ผลของวิธีสอนแบบอภิปรายกลุ่มย่อยต่อการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเอง ความพึงพอใจต่อการเรียนการสอนวิชาการพยาบาลเด็กของนักศึกษาวิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทย

Authors

  • จุไร อภัยจิรรัตน์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
  • ทัศนีย์ อรรถารส ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาการพยาบาลเด็กและการผดุงครรภ์ วิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทย

Keywords:

การคิดอย่างมีวิจารณญาณ, ความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเอง, การเรียนการสอน, อภิปรายกลุ่มย่อย, นักศึกษาพยาบาล, critical thinking, self-directed learning, teaching and learning, small group discussion, nursing students

Abstract

การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักศึกษาพยาบาลก่อนและหลังการสอนแบบอภิปรายกลุ่มย่อย ความพึงพอใจต่อการเรียนการสอนของนักศึกษาพยาบาลหลังการสอนแบบอภิปรายกลุ่มย่อย กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 2 ที่กำลังศึกษาวิชาการพยาบาลเด็ก วิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทย จำนวน 44 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแผนการสอนด้วยวิธีการอภิปรายกลุ่มย่อย แบบวัดทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ  ค่าความเชื่อมั่นโดยวิธีคูเดอร์ ริชาร์ดสัน เท่ากับ .48 แบบประเมินความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเอง ค่าความเชื่อมั่นโดยวิธีสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค เท่ากับ .91 แบบประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการเรียนการสอน ค่าความเชื่อมั่นโดยวิธีสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค เท่ากับ .94 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา สถิติทดสอบค่าทีที่ไม่เป็นอิสระต่อกัน

ผลการวิจัยพบว่าค่าเฉลี่ยคะแนนการคิดอย่างมีวิจารณญาณก่อนและหลังการสอนไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ค่าเฉลี่ยคะแนนความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเองภายหลังการสอนแบบอภิปรายกลุ่มย่อยสูงกว่าก่อนการสอนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ค่าเฉลี่ยคะแนนความพึงพอใจต่อการเรียนการสอนอยู่ในระดับมาก

ข้อเสนอแนะ ควรใช้วิธีสอนแบบอภิปรายกลุ่มย่อยในการพัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง สำหรับสอนนักศึกษาพยาบาล และควรศึกษาซ้ำในกลุ่มตัวอย่างมากขึ้นและเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มตัวอย่างที่ได้รับการสอนและไม่ได้รับการสอนด้วยวิธีอภิปรายกลุ่มย่อย

 

Effect of small group discussion on critical thinking, self-directed learning, satisfaction on the learning of nursing students of The Thai Red Cross College of Nursing

The purpose of this quasi-experimental research was to compare the critical thinking and self-directed learning of nursing students before and after the implementation of the small group discussions method of teaching. Nursing students’ satisfaction with the teaching and learning method involving small group discussion was also investigated. Forty-four subjects who were second-year nursing students and who attended the pediatric nursing course of the Thai Red Cross College of Nursing were selected by means of simple random sampling. The research instruments consisted of small group discussion, lesson plans, the Critical Thinking Scale with a KR20 of .48, the Self-Directed Learning Scale with Cronbach’s alpha of .91, and satisfaction with teaching and learning questionnaire with Cronbach’s alpha of .94. Data were analyzed using descriptive statistics and paired t-tests. Results reveal that the mean scores of critical thinking before and after the participation were not statistically significant. However, the mean scores of self-directed learning after participation in the small group discussion method of teaching were significantly statistically higher than those obtained before the participation (p>.001). Finally, the mean scores of satisfaction with teaching and learning with the small group discussion was at a high level. The result suggested that the small group discussion method  of teaching is effective in improving self-directed learning and can be used to teach nursing students. Unanticipated outcomes regarding critical thinking need to be further investigated. Replication of this study with a larger sample size and with a comparison between those who receive the small group discussion method of teaching and those who do not is also recommended.


Downloads

Issue

Section

บทความวิจัย (Research Report)