ประสิทธิผลและสัดส่วนของผู้ป่วยในโครงการการดูแลระยะกลางของแผนกกายภาพบำบัด โรงพยาบาลอำนาจเจริญ
Main Article Content
บทคัดย่อ
ที่มาและความสำคัญ: แผนกกายภาพบำบัด โรงพยาบาลอำนาจเจริญ ได้เข้าร่วมโครงการการดูแลระยะกลาง (intermediate care หรือ IMC) มาตั้งแต่ พ.ศ. 2563 แต่ไม่มีข้อมูลเชิงประจักษ์เพื่อประกอบการตัดสินใจในการพัฒนาการบริการ IMC สำหรับผู้ป่วยกลุ่มเป้าหมาย
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาสัดส่วนของผู้ป่วย ระยะเวลารักษาในโรงพยาบาล และประสิทธิผลของการให้บริการ IMC ของแผนกกายภาพบำบัด โรงพยาบาลอำนาจเจริญ
วิธีการวิจัย:การวิจัยนี้ทบทวนบันทึกข้อมูลทางการแพทย์แบบย้อนหลังในปีงบประมาณที่ผ่านมา ในด้านต่าง ๆ ได้แก่ ลักษณะและจำนวนผู้ป่วย ระยะเวลารักษาในโรงพยาบาล และคะแนนดัชนีบาร์เธลเอดีแอล ในวันแรกรับของแผนกฯ วันเริ่มต้นการรักษาในโครงการ IMC และวันสิ้นสุดการรักษาในโครงการ
ผลการวิจัย: จากข้อมูลผู้ป่วยตามเกณฑ์ทั้งหมด 87 ราย ส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (65 ราย ร้อยละ 74.7) ตามด้วยผู้ป่วยกระดูกสะโพกหัก (15 ราย ร้อยละ 17.2) ผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลัง (4 ราย ร้อยละ 4.6) และผู้ป่วยบาดเจ็บสมอง (3 ราย ร้อยละ 3.5) ผู้ป่วยทั้งหมดมีระยะเวลารักษาในโรงพยาบาลเฉลี่ยประมาณ 1–2 สัปดาห์ หลังจากครบโปรแกรม IMC ผู้ป่วยทั้งหมดมีค่าเฉลี่ยดัชนีบาร์เธลเอดีแอล เพิ่มขึ้นจาก 1.75–7.13 คะแนน เป็น13.33-17.06 คะแนน หรือมีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 7.67–12.00 คะแนน (p<0.001) ทั้งนี้มีผู้ป่วยจำนวน 18 รายซึ่งได้ผลการประเมินดัชนีบาร์เธลเอดีแอล เต็ม 20 คะแนน ก่อนการรักษาครบ 20 ครั้ง ที่ยังคงได้รับการฟื้นฟูความสามารถต่อ เนื่องจากมีศักยภาพที่จะดีขึ้นแต่คะแนนดัชนีบาร์เธลไม่สามารถสะท้อนการเปลี่ยนแปลงของผู้ป่วยกลุ่มนี้ได้
สรุปผล: ผลการวิจัยนี้ยืนยันความจำเป็นของการให้บริการแบบ IMC เนื่องจากระยะเวลาการรักษาในโรงพยาบาลสั้น โดยควรเพิ่มการประเมินที่เป็นตัวแปรและไม่มีเพดานเพื่อให้สามารถสะท้อนประสิทธิผลของการดูแลแบบ IMC ได้อย่างชัดเจน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Eskandari M, Alizadeh Bahmani AH, Mardani-Fard HA, Karimzadeh I, Omidifar N, Peymani P. Evaluation of factors that influenced the length of hospital stay using data mining techniques. BMC Med Inform Decis Mak. 2022;22(1):280.
Marfil-Garza BA, Belaunzarán-Zamudio PF, Gulias-Herrero A, Zuñiga AC, Caro-Vega Y, Kershenobich-Stalnikowitz D, et al. Risk factors associated with prolonged hospital length-of-stay: 18-year retrospective study of hospitalizations in a tertiary healthcare center in Mexico. PloS one. 2018; 13(11): e0207203.
Rotter T, Kinsman L, James EL, Machotta A, Gothe H, Willis J, et al. Clinical pathways: effects on professional practice, patient outcomes, length of stay and hospital costs. Cochrane Database Syst Rev. 2010(3): CD006632.
Health administration division. Guideline for intermediate care for medical personnel according to the health service plan. [online]. 2019:13-5. Available from: https://phdb.moph.go.th/main/index/detail/30103 [cited 30 January 2024].
Bureau of Elderly Health. Caring for the elderly of intermediate care in community guidelines. Nonthaburi: Ministry of Public Health; 2020:2-3
Namchandee A. Outcomes of intermediate rehabilitative care in sub-acute stroke patients. Buddhachinaraj Med J 2021; 38(3): 356-67.
Suwannachat P, Pansuvannajit P, Jiraporncharoen W. An intermediate care service to improve activities of daily living in patients with stroke, spinal cord injury and traumatic brain injury in Sarapee Borvorn Patthana Hospital, Chiang Mai Province. LPHJ 2021; 17(2): 78-90.
Ketsiri W. Outcomes of intermediate care service in stroke rehabilitation patients at a hospital in Ubon Ratchathani Province. Srinagarind Med J. 2022; 37(6): 610-18.
Boontem T, Niyomwan A, Kongmeaungpak J, Suksrisiriwat J. Outcomes of home visit and rehabilitation process of intermediate care on stroke patients in Mueang District Surin. MJSSBH. 2022; 37(3): 519-29.
Mariana de Aquino Miranda J, Mendes Borges V, Bazan R, José Luvizutto G, Sabrysna Morais Shinosaki J. Early mobilization in acute stroke phase: a systematic review. Top Stroke Rehabil. 2023;30(2):157-68.
Hsieh YW, Wang CH, Wu SC, Chen PC, Sheu CF, Hsieh CL. Establishing the minimal clinically important difference of the Barthel Index in stroke patients. Neurorehabil Neural Repair. 2007;21(3):233-8.
Unnanuntana A, Jarusriwanna A, Nepal S. Validity and responsiveness of Barthel index for measuring functional recovery after hemiarthroplasty for femoral neck fracture. Arch Orthop Trauma Surg. 2018;138(12):1671-7.
Amatachaya S. Clinical and research assessment and monitoring tools for patients with spinal cord injury and their psychometric properties. In Amatachaya S, (Ed). Physical therapy and spinal cord injury: an integration of research and clinical experience. Khon Kaen: Khon Kaen university printing house 2020:109-68.