การดูแลและเฝ้าระวังการเกิดภาวะเลือดออกในสมองภายหลังได้รับยาละลายลิ่มเลือด (rt-PA) ในผู้ป่วยโรคสมองขาดเลือดเฉียบพลัน

Authors

  • นันทิยา แสงทรงฤทธิ์ นักศึกษาพยาบาล หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Keywords:

ผู้ป่วยโรคสมองขาดเลือดเฉียบพลัน, เลือดออกในสมองหลังได้รับยาละลายลิ่มเลือด rt-PA, ischemic stroke patient, intracerebral hemorrhage post rt-PA

Abstract

โรคหลอดเลือดสมองเป็นสาเหตุการตายที่สำคัญ และยังเป็นสาเหตุของความพิการอย่างถาวร ที่ส่งผลกระทบต่อผู้ป่วย ครอบครัว และสังคม ทั้งยังส่งผลกระทบต่อระบบสาธารณสุขของประเทศด้วย การรักษาผู้ป่วยโรคสมองขาดเลือดเฉียบพลัน มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในปัจจุบันมีการใช้ยาละลายลิ่มเลือด (thrombolytic) ได้แก่ recombinant tissue plasminogen activator (rt-PA) ในผู้ป่วยที่มีอาการของภาวะสมองขาดเลือดภายใน 3-4.5 ชั่วโมงนับตั้งแต่เกิดอาการ เพื่อแก้ไขภาวะอุดตันของหลอดเลือดให้เลือดไหลกลับมาเลี้ยงสมองได้ทันเวลา  เนื้อสมองสูญเสียจากการขาดเลือดน้อยที่สุด และผู้ป่วยสามารถฟื้นกลับสู่ภาวะปกติให้มากที่สุด อย่างไรก็ตามภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยโรคสมองขาดเลือดเฉียบพลัน ที่ได้รับการรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือด rt-PA คือ การเกิดภาวะเลือดออกในสมอง สามารถพบได้ถึงร้อยละ 5.8-8.7 ซึ่งภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นนี้เป็นปัญหาสำคัญที่ทำให้อาการของผู้ป่วยมากขึ้น การฟื้นหายจากโรคหลอดเลือดสมองยาวนานขึ้น เพิ่มค่าใช้จ่ายในการรักษา และจำนวนวันนอนโรงพยาบาล อีกทั้งทำให้อัตราตายของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเพิ่มสูงขึ้นถึงร้อยละ 28-65 ดังนั้น การดูแลและเฝ้าระวังการเกิดภาวะเลือดออกในสมองหลังได้รับยาละลายลิ่มเลือด rt-PA จึงเป็นบทบาทสำคัญที่พยาบาลควรตระหนัก เพื่อป้องกันความรุนแรงที่จะเกิดขึ้นต่อชีวิตของผู้ป่วย

 

Caring and monitoring intracerebral hemorrhage after received thrombolysis (rt-PA) drug in acute ischemic stroke patients

A stroke is a major cause of death and disability and a major burden on patients and their families as well as affecting the national healthcare system. Treatment of acute ischemic stroke patients has been developed continuously. Currently, the recombinant tissue plasminogen activator (rt-PA) has been administered in ischemic stroke patients within the first 3-4.5 hours of stroke onset. To promote thrombolysis, rapid recanalization by rt-PA increases cerebral blood flow, reduces the loss of brain function and recovery to as normal as possible. However, one major complication of rt-PA is cerebral hemorrhage in 5.8-8.7% of all cases. This effectively prolongs the recovery rate from a stroke, increases treatment cost and increases the length of a hospital stay as well as raise the mortality rate up to 28-65%. Consequently, nursing care formajor rt-PA complications needs to be emphasized. 


Downloads

Issue

Section

บทความวิชาการ (Academic Articles)