การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้สูงอายุกระดูกสะโพกหักที่ได้รับการผ่าตัดผ่านช่องทางด่วน โรงพยาบาลแพร่

Main Article Content

พรธิดา ชื่นบาน
ธนาวรรณ แสนปัญญา
ทิพากร กระเสาร์

บทคัดย่อ

การศึกษาเปรียบเทียบความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรของนักเรียนมัธยมปลายระหว่างนักเรียนชนเผ่าและนักเรียนพื้นราบ เป็นการศึกษาแบบผสมผสาน โดยวิธีการรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรของนักเรียนมัธยมปลาย จำนวน 2 กลุ่มๆละ 108 คน รวม 216 คน และข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 16 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษา พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีอายุเฉลี่ย 17 ปี ระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร ทั้งในภาพรวม นักเรียนชนเผ่าและนักเรียนพื้นราบ อยู่ในระดับปานกลาง มีคะแนนเฉลี่ย 113.15 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 16.00 โดยคะแนนด้านการเข้าถึงข้อมูลและบริการสุขภาพ การสื่อสารเพิ่มความเชี่ยวชาญทางสุขภาพ การจัดการเงื่อนไขทางสุขภาพตนเอง และการรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศ อยู่ในระดับปานกลาง ด้านความรู้ ความเข้าใจทางสุขภาพอยู่ระดับน้อย และด้านการตัดสินใจเลือกปฏิบัติที่ถูกต้องอยู่ระดับดีมาก ส่วนของการเปรียบเทียบความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรของนักเรียนชนเผ่าและนักเรียนพื้นราบ มีความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร คะแนนเฉลี่ย 107.03 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 14.04 และ 119.27 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 15.54 เปรียบเทียบด้วยสถิติ independent t-test พบว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ .05 เกือบทุกด้าน ยกเว้นด้านที่ 6 การตัดสินใจและเลือกปฏิบัติที่ถูกต้องเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร ไม่แตกต่างกัน

Article Details

How to Cite
1.
ชื่นบาน พ, แสนปัญญา ธ, กระเสาร์ ท. การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้สูงอายุกระดูกสะโพกหักที่ได้รับการผ่าตัดผ่านช่องทางด่วน โรงพยาบาลแพร่. NJPH (วารสาร พ.ส.) [อินเทอร์เน็ต]. 30 ธันวาคม 2021 [อ้างถึง 9 เมษายน 2025];31(2):70-84. available at: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tnaph/article/view/255641
บท
บทความวิจัย

References

1. Lausawatchaikul P, Chatriyanuyok B. Outcomes of using evidence-based clinical nursing practice guideline for patients with hip arthroplasty: a retrospective comparative study. Rama Nurs J 2011;17(1):20-35.(in Thai)

2. Rojanasthien S, Luevitoonvechkij S. Epidemiology of hip fracture in Chiang Mai. J Med Assoc Thai 2005; 88(5):105-09.(in Thai).

3. Kanis JA, Oden A, McCloskey EV, Johansson H, Wahl DA, Cooper C. IOF working group on epidemiology and quality of life. a systematic review of hip fracture incidence and probability of fracture worldwide. Osteoporosis International 2012;23(9):2239–56.

4. Khanthanon A. Nursing care of elderly’s fracture neck of femur with chronic disease: case study. Region 11 Medical Journal 2013;7(2):271-80.(in Thai).

5. Liuponwanich P, Pakpienpairot C, Leechawengwong S. An integration approach in prevention and treating refractures from osteoporosis. Journal of the Department of Medical Services 2015;40(4):16-9.(in Thai).

6. Phrae Hospital : Medical records & statistic. Phrae, Phrae Hospital;2021.(in Thai).

7. Dehbozorgi A, Khan M, Rahmani MJH. Delayed hospital discharges; could pressure sore incidents in fractured neck of femurs patients and elevated nutritional needs be a contributing factor?. Global Journal of Medical Research 2016;16(4):1-4.

8. Poh KS, Lingaraj K. Complications and their risk factors following hip fracture surgery. J Orthop Surg (Hong Kong) 2013;21(2):154–57.

9. Mamom J. Nursing care of orthopedic patients. Bangkok: Thammasat University Press;2019.(in Thai)

10. Patient Care Team of Phrae Hospital. Annual work report,2020.(in Thai).

11. National Health and Medical Research Council. How to put the evidence into practice:Implementation and dissemination strategies [internet].2000 [cited 2021 July 12]. Available: http://www.nhmrc.gov.au/PUBLICATIONS/synopses/_files/cp71.pdf.html

12. American Society of Anesthesiologists. ASA physical status classification system [internet].2014 [cited 2021 July 12]. Available: https://www.asahq.org/standards-and-guidelines/asa-physical-status-classification-system.

13. Roobsoong A, Permyao J, Chantiratikul S. Clinical outcomes of peritrochanteric hip fracture in the intermediate postoperative care project between the regional and district hospitals in Chiang Rai Province: preliminary comparative results. Journal of Health Systems Research 2020;14(1):88-100.(in Thai).

14. Kawpradit A. Development of urgent surgery system for fractures around the hip in Rayong Hospital. Rayong Hospital Medical Journal 2020;19(36):33-9.

15. Flikweert ER, Izaks GJ, Knobben BA, Stevens M, Wendt K. The development of a comprehensive multidisciplinary care pathway for patients with a hip fracture: design and results of a clinical trial. BMC Musculoskeletal Disorders 2014;15:188.