ผลการใช้แนวคิดการเรียนรู้ตามสภาพจริงต่อทักษะการวิเคราะห์ข้อมูล และความพึงพอใจของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 3

Main Article Content

ศุภาพิชญ์ มณีสาคร โฟน โบร์แมนน์
ศิริพร โอภาสวัตชัย
นิชดา สารถวัลย์แพศย์

Abstract

บทคัดย่อ

          นักศึกษาพยาบาลต้องเรียนรู้วิธีการวิจัยเพื่อที่จะสามารถทำวิจัยสร้างองค์ความรู้เพื่อพัฒนาวิชาชีพได้ในอนาคต แต่ส่วนใหญ่มองว่าการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติเป็นเรื่องยาก ผู้วิจัยจึงได้นำแนวคิดการเรียนรู้ตามสภาพจริงมาประยุกต์ใช้ในการสอนการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบวัดผลก่อนและหลัง (Pre-test post-test design) มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบประสิทธิผลของการสอนการวิเคราะห์ข้อมูลตามแนวคิดการเรียนรู้ตามสภาพจริงที่มีต่อทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 3 จำนวน 39 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) เอกสารการสอน 2) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป 3) แบบสอบถามทักษะการวิเคราะห์ข้อมูลตามการรับรู้ของนักศึกษา 4) แบบสังเกตทักษะการวิเคราะห์ข้อมูลตามสภาพจริงโดยอาจารย์ และ 5) แบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและ Paired t-test

          ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 87.20 อายุระหว่าง 20-21 ปี (mean = 20.44, SD = 0.50)  เกรดเฉลี่ยสะสม 2.88 (SD=0.25) ร้อยละ 97.40 ไม่เคยเรียนวิจัยมาก่อน กลุ่มตัวอย่างมีทักษะการวิเคราะห์ข้อมูลตามการรับรู้ของตนเองก่อนการเรียนอยู่ในระดับน้อย (mean = 2.05, SD= 0.84) ส่วนหลังเรียน พบว่าอยู่ในระดับปานกลาง (mean = 3.58, SD= 1.09) โดยคะแนนหลังเรียนเพิ่มขึ้นมากกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t= -8.69, df(38), p< 0.001) ส่วนคะแนนทักษะการวิเคราะห์ข้อมูลประเมินตามสภาพจริงโดยอาจารย์ พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีทักษะอยู่ในระดับน้อยที่สุดก่อนการเรียน (mean = 1.60, SD= 0.67) ส่วนหลังเรียน พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีทักษะนั้นเป็นส่วนใหญ่ (mean = 3.54, SD= 1.15) โดยมีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นมากกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t= -28.34, df(38), p< 0.001) กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจในการเรียนการสอนตามสภาพจริงอยู่ในระดับมาก (Mean = 70.38, SD=6.99, คะแนนเต็ม 100)

            สรุปว่าการสอนการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้แนวคิดการเรียนรู้ตามสภาพจริงของนักศึกษาพยาบาล เป็นการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพวิธีหนึ่งที่จะช่วยพัฒนาทักษะการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ของนักศึกษา

คำสำคัญ : การเรียนรู้ตามสภาพจริง; ทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูล; นักศึกษาพยาบา

*วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี อ.เมือง จ.นนทบุรี

1 ผู้นิพนธิ์สำหรับติดต่อ E-mail: suparpit@yahoo.com

 

Effects of Authentic Learning Style on Data Analysis Skills

and Satisfaction of 3rd year Nursing Students

Suparpit Maneesakorn von Bormann*1

Siriporn Opasawatchai*

Nichada Santwanpas*

Abstract

     Nursing students need to learn research methods to generate knowledge and to improve the nursing profession. However, the students often find data analysis difficult. Therefore, an authentic learning style was adopted in the data analysis teaching course. This quasi-experimental study was aimed to evaluate the effectiveness of an authentic learning style on data analysis skills of 39 nursing students in their 3rd year. Samples were taught to analyze data using their own data set. The research tools were composed of 1) a manual; 2) questionnaire for general information; 3) student self assessment form, 4) lecturer observation check list, and 5) satisfaction questionnaire. Data were analysed using descriptive statistics and Paired t-tests.

     The results showed that most samples were females (87.20%) aged between 20-21 years old
(mean = 20.44, SD = 0.50). Grade point average was 2.88 (SD=0.25). The majority had not learned research before (97.40%). At pre-test, samples had low levels of data analysis skills as perceived by themselves (mean = 2.05, SD= 0.84), but they perceived moderate skills at post-test (mean = 3.58, SD= 1.09). Statistically significant difference between pre-and post-test scores of data analysis skills as perceived by samples was found (t= -8.69, df(38), p< 0.001).  At pre-test, samples had low levels of data analysis skills as assessed by lecturers (mean = 1.60, SD= 0.67), but at post-test the scores were higher (mean = 3.54, SD= 1.15). A statistically significant difference between pre-and post-test scores of data analysis skills assessed by lecturers was found (t= -28.34, df(38), p< 0.001). Most samples had a high level of satisfaction (Mean = 70.38, SD=6.99)

     In conclusion, authentic teaching on data analysis skills is effective and can enhance data analysis skills of nursing students.

Key words : authentic learning; data analysis skills; nursing student

1Boromarajonani College of Nursing Changwat Nonthaburi

*Corresponding author’s email: suparpit@yahoo.com

Article Details

How to Cite
1.
มณีสาคร โฟน โบร์แมนน์ ศ, โอภาสวัตชัย ศ, สารถวัลย์แพศย์ น. ผลการใช้แนวคิดการเรียนรู้ตามสภาพจริงต่อทักษะการวิเคราะห์ข้อมูล และความพึงพอใจของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 3. NJPH (วารสาร พ.ส.) [Internet]. 2016 Mar. 3 [cited 2024 Apr. 25];25(3):93-107. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tnaph/article/view/47259
Section
บทความวิจัย