ความพึงพอใจต่อคุณภาพการให้บริการทางการพยาบาลของผู้ประกันตน โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา

Authors

  • วีณา กุศลสมบูรณ์ หัวหน้าพยาบาล โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา
  • โศภนา น้อยนิวรณ์ ผู้ชำนาญการพิเศษ พยาบาล 7 ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา
  • วันเพ็ญ สุขส่ง ผู้ชำนาญการพิเศษ พยาบาล 7 ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา

Keywords:

ความพึงพอใจในการรับบริการพยาบาล, คุณภาพการบริการพยาบาล, ระบบประกันสังคม, nursing service quality, satisfaction of the quality of nursing service, social security system patient

Abstract

การวิจัยเชิงสำรวจนี้ (Survey research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อคุณภาพการให้บริการทางการพยาบาลของผู้ประกันตนโรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ประกันตนที่เข้ารับการรักษาตัวที่หอผู้ป่วยประกันสังคม ระหว่าง 1 มิถุนายน 2551 ถึง 30 มิถุนายน 2551 จำนวน 320 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามความพึงพอใจต่อคุณภาพการให้บริการทางการพยาบาลที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นโดยใช้แนวคิดของอเดย์และแอนเดอร์สัน คุณภาพการให้บริการทางการพยาบาล ประกอบด้วย 5 ด้าน คือ ด้านความสะดวกที่ได้รับบริการ ด้านการประสานบริการ ด้านอัธยาศัยและความสนใจของผู้ให้บริการ ด้านข้อมูลที่ได้รับจากการบริการ และด้านคุณภาพของบริการพยาบาล เครื่องมือที่ใช้ได้รับการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาและมีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.82  วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบ t-test และ one-way ANOVA

ผลการวิจัยที่สำคัญ สรุปได้ดังนี้

1.  ระดับความพึงพอใจต่อคุณภาพการให้บริการทางการพยาบาลโดยรวมอยู่ในระดับมาก  ( \inline \dpi{80} \bar{X} = 4.17, SD = 0.51)และเมื่อแยกเป็นรายด้านพบว่าระดับความพึงพอใจในด้านอัธยาศัยและความสนใจของผู้ให้บริการอยู่ในระดับมากที่สุด ( \inline \dpi{80} \bar{X} = 4.37, SD = 0.58) รองลงมาเป็นด้านคุณภาพบริการ(= 4.26, SD = 0.57) และด้านความสะดวกในการใช้บริการอยู่ในระดับมาก ( \inline \dpi{80} \bar{X} = 4.11, S.D. = 0.59) ตามลำดับ

2. ระดับความพึงพอใจต่อคุณภาพการให้บริการทางการพยาบาลจำแนกตามเพศ อายุ อาชีพ รายได้ ระดับการศึกษา และจำนวนครั้งที่มารับบริการ พบว่า ผู้ประกันตนที่มีความแตกต่างกันในเพศ รายได้ และระดับการศึกษา มีระดับความพึงพอใจต่อคุณภาพการให้บริการพยาบาลไม่แตกต่างกัน และผู้ประกันตนที่มีอายุ อาชีพ และจำนวนครั้งที่มารับบริการต่างกัน มีความพึงพอใจต่อคุณภาพการให้บริการทางการพยาบาลแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p =  0.01, 0.03, 0.00) ตามลำดับ

 

The Satisfaction of the Nursing Service of Social Insurance In-Patients at Queen Savang Vadhana Memorial Hospital

The research conducted a survey (survey research) to study the satisfaction with the service quality of nursing patient insured for Queen Savang Vadhana Memorial Hospital. Samples were insured through the social security system for the treatment. The nurses, social security between June 1, 2008 to June 30, 2008. The data was collected from 320 persons. Satisfaction with the quality of nursing services were created by using the concept of Aday & Andersen. The quality of nursing services comprised five factors: the integration of services, the hospitality and the attention of the carer, the information obtained from the services, and the quality of nursing services. The tools used to determine content validity gave a reliability of 0.82 and were analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation, and the t-test and one-way ANOVA

Results showed that:

1. Levels of satisfaction with service quality in nursing were at a high level (\inline \dpi{80} \bar{X} = 4.17, S.D.= 0.51) and the separation also found that the level of satisfaction with the hospitality and attention to service was the highest (\inline \dpi{80} \bar{X} = 4.37, S.D.=0.58), followed by quality service (\inline \dpi{80} \bar{X} = 4.26, S.D.=0.57) and the ease of use at a high level (\inline \dpi{80} \bar{X} = 4.11, S.D.= 0.59).

2. Level of satisfaction with the quality of nursing service were compared by sex, age occupation, income, level of education, and the number of service usage. The results showed that level of satisfaction with the quality of nursing service were no difference in insured gender, income, and level of education. Whereas, the level of satisfaction with the quality of nursing service were statistically significant difference in insured’s age, occupation, and the number of service usage at 0.05 (p = 0.01, 0.03, 0.00)

Downloads

Issue

Section

บทความวิจัย (Research Report)