บทบาทพยาบาลในการส่งเสริมการฟื้นตัวด้านการทำหน้าที่ของลำไส้ ภายหลังผ่าตัด
Keywords:
การฟื้นตัวด้านการทำหน้าที่ของลำไส้หลังผ่าตัด, บทบาทพยาบาล, Postoperative bowel function recovery, nurses’ roleAbstract
ภาวะลำไส้หยุดทำหน้าที่หลังผ่าตัด (Postoperative ileus) เป็นภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดที่พบบ่อยและไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ โดยเฉพาะภายหลังผ่าตัดในระบบทางเดินอาหาร เช่น การผ่าตัดเปิดช่องท้อง ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ใช้บริการมีความไม่สุขสบายอย่างมากจากอาการปวดแผลผ่าตัดที่เพิ่มขึ้น ร่วมกับอาการในระบบทางเดินอาหารอื่นๆ เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ท้องอืด ไม่ผายลม ไม่ถ่ายอุจจาระ และอาจนำไปสู่การเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดอื่นๆ ได้ เช่น เกิดภาวะปอดอักเสบจากการสำลักน้ำย่อยเข้าปอด ดังนั้นพยาบาลซึ่งเป็นผู้ดูแลผู้ใช้บริการอย่างใกล้ชิดจึงมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมการฟื้นตัวด้านการทำหน้าที่ของลำไส้ให้กลับมาทำหน้าที่โดยเร็วภายหลังผ่าตัด เพื่อช่วยลดความทุกข์ทรมานจากภาวะลำไส้หยุดทำหน้าที่หลังผ่าตัด และป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น ทั้งนี้พยาบาลควรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระยะของการฟื้นตัวด้านการทำหน้าที่ของลำไส้ กลไกควบคุมการทำหน้าที่ของลำไส้ และปัจจัยที่มีผลต่อการฟื้นตัวด้านการทำหน้าที่ของลำไส้ เพื่อให้สามารถให้การดูแลผู้ใช้บริการกลุ่มนี้ได้อย่างเหมาะสมต่อไป
Role of nurses in promoting postoperative bowel function recovery
Postoperative ileus is a common and inevitable complication after surgery, specifically, after gastrointestinal (GI) surgeries such as exploratory laparotomy. It can induce discomfort as a result of increasing abdominal wound pain and GI symptoms including nausea, vomiting, abdominal distention, no flatus, and no defecation. Postoperative ileus may also lead to other postoperative complications such as aspirated pneumonia. Therefore, nurses who take care of patients have an important role in promoting early postoperative bowel recovery to decrease patients’ suffering from postoperative ileus and preventing further complications. Nurses should have knowledge regarding states of bowel recovery, bowel function control mechanism, and factors contributing to bowel function recovery in order to provide appropriate care for this group of clients.
Downloads
Issue
Section
License
เนื้อหาบทความหรือข้อคิดเห็นต่างๆ ในวารสารพยาบาลสภากาชาดไทยนี้ เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนบทความ ไม่ใช่ความเห็นของกองบรรณาธิการ หรือสถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย