การพยาบาลผู้ป่วยสูงอายุที่มีภาวะสับสนเฉียบพลันหลังผ่าตัด
Keywords:
ผู้สูงอายุ, ภาวะสับสนเฉียบพลัน, ภาวะสับสนเฉียบพลันหลังผ่าตัด, elderly, delirium, postoperative deliriumAbstract
ภาวะสับสนเฉียบพลันเป็นภาวะแทรกซ้อน ซึ่งเป็นสาเหตุการตาย และภาวะทุพพลภาพ โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลจากอาการเจ็บป่วยทั่วไป และจะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นในผู้สูงอายุที่ได้รับการผ่าตัด โดยพยาธิสรีรวิทยาของภาวะสับสนเฉียบพลันยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด เมื่อผู้ป่วยสูงอายุเกิดภาวะสับสนเฉียบพลันแล้วทำให้เกิดผลกระทบทั้งในระยะสั้น และระยะยาว ระยะสั้น เช่น เพิ่มอัตราตายภายหลังการผ่าตัดความสามารถในการช่วยเหลือตนเองลดลง มีระยะเวลาในการนอนโรงพยาบาลเพิ่มขึ้น ระยะยาว เช่น มีภาวะสมองเสื่อม มีการเปลี่ยนแปลงของสมาธิ ไม่รู้วัน เวลา สถานที่ และบุคคล เพิ่มระดับความเครียดให้กับผู้ดูแล มีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น มีร่องรอยความพิการหลงเหลือ ต้องทำกายภาพบำบัด หรือต้องได้รับการดูแลพิเศษต่อที่บ้านภายหลังจำหน่ายซึ่งพยาบาลมีบทบาทสำคัญในการดูแล และป้องกันการเกิดภาวะสับสนเฉียบพลันในผู้ป่วยสูงอายุหลังผ่าตัด บทความนี้จะนำเสนอแนวทางในการดูแลผู้ป่วยสูงอายุที่มีภาวะสับสนเฉียบพลันหลังผ่าตัด ครอบคลุมการประเมิน การป้องกัน และการดูแลผู้ป่วยสูงอายุที่มีภาวะสับสนเฉียบพลันหลังผ่าตัด
Nursing care for the elderly with postoperative delirium
Postoperative deliriumis the most common complication in elderly patients that results in a high morbidity and mortality rate. Postoperative delirium affects both short- and long-term care; decreases activity in daily life, longer hospital stay, dementia, cognitive impairment, stress for caregivers and special care after discharge. The pathology-physiology of delirium is unidentified as relates to predisposing and precipitating factors. Nursing intervention is important for the elderly with postoperative deliriumas it requires special nursing care and differs from postoperative care in adults. This article presents guidelines for nursing care for the elderly with postoperative delirium in terms of evaluation, prevention and nursing intervention.
Downloads
Issue
Section
License
เนื้อหาบทความหรือข้อคิดเห็นต่างๆ ในวารสารพยาบาลสภากาชาดไทยนี้ เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนบทความ ไม่ใช่ความเห็นของกองบรรณาธิการ หรือสถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย