พฤติกรรมการเกาะติดยาของกลุ่มผู้ใช้บริการโรคเรื้อรัง
Keywords:
พฤติกรรมการเกาะติดยา, โรคเรื้อรัง, การใช้ยาต่อเนื่อง, medication adherence, chronic illnessAbstract
พฤติกรรมการเกาะติดยา เป็นพฤติกรรมที่สำคัญในการบ่งชี้ถึงประสิทธิภาพการดูแลต่อเนื่องในผู้ใช้บริการโรคเรื้อรัง พฤติกรรมการเกาะติดยานับเป็นหนึ่งในพฤติกรรมสุขภาพที่อาจเบี่ยงเบน ผู้ใช้บริการอาจมีการหยุดยาเองด้วยเหตุผลหรือปัจจัยหลายประการ จึงได้มีการนำเอาแนวคิดทฤษฏีที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมสุขภาพ เช่น ทฤษฏีแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ และแนวคิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม มาเป็นฐานในการเชื่อมโยงทฤษฏีเข้าสู่การปฏิบัติในการปรับพฤติกรรมดังกล่าว ดังนั้นบทบาทของบุคลากรทีมสุขภาพจึงต้องมีการประเมิน วางแผน และหาแนวทางในการปรับพฤติกรรม หากพบว่าผู้ป่วยโรคเรื้อรังรายใดมีแนวโน้มในการไม่เกาะติดยา ความร่วมมือระหว่างผู้ป่วย ผู้ดูแล ครอบครัว และบุคลากรทีมสุขภาพ อันประกอบไปด้วย แพทย์ พยาบาล เภสัชกร นักกายภาพบำบัด ล้วนมีส่วนช่วยส่งเสริมให้เกิดพฤติกรรมการเกาะติดยาได้อย่างต่อเนื่อง บุคลากรทีมสุขภาพอาจให้ความรู้เกี่ยวกับยาและสร้างทัศนคติที่ดีต่อยาที่ได้รับก่อนที่จะเริ่มให้ผู้ใช้บริการได้รับยา การวางแผนการรักษาโดยให้ผู้ใช้บริการมีส่วนร่วมในการวางแผนการจัดการอาการ ปรับพฤติกรรมการรับประทานยา และการสนับสนุนดูแลจากครอบครัว อาจรวมถึงนวัตกรรมในการส่งเสริมพฤติกรรมการรับประทานยา อาจช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการรับประทานยาของผู้ใช้บริการได้
Medication adherence in clients with chronic illness
Medication adherence is a vital health behavior which may indicate the effectiveness of continuing care in clients with chronic illness. Medication adherence is one of the health behaviors that cannot remain throughout the chronic phase of single or complex diseases. The clients may choose to discontinue their medication at anytime through their own decision making or reasoning. Concepts and theories related to health behavior, i.e. the health belief model, the transtheoretical model would have applied theoretical content to nursing intervention. The healthcare team including physicians, nurses, pharmacists, and physical therapists are also reinforced with medication adherence behavior lengthened. The healthcare team can provide health information and promote a positive attitude toward medication use. Clients and caregivers should participate in treatment planning, symptom management plan, and medication use behavior. In addition, the innovation of medication management would increase the effectiveness of medication use.
Downloads
Issue
Section
License
เนื้อหาบทความหรือข้อคิดเห็นต่างๆ ในวารสารพยาบาลสภากาชาดไทยนี้ เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนบทความ ไม่ใช่ความเห็นของกองบรรณาธิการ หรือสถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย