การศึกษาบทบาทพยาบาลพี่เลี้ยงตามการรับรู้ของพยาบาล ประจำการใหม่ในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

Authors

  • สรัญญา (คาถาพร) ขำพิศ พยาบาลประจำการ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

Keywords:

พยาบาลพี่เลี้ยง, พยาบาลประจำการใหม่, บทบาทพยาบาลพี่เลี้ยง, preceptors, new registered nurses, preceptorship roles

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทพยาบาลพี่เลี้ยงตามการรับรู้ของพยาบาลประจำการใหม่ในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ กลุ่มตัวอย่างคือพยาบาลประจำการใหม่ของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ประจำปี 2551 จำนวน 101 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามความคิดเห็นของพยาบาลประจำการใหม่ที่มีต่อบทบาทของพยาบาลพี่เลี้ยงแบ่งเป็นรายด้าน 6 บทบาท คือบทบาทตัวแบบ บทบาทผู้สอนและผู้นิเทศ บทบาทผู้ให้ความสะดวกในการเรียนรู้ บทบาทผู้ปฐมนิเทศ บทบาทที่ปรึกษาและเพื่อน และบทบาทผู้ประเมิน โดยแบบสอบถามนี้มีค่าความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ 0.84 ค่าความเที่ยง Cronbach’s alpha coefficient เท่ากับ 0.97

ผลการวิจัยพบว่า พยาบาลประจำการใหม่มีการรับรู้ว่าพยาบาลพี่เลี้ยงสามารถแสดงบทบาท       พี่เลี้ยงอยู่ในระดับดีในทุกบทบาทโดยรวม (\dpi{80} \bar{X}=4.09, SD=0.63) และเมื่อพิจารณารายด้านพบว่าพยาบาลประจำการใหม่มีการรับรู้ว่าพยาบาลพี่เลี้ยงสามารถแสดงบทบาทพี่เลี้ยงในแต่ละบทบาทอยู่ในระดับดีในทุกบทบาท โดยบทบาทตัวแบบมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด (\dpi{80} \bar{X}=4.21, SD=0.63) รองลงมาคือบทบาทผู้ปฐมนิเทศ (\dpi{80} \bar{X}=4.16, SD=0.62), บทบาทที่ปรึกษาและเพื่อน (\dpi{80} \bar{X}= 4.09, SD=0.70) บทบาทผู้ประเมิน (\dpi{80} \bar{X}= 4.06, SD=0.70) บทบาทผู้สอนและผู้นิเทศ (\dpi{80} \bar{X}=4.05, SD=0.63), สำหรับบทบาทผู้ให้ความสะดวกในการเรียนรู้มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับดีแต่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด (v=3.92, SD=0.70)

 

Registered nurses’ preceptorship roles as perceived by new registered nurses, King Chulalongkorn Memorial Hospital

The objective of this research was to study the perception of new registered nurses on the roles of their preceptors in King Chulalongkorn Memorial Hospital.

The sample comprised of one hundred and one new registered nurses who started their work at King Chulalongkorn Memorial Hospital in 2008. The instruments were questionnaires for evaluating perception separated into 6 preceptorship roles (role of model, role of educator, role of learning supporter, role of supervisor, role of counselor and role of evaluator). The validity were evaluated by experts with a content validity index of 0.84 and Cronbach’s alpha coefficient of 0.97. Data were analyzed in terms of frequency, percentage, mean and standard deviation.

The results revealed that new registered nurses perceived that their preceptors performed good preceptorship roles (\dpi{80} \bar{X}=4.09, SD=0.63) overall. The mean score of each preceptor role from the highest to lowest were as follows: role of model (\dpi{80} \bar{X}=4.21, SD=0.63), role of supervisor (\dpi{80} \bar{X}=4.16, SD=0.62), role of counselor (\dpi{80} \bar{X}= 4.09, SD=0.70), role of evaluator (\dpi{80} \bar{X}= 4.06, SD=0.70), role of educator (\dpi{80} \bar{X}=4.05, SD=0.63) and role of learning supporter (\dpi{80} \bar{X}=3.92, SD=0.70) 


Downloads

Issue

Section

บทความวิจัย (Research Report)