การพัฒนาโปรแกรมการส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลตนเองโดยใช้ การมีส่วนร่วมของครอบครัวในหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น

Main Article Content

อ้อมใจ พลกายา

Abstract

บทคัดย่อ

      การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนารูปแบบการส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลตนเองโดยใช้การมีส่วนร่วมของครอบครัวในหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นดำเนินการวิจัยเป็น 3 ระยะดังนี้  1)  การสำรวจเพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับพฤติกรรมการดูแลตนเองและความต้องการในการส่งเสริมการดูแลสุขภาพของตนเอง ในระยะตั้งครรภ์ของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น ที่มารับบริการฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลโพธาราม จำนวน 162 คน โดยใช้แบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของตนเองในระยะตั้งครรภ์ของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น ทดสอบความเที่ยงของเครื่องมือโดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ซึ่งมีค่าเท่ากับ 0.77  2) การออกแบบโปรแกรมการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพในหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น โดยใช้การมีส่วนร่วมของครอบครัว   3) นำโปรแกรมที่ได้รับการพัฒนาและปรับปรุง ไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้การวิจัยกึ่งทดลอง แบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลอง (One group Pre-Post test design) กลุ่มตัวอย่างที่ผู้มารับบริการฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลโพธาราม จ.ราชบุรี จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลประกอบด้วย  1. แบบสอบถามความรู้ที่เกี่ยวกับการส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของตนเองในระยะตั้งครรภ์ของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น   2. แบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของตนเองในระยะตั้งครรภ์ของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น 3. แบบสอบถามการสนับสนุนของครอบครัวในการดูแลหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น ทดสอบความเที่ยงของเครื่องมือโดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคซึ่งมีค่าเท่ากับ 0.72, 0.82 และ 0.88 ตามลำดับ
การวิเคราะห์โดยข้อมูลเชิงปริมาณ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์เชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ
ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ Paired t-test ผลการวิจัยพบว่า

       ผลการวิจัยพบว่า

       1.    หญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นมีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของตนเองในระยะตั้งครรภ์อยู่ในระดับดี ( \bar{x} = 3.99, S.D.=0.41) และกลุ่มตัวอย่างมีความต้องการให้บุคลากรทางสาธารณสุข / แพทย์ / พยาบาล และครอบครัวเป็นผู้ให้ความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของตนเองในระยะตั้งครรภ์ของหญิง     2. โปรแกรมที่พัฒนาประกอบด้วย ขั้นตอน คือ 1) การประเมินการส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลตนเองโดยใช้การมีส่วนร่วมของครอบครัว (Pre-test) 2) การทบทวนบทบาทการมีส่วนร่วมของครอบครัว 3) การความรู้รายบุคคลเรื่องการดูแลตนเองในระยะตั้งครรภ์ (ไตรมาสที่ 1-3) ของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นพร้อมครอบครัว 4) การติดตามการมีส่วนร่วมของครอบครัว และ 5) การประเมินการส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลตนเองโดยใช้การมีส่วนร่วมของครอบครัว (Post-test)         3. โปรแกรมการส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลตนเองโดยใช้การมีส่วนร่วมของครอบครัวในหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองในหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) โดยหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นมีความรู้ พฤติกรรมการดูแลตนเองและการสนับสนุนของครอบครัวในการดูแลหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001

คำสำคัญ  : การส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพ; หญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น; การมีส่วนร่วมของครอบครัว

*วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช ; อีเมล์ติดต่อ : oomjai4@hotmail.com

 

Development of a Self-Care Behavior Promoting  Program with Family Participation for Pregnant Teenagers

Oomjai Pholgaya*

Abstract

         This  research and development (R&D) study was conducted to develop a Self-Care Behavior Promoting Program used Family Participation for pregnant teenagers. This study was divided into three phases including 1) a survey of the self-care behaviors and needs of 162 pregnant teenagers, selected from the ante natal clinic of Photharam hospital: Their health promoting behavior during pregnancy was assessed using a questionnaire. The reliability test using Cronbach’s alpha coefficient gave a value of 0.77; 2) Development of a Self-Care Behavior Promoting Program used Family Participation for pregnant teenagers; and 3). Quasi-experimental design: One group pre and post test was used by applying the program to 30 pregnant teenagers. Measurement tools included three questionnaires: knowledge regarding health behavior during pregnancy, health promoting behavior during pregnancy and family support for pregnant teenagers. Test of the reliability, using Cronbach’s alpha coefficient of each questionnaires, were 0.72, 0.82 and 0.88, respectively. Quantitative data were analyzed using frequency, percentages, means, SD, and paired- t tests.

       The results revealed that:

       1.    The pregnant teenagers reported that they had a good level of health promoting behavior
( = 3.99, SD = 0.41). They also requested support from health personnel and their own family to provide knowledge regarding health promoting behavior during pregnancy.        

       2. The program development included four steps: 1) assessing the health promoting behavior by the participation of families (Pre-test), 2) reviewing the role of family involvement, 3) providing individualized knowledge about care during pregnancy, 4) checking family participation, and 5) evaluating the health promoting behavior (Post-test).

       3. The Self-Care Behavior Promoting Program used Family Participation  for pregnant teenagers  helped increase scores on health promoting behaviors during pregnancy significantly (p<0.001). The post-test scores on knowledge, self-care behavior and family support in caring for pregnant teenagers were significantly higher than the pretest scores 0.001

Keywords: Health – Promoting Behavior; Pregnant teenagers; Family Participation

*Boromarajonani College of Nursing, Chakriraj ; e-mail : oomjai4@hotmail.com

Article Details

How to Cite
1.
พลกายา อ. การพัฒนาโปรแกรมการส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลตนเองโดยใช้ การมีส่วนร่วมของครอบครัวในหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น. NJPH (วารสาร พ.ส.) [Internet]. 2016 Mar. 3 [cited 2024 Mar. 29];25(3):55-67. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tnaph/article/view/47249
Section
บทความวิจัย