ผลของโปรแกรมการสร้างอารมณ์ขันต่อภาวะสุขภาพจิตผู้สูงอายุ

Authors

  • อัจฉรา พุ่มดวง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาการพยาบาลพื้นฐานและบริหารการพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทย
  • ปราณี อัศวรัตน์ อาจารย์ ภาควิชาการพยาบาลพื้นฐานและบริหารการพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทย
  • ชมพูนุท พงษ์ศิริ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาการพยาบาลพื้นฐานและบริหารการพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทย
  • ธิดารัตน์ พานชูวงศ์ อาจารย์ ภาควิชาการพยาบาลพื้นฐานและบริหารการพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทย

Keywords:

อารมณ์ขัน, สุขภาพจิต, ผู้สูงอายุ, humor, mental health, elderly

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการสร้างอารมณ์ขันต่อภาวะสุขภาพจิตในผู้สูงอายุ โดยศึกษาในผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในชุมชนวัดม่วงแคฮารุณ เขตสี่พระยา กทม. จำนวน 26 คน ซึ่งสมัครใจและยินดีให้ความร่วมมือในการวิจัยระหว่างเดือนพฤษภาคม – มิถุนายน 2551 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย สื่ออารมณ์ขันในรูปของ วีซีดีมุขตลกที่สุภาพ ความยาว 10-15 นาทีต่อเรื่อง จำนวน 8 เรื่อง ซึ่งผ่านการตรวจสอบความเที่ยงตรงด้านเนื้อหาจากอาจารย์พยาบาลผู้เชี่ยวชาญด้านผู้สูงอายุ จำนวน 4 คน พร้อมกับการมีกิจกรรมกลุ่ม ร้องเพลงร่วมสมัยและเล่าเรื่องขำขัน นอกจากนั้นมีแบบประเมินสุขภาพจิตผู้สูงอายุ ซึ่งคณะผู้วิจัยได้ดัดแปลงมาจากแบบสำรวจสุขภาพทั่วไปของ รณชัย คงสกนธ์ และชัชวาล ศิลปกิจ  โดยเลือกใช้ในส่วนการประเมินภาวะสุขภาพจิต จำนวน 9 ข้อ และผู้วิจัยได้ปรับปรุงแบบประเมินให้ครอบคลุมภาวะสุขภาพจิตผู้สูงอายุ อีก 3 ข้อ รวมเป็น 12 ข้อ ซึ่งได้ผ่านเกณฑ์การตรวจสอบหาความเที่ยงด้วยสูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ได้ค่าความสอดคล้องภายในเท่ากับ .86 ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานใช้ค่าจำนวนและร้อยละ การเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของคะแนน ภาวะสุขภาพจิตก่อนและหลังได้รับโปรแกรมการสร้างอารมณ์ขัน ใช้สถิติ  Paired samples t-test ผลการวิจัยพบว่า

ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของคะแนนภาวะสุขภาพจิตของกลุ่มตัวอย่างก่อนและหลังได้รับโปรแกรมการสร้างอารมณ์ขัน  พบว่าค่าเฉลี่ยคะแนนภาวะสุขภาพจิตของกลุ่มตัวอย่างภายหลังเข้าร่วมโปรแกรมการสร้างอารมณ์ขันสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001)

 

The effect of the humor construction program to mental health among elderly

The purpose of this quasi-experimental research was to study the effect of a humor construction program on mental health status in the elderly. The participants were twenty-six subjects who lived in Bangkok and participated from May to June 2008. The research instruments comprised: a) 8 different humor VCDs10-15 minutes long and activity groups (singing Thai classical songs and humorous speech); b)  mental  health in  the elderly questionnaire developed from a general health survey of Ware, J.E. Sherbourne, C.(1992) and translated  by Kongsakon & Silpakit (2000). The reliability of nine items on the mental health questionnaire was .86. The data was analyzed by descriptive statistics and paired samples t-test.  The results showed that the compared mean difference of mental health score increased (p < .001) at a statistical significance after the intervention of a humor construction program.


Downloads

Issue

Section

บทความวิจัย (Research Report)