ผลการจัดการเรียนการสอนแบบสัมมนาต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องการรักษาโรคเบื้องต้นกลุ่มอาการหายใจเหนื่อยหอบของผู้อบรมหลักสูตร การพยาบาลเฉพาะทางสาขาเวชปฏิบัติทั่วไป (การรักษาโรคเบื้องต้น)

Main Article Content

ทรงฤทธิ์ ทองมีขวัญ
ทิพย์สุคนธ์ กิจรุ่งโรจน์
พรรณี ฉุ้นประดับ

Abstract

บทคัดย่อ

      การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-experimental Research) แบบกลุ่มเดียวสอบก่อนเรียนและหลังเรียน (The One Group Pretest-Posttest Only Design) เพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนการสอนแบบสัมมนาต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องการรักษาโรคเบื้องต้นกลุ่มอาการหายใจเหนื่อยหอบ ของผู้อบรมหลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทางสาขาเวชปฏิบัติทั่วไป (การรักษาโรคเบื้องต้น) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ เป็นผู้อบรมหลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทางสาขาเวชปฏิบัติทั่วไป (การรักษาโรคเบื้องต้น) รุ่นที่ 11 จำนวน 49 คน ซึ่งได้จากวิธีการสุ่มอย่างง่าย โดยใช้รุ่นเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ แผนการจัดการเรียนการสอนเรื่องการรักษาโรคเบื้องต้นกลุ่มอาการหายใจเหนื่อยหอบ หาค่าดัชนีความสอดคล้อง เท่ากับ .75 และ 2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง การรักษาโรคเบื้องต้นกลุ่มอาการหายใจเหนื่อยหอบ แบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ หาค่าความเชื่อมั่น โดยใช้สูตร KR-20 เท่ากับ .74 และแบบสอบถามความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่าง หาค่าความเชื่อมั่น ได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ .95 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหา ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และหาค่าที ผลการวิจัยพบว่า

      1)  เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนพบว่า คะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน (\bar{x} =10.31, SD = 1.96) สูงกว่าคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน ( \tilde{x}=7.91, SD = 2.36) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 

      2) ระดับความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนการสอนแบบสัมมนาโดยรวม อยู่ในระดับมาก (\bar{x} = 4.31, SD = 0.46) พิจารณารายด้านพบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมาก โดยด้านประโยชน์ที่ได้รับมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด (\bar{x} = 4.39, SD = 0.51) รองลงมาคือ ด้านบรรยากาศการเรียนการสอน ( \bar{x}= 4.29, SD = 0.54) และด้านกิจกรรมการสอน (\bar{x} = 4.25, SD = 0.53)

      สรุปได้ว่าการจัดการเรียนการสอนแบบสัมมนา เป็นวิธีการสอนที่ช่วยให้เกิดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนได้ดีขึ้น ทั้งในระดับรู้-จำ เข้าใจ และการนำไปใช้ มีกิจกรรมการสอนน่าสนใจ ไม่น่าเบื่อ สนุกสนาน และนำไปใช้ประโยชน์ได้

คำสำคัญ  :    การจัดการเรียนการสอนแบบสัมมนา; ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน; หลักสูตรการพยาบาล
                    เฉพาะทางสาขาเวชปฏิบัติทั่วไป (การรักษาโรคเบื้องต้น)

* วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา ; อีเมล์ติดต่อ : trongrit2514@gmail.com


The Effect of Seminar Teaching method on Learning Achievement of

Participants of the Nursing Specialty in Nurse Practitioner (Primary

Medical Care) Program for the Topic of the Primary Medical Care of

Patients with Dyspnea Syndrome

Trongrit  Thongmeekhaun*

Tipsukon  Kitrungroj*

Pannee  Chunpradub*

Abstract

         This quasi-experimental research (One Group Pretest-Posttest Only Design) aimed to study the effects of seminar teaching on the learning achievement of participants of the nursing specialty in nurse practitioner (primary medical care) program for the topic of the primary medical care of patients with dyspnea syndrome. Forty-nine participants of Batch 11 of the nurse practitioner program were recruited by a simple random sampling technique. The instruments consisted of 1) an experimental tool consisting of the lesson plan in the primary medical care on dyspnea topic with index of item objective congruence of 0.75 and 2) the data collection instruments including a test of the learning achievement in the primary medical care with dyspnea topic which comprised  4 multiple choices for 20 items yielded KR-20 values of  0.74 and a questionnaire asking about the participants’ opinions which obtained a Cronbach alpha coefficient of  0.95.  The data were analyzed using mean, standard deviation and paired t-test.   

      The results revealed that: 1) the mean score of learning achievement after using the seminar teaching method (\bar{x} =10.31, SD = 1.96) was higher than before teaching (\bar{x} =7.91, SD = 2.36) at a statistical level of 0.01 and 2) the overall mean score of the participants ’opinions toward the seminar teaching was at a high level ( \bar{x}= 4.31, SD = 0.46). When considering each part, it was shown that all parts of the opinions in the seminar teaching method was at a high level, with the highest score for gaining the benefit ( \bar{x}= 4.39, SD = 0.51), followed by the learning-teaching climate ( = 4.29, SD = 0.54).

      The study concluded that the seminar teaching is a teaching method which enables better learning achievement in knowledge, comprehension, and application. Its activities are useful and interesting.

Keywords  :   Seminar Teaching; Learning Achievement; Program of Nursing Specialty in Nurse Practitioner (Primary Medical Care)

* Boromarajonani College of Nursing, Songkhla ; e-mail : trongrit2514@gmail.com

Article Details

How to Cite
1.
ทองมีขวัญ ท, กิจรุ่งโรจน์ ท, ฉุ้นประดับ พ. ผลการจัดการเรียนการสอนแบบสัมมนาต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องการรักษาโรคเบื้องต้นกลุ่มอาการหายใจเหนื่อยหอบของผู้อบรมหลักสูตร การพยาบาลเฉพาะทางสาขาเวชปฏิบัติทั่วไป (การรักษาโรคเบื้องต้น). NJPH (วารสาร พ.ส.) [Internet]. 2016 Mar. 3 [cited 2024 Apr. 24];25(3):132-43. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tnaph/article/view/47278
Section
บทความวิจัย