สัดส่วนงาน และปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกประกอบอาชีพและความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน ของผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีกายภาพบำบัด

Main Article Content

อาภัสนันท์ วิยะนัด
จริญญา ประทุมชาติ
ศักรินทร์ ภูผาดศรี
จณิตตา ชีพไธสง
ทิวาพร ทวีวรรณกิจ
วิไลรัตน์ นามวงศ์
สุกัลยา อมตฉายา

บทคัดย่อ

ที่มาและความสำคัญ: สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาด้านต่างๆ รวมถึงค่านิยมในปัจจุบันอาจทำให้นักกายภาพบำบัดมีแนวทางการเลือกประกอบอาชีพได้กว้างขวางมากขึ้น แต่ปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลสัดส่วนงาน ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเลือกประกอบอาชีพ และความพึงพอใจในการปฏิบัติงานครอบคลุมของผู้ที่สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีสาขากายภาพบำบัดจากมหาวิทยาลัยต่างๆ ของไทยอย่างชัดเจน


วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาสัดส่วนงาน และปัจจัยในการเลือกประกอบอาชีพ และความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของผู้ที่จบการศึกษาปริญญาตรีสาขากายภาพบำบัดจากสถาบันต่างๆ ของไทย


วิธีการวิจัย: อาสาสมัครที่สำเร็จการศึกษาสาขากายภาพบำบัดของประเทศ จำนวน 303 ราย ได้รับการสำรวจความคิดเห็นแบบภาคตัดขวางโดยใช้แบบสำรวจความคิดเห็นออนไลน์ และรายงานผลการศึกษาโดยใช้สถิติพรรณนา


ผลการวิจัย: อาสาสมัครส่วนใหญ่ทำงานในภาครัฐบาล (ร้อยละ 68) ตามด้วยภาคเอกชน (ร้อยละ 20) ศึกษาต่อ (ร้อยละ 6) รัฐวิสาหกิจ (ร้อยละ 2) และสายงานอื่นๆ (ร้อยละ 4) โดยอาสาสมัครที่ทำงานภาครัฐบาลให้ความสำคัญกับความมั่นคงในการทำงาน ความภูมิใจวิชาชีพ ความก้าวหน้าในการทำงาน และโอกาสในการพัฒนาตนเอง ส่วนอาสาสมัครในกลุ่มอาชีพอื่นๆ ให้ความสำคัญกับความสบายใจและความอิสระในการทำงาน ภาระงาน และค่าตอบแทนที่ได้รับ นอกจากนี้ ความสัมพันธ์และการยอมรับจากหัวหน้าและเพื่อนร่วมงานเป็นปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครทุกกลุ่ม


สรุปผล: การศึกษานี้ช่วยให้ได้ข้อมูลสัดส่วนงาน และปัจจัยในการเลือกประกอบอาชีพ และความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของผู้ที่จบการศึกษาสาขากายภาพบำบัดของประเทศซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์สําหรับนักเรียน นักศึกษากายภาพบําบัด ผู้ปกครอง สถาบันผู้ผลิต สภาวิชาชีพ รวมถึงผู้สนใจ ในการวางแผนชีวิต การพัฒนาหลักสูตร รวมถึงวางแผนการผลิตนักกายภาพบําบัดเพื่อการขับเคลื่อนสุขภาวะของประชาชนไทยต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Wang X, Wang Y, Huang W. World Confederation for Physical Therapy guidelines for physical therapist professional entry-level education. Chinese J Rehabilitation Med. 2012;27(10):887-98.

Physical Therapy Council. Standard criteria for the physical therapy professional curriculum 2018 [cited 2023 Dec 1]. Available from https://pt.or.th/PTCouncil/law/610729_02.pdf. (in Thai)

Department of Physical Therapy, Faculty of Associated Medical Sciences, Khon Kaen University. Physical Therapy Curriculum 2020. (in Thai)

Chaipinyo K, Luevisadpaibul S. Problem of shortage of physical therapy professionals, duty performance, guidelines for management, and reform issues 2015. [cited 2023 Dec 1]. Available from https://pt.or.th/PTCouncil/file_attach/24Mar201536-AttachFile1427182476.pdf (in Thai)

Nualnetr N. Physical therapists and primary health care services. PCFM. 2009;1:43-6. (in Thai)

Waisrisaeng J. Factors affecting students' career choice decisions Bachelor's degree level in public and private higher education institutions In Bangkok [dissertation]. Bangkok: National Institute of Development Administration; 2009. (in Thai)

Kainin S. The relationship between work motivation and occupational competencies of physical therapists. Case study: Faculty of Physical Therapy in Mahidol University. [dissertation]. Nakhon Pathom: Mahidol University; 2018. (in Thai)

Supmak A. Personnel motivation factors in choosing the occupation is a comparison group who entered service before and after the amendment of the Civil Service Act of 2551, personnel of office of the basic education, Ministry of Education. [dissertation]. Bangkok: Thammasat University; 2015. (in Thai)

Kaewsawang S, Chongsuvivatwong V, Tangtrakulwanich B. Work pattern and job satisfaction among Thai physical therapist in public and private sectors. JHSR. 2018;12:280-91.

Pongkeatchai U. Job satisfaction of physical therapist in clinics and private hospitals. [dissertation]. Bangkok: Thammasat University; 2015. (in Thai)

Jirawatkul A. Statistics for health science research. 4th ed. Bangkok: Witthayapat Publisher, 215:159-73. (in Thai)

Tanaka S, Inoue Y, Harada K, Ito H. Current situation and educational issues in physical therapy for elderly adults in Thailand. J Phys Ther Sci. 2019;34(1):155–60.

Kraiwong R, Vongsirinavarat M, Soonthorndhada K. Physical therapy workforce shortage for aging and aged societies in Thailand. J Med Assoc Thai. 2014;97(7):s101-6.