balance in an elderly population. Arch Phys Med Rehabil, 1992: 73; 1073-1083.

15. Duncan PW, Weiner DK, Chandler J, Studenski S. Functional reach: a new clinical measure of balance. J Gerontol,1990;45:M192-7.
16. Weiner DK, Duncan PW, Chandler J,Studenski SA. Functional reach: a marker of physical frailty. J Am GeriatrSoc, 1992;40: 203-7.

17. Wall JC, Bell C, Campbell S, Davis J. The timed get-up-and-go test revisited: measurement of the component tasks. J Rehab Res Dev, 2000: 37; 109-114.
18. Podsiadlo D, Richardson S. The timed "Up & Go": a test of basic functional mobility for frail elderly persons. J Am Geriatr Soc, 1991;39:142-8.

19. Sangpring P, Vongsirinavarat M, Hiengkaew V, Kaewkungwal J. Development of a Geriatric Fear of Falling Questionnaire for Assessing the Fear of Falling of Thai Elders. J Phys Ther Sci, 2012; 24:359-64.

20. http://www.rehabmeasures.org/Lists/RehabMeasures/DispForm.aspx?ID=888

21. http://www.rehabmeasures.org/Lists/RehabMeasures/DispForm.aspx?ID=950

22. http://www.rehabmeasures.org/Lists/RehabMeasures/DispForm.aspx?ID=903

23. ChiacchieroMi, Dresely B; Silva U; DeLosReyes R; Vorik B. The Relationship Between Range of Movement, Flexibility, and Balance in the Elderly. Topics in Geriatric Rehabilitation, 2010; 26: 148-155.
24. Daubney ME, Culham EG. Lower-extremity muscle force and balance performance in adults aged 65 years and older. PhysTher, 1999; 79:1177-1185.

25. Muehlbauer T, Roth R, Bopp MI, Granacher U. An Exercise Sequence for Progression in Balance Training. J Strength Condition Res, 2012; 26: 568-574.
26. Newton RA. Validity of the multi-directional reach test: a practical measure for limits of stability in older adults. J Gerontol A Biol Sci Med Sci, 2001;56:M248-52.

27. Mackey DC, Robinovitch SN. Mechanisms underlying age-related differences in ability to recover balance with the ankle strategy. Gait & Posture, 2006; 23: 59–68.