การสำรวจปัญหาระบบกระดูกและกล้ามเนื้อและปัจจัยที่เกี่ยวข้องทางการยศาสตร์ในผู้ประกอบอาชีพ เพาะพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับในหมู่บ้านไม้ดอกไม้ประดับคลอง 15 อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก

Main Article Content

Pakaporn Phucharoen
Orapin Karoonsupcharoen

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อประสงค์: เพื่อสำรวจปัญหาของระบบกระดูกและกล้ามเนื้อและปัจจัยทางการยศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการเกิดปัญหาระบบกระดูกและกล้ามเนื้อในผู้ประกอบอาชีพเพาะพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับ


ผู้ร่วมวิจัย: ผู้ประกอบอาชีพเพาะพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับ ที่เช่าพื้นที่ของกรมธนารักษ์ในหมู่บ้านไม้ดอกไม้ประดับ คลอง 15 อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก ในปี พ.ศ. 2554 จำนวน 222 คน


วิธีวิจัย: รวบรวมข้อมูลจากแบบสัมภาษณ์ระหว่างเดือนมกราคม – กันยายน พ.ศ. 2554 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและ Chi-square test


ผลการวิจัย: พบผู้มีปัญหาของระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ 184 คน (82.88%) ทุกคนมีปัญหาอย่างน้อย 1 ตำแหน่งของร่างกาย ตำแหน่งที่พบปัญหามากที่สุด 3 อันดับแรก คือ หลังส่วนล่าง ด้านหน้าเข่า บริเวณด้านหน้าและด้านหลังของไหล่ ปัจจัยด้านบุคคล คือเพศ  อายุ อายุการทำงานเพาะพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับ ความพึงพอใจในการประกอบอาชีพ ประวัติการประกอบอาชีพอื่นมาก่อนเพาะพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับอาชีพเสริมและโรคประจำตัวไม่มีความสัมพันธ์กับการเกิดปัญหาของกระดูกและกล้ามเนื้อ แต่พบความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p= .001) ระหว่างงานในขั้นตอนการจำหน่าย (ปัจจัยด้านงาน) และการทำงานกลางแดดในขั้นตอนจำหน่าย (ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม) กับการเกิดปัญหาระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ จึงควรศึกษาต่อไปเพื่อค้นหาขั้นตอนงานที่มีความเสี่ยงสูงและวิเคราะห์หาสาเหตุเพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดกับระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. Rainbird G, Neill D. Occupational disorders affecting agricultural worker in tropical developing countries: Results of a literature review. Applied Ergonomics 1995 June;26(3):187-193.

2. Hartman E, Vrielink H, Metz J, HuirneR. Exposure to physical risk factors in Dutch agriculture: Effect on sick leave due to musculoskeletal disorders. International Journal of Industrial Ergonomics 2005 Nov; 35 (11):
1031-1045.

3. Fathallah FA. Musculoskeletal disorders in labor-intensive agriculture. Applied Ergonomics 2010; 41:738-743.

4. สุวัสสา เพ็งสีแสง. ปัญหาด้านการยศาสตร์และปัจจัยที่เกี่ยวข้องในชาวนา ตำบลศรีวิชัย อำเภอวานรนิวาส จ.สกลนคร. [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต].เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2552.

5. จุฑามาศ เวชพานิช และศรายุทธ สิมะดำรง. การประเมินภาวะสุขภาพของเกษตรกรกลุ่มปลูกผัก จังหวัดนครปฐม ปี พ.ศ. 2549 [อินเทอร์เน็ต]. เข้าถึงเมื่อ [30 เมษายน 2554] เข้าถึงได้จาก:
www.boe.moph.go.th/Annual/Weekly%20Report/weekly49_44/wk49_44_2.html

6. ลักขณาพร โทวรรธณะ. การบาดเจ็บที่เกี่ยวเนื่องจากการทำงานและพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของเกษตรกร. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลอาชีวอนามัย].เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่,
2552.

7. กฤษณา งามกมล. ภาวะสุขภาพและพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของเกษตรกรชาวนา. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลอาชีวอนามัย]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2552.

8. การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานนครนายก. หมู่บ้านไม้ดอกไม้ประดับคลอง 15 นครนายก[อินเทอร์เน็ต].2554 เข้าถึงเมื่อ [28 เมษายน 2554] เข้าถึงได้จาก :http://www/tat8com.thai/ny/p_suanmaidok.html

9. สิน พันธุ์พินิจ. เทคนิคการวิจัยทางสังคมศาสตร์.พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ:วิทยพัฒน์, 2553.

10. สุวิมล ติรกานันท์. การสร้างเครื่องมือวัดตัวแปรในการวิจัยทางสังคมศาสตร์: แนวทางสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2550.

11. Taechasubamorn P, Nopkesorn T, Pannarunothai S. Prevelence of Low Back Pain among Rice Farmers in a Rural Community in Thailand. J Med Assoc Thai 2011; 94(5): 616-21.

12. รุ้งทิพย์พันธุเมธากุล, วัณทนาศิริธราธิวัตร, ยอดชายบุญประกอบ, วิชัย อึงพินิชพงศ์, มณเฑียร พันธุเมธากุล. ความชุกของความผิดปกติทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อในชาวนา: กรณีศึกษาตำบลศิลา อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น. วารสารเทคนิคการแพทย์และกายภาพบำบัด 2554ก.ย.- ธ.ค.; 23 (3): 297-303.

13. กิตติ อินทรานนท์. การยศาสตร์:Ergonomics. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2548.

14.Jaffar N, Abdul-Tharim AH, Mohd-Kamar IF, LopNS. A Literature Review ofErgonomics Risk Factors in Construction.Industry Procedia Engineering.2011; 20: 89-97.

15. สุดาพร วงษ์พล และ อุไรวรรณ อินทร์ม่วง. การประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพจากกิจกรรมการทำสวนยางพาราของเกษตรกรสวนยางพารา อำเภอเมืองหนองแสง จังหวัดอุดรธานี. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์
มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2555; 5 (1): 13-20.

16. Punnett L, Wegman DH. Work-related musculoskeletal disorders: the epidemiologic evidence and the debate. Journal of Electromyography and Kinesiology.2004; 14: 13–23.

17. Widanarko B, Legg S, Stevenson M, Devereux J, Eng A, Mannetje A et al.Prevalence of musculoskeletal symptoms in relation to gender, age, and occupational/industrial group. International Journal of Industrial Ergonomics 2011; 41: 561-572.

18.Kroemer KHA. Fitting the human: introduction to ergonomics. 6thed. USA: Taylor & Francis; 2009

19. เพชรรัตน์แก้วดวงดี, รุ้งทิพย์พันธุเมธากุล, ยอดชายบุญประกอบ, สาวิตรีวันเพ็ญ, วัณทนาศิริธราธิวัตร. ความชุกของความผิดปกติทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อในกลุ่มอาชีพอุตสาหกรรมสิ่งทอ จังหวัดขอนแก่น. วารสารเทคนิค
การแพทย์และกายภาพบำบัด 2553ก.ย.- ธ.ค.; 22 (3): 292-301.

20. Meksawia S, Tangtrakulwanich B, Chongsuvivatwonga V. Musculoskeletal problems and ergonomic risk assessment in rubber tappers: A community-based study in southern Thailand. International Journal of Industrial Ergonomics.2012; 42: 129-135.