มุมมองของผู้ปกครองต่อการบำบัดด้วยเทคนิควอยตาและปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงความสามารถในเด็กที่มีปัญหาด้านการเคลื่อนไหว

Main Article Content

พีรยา เต็มเจริญสุข
ศุภกร ลิขิตนพคุณ
จารุดา เพียคำลือ
ศุภาพิชญ์ ไกรคุ้ม
สวรรยา ลิ้มสุวรรณ

บทคัดย่อ

ที่มาและความสำคัญ: เทคนิควอยตาเป็นหนึ่งในการรักษาทางกายภาพบำบัดที่ช่วยส่งเสริมความสามารถด้านการเคลื่อนไหวของเด็ก ขั้นตอนการบำบัดต้องมีการจัดท่าทางของเด็กในการรักษา จากนั้นนักกายภาพบำบัดจะให้แรงกดกระตุ้นตามตำแหน่งที่เจาะจงบนร่างกาย และทำให้เกิดการเคลื่อนไหวของร่างกายได้เองโดยไม่ต้องอาศัยความตั้งใจของผู้ถูกกระตุ้น ซึ่งให้ผลดีอย่างมากในเด็กที่มีปัญหาด้านการเคลื่อนไหว แต่การจัดท่าทางในการรักษา อาจทำให้เกิดการจำกัดการเคลื่อนไหวที่เด็กไม่เคยชิน เด็กอาจตอบสนองออกมาด้วยการร้องไห้ ส่งผลให้ผู้ปกครองเกิดความกังวลและล้มเลิกการบำบัด รวมถึงมีข้อสงสัยในประสิทธิผลจากการบำบัดรักษาได้ ดังนั้น ข้อมูลจากประสบการณ์ของผู้ปกครองที่เคยนำเด็กมารับการบำบัดด้วยเทคนิควอยตาจะเป็นประโยชน์อย่างมากในการตอบข้อคำถามนี้ 


วัตถุประสงค์: เพื่อสำรวจมุมมองของผู้ปกครองที่มีต่อการบำบัดและประสิทธิผลจากการบำบัดด้วยเทคนิควอยตา และวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงความสามารถของเด็กจากการบำบัดด้วยเทคนิควอยตา


วิธีการวิจัย: ผู้ปกครองของเด็กที่ได้รับการบำบัดด้วยเทคนิควอยตา 60 คน ทำการตอบแบบสอบถามออนไลน์เกี่ยวกับมุมมองของผู้ปกครองต่อเทคนิคการบำบัด การเข้าถึงการบำบัด นักกายภาพบำบัดวอยตา และประสิทธิผลจากการบำบัดด้วยเทคนิควอยตา จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ผลด้วยสถิติเชิงพรรณาและการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติก


ผลการวิจัย: ผู้ปกครองมีมุมมองต่อเทคนิคการบำบัด นักบำบัดวอยตา และประสิทธิผลการบำบัดอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด ร้อยละ 58.5 ของผู้ปกครองที่ตอบแบบสอบถามรายงานความสามารถด้านการเคลื่อนไหวของเด็กที่ดีขึ้นหลังเข้ารับการบำบัดวอยตา การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงความสามารถพบว่า อายุเริ่มต้นของเด็กเมื่อแรกรับการบำบัดด้วยเทคนิควอยตา ความสามารถในการรับรู้และเข้าใจ และความ สัมพันธ์ระหว่างอายุเริ่มต้นเมื่อแรกรับการบำบัดกับอายุปัจจุบันของเด็ก เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงความสามารถด้านการเคลื่อนไหวของเด็กอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05)


สรุปผล: ผลการศึกษาจากมุมมองของผู้ปกครองที่มีประสบการณ์ในเชิงบวกจะช่วยให้ผู้ปกครองกลุ่มใหม่มีความมั่นใจเกี่ยวกับประสิทธิผลจากการบำบัดด้วยเทคนิควอยตาได้มากขึ้น และสามารถใช้เป็นแนวทางให้ผู้ปกครองในการพิจารณาเข้ารับการบำบัดรักษาได้ชัดเจนมากขึ้นในอนาคต

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

World Health Organization & United Nations Children's Fund (‎UNICEF). Early childhood development and disability: a discussion paper. Switzerland: World Health Organization; 2012.

Bourseul JS, Brochard S, Houx L, Pons C, Bue M, Manesse I, et al. Care-related pain and discomfort in children with motor disabilities in rehabilitation centres. Ann Phys Rehabil Med. 2016;59(5-6):314-9.

Klein B, Canadian Paediatric Society, Mental Health and Developmental Disabilities Committee. Mental health problems in children with neuromotor disabilities. Paediatr Child Health. 2016; 21(2):91-6.

International Vojta Society. Vojta therapy in childhood.In:International Vojta Society, editor: Sirindhorn National Medical Rehabilitation Institute; 2013.

International Vojta Society. Vojta therapy in adulthood information for adults with movement impairments. International Vojta Society; 2015.

Khiewcham P, Vongpipatana S, Wongphaet P, Tripsook K. Effect of Vojta therapy on gait of children with cerebral palsy. J Thai Rehabil Med. 2016;7(3):91-7. (in Thai)

Lim H, Kim T. Effect of Vojta therapy on gait of children with spastic diplegia. J Phys Ther Sci. 2013;25:1605-8.

Ha SY, Sung YH. Effects of Vojta approach on diaphragm movement in children with spastic cerebral palsy. J Exerc Rehabil. 2018;14(6): 1005-9.

Srisa-ard B. Basic Research. 8 ed. Bangkok: Suweeriyasan; 2010.

Kanda T, Pidcock FS, Hayakawa K, Yamori Y, Shikata Y. Motor outcome differences between two groups of children with spastic diplegia who received different intensities of early onset physiotherapy followed for 5 years. Brain Dev. 2004;26(2):118-26.

Khan MH, Helsper J, Farid MS, Grzegorzek M. A computer vision-based system for monitoring Vojta therapy. Int J Med Inform 2018;113:85-95.