การใช้ทฤษฎีการดูแลมนุษย์ของวัตสันในการพยาบาลผู้ป่วยแบบประคับประคอง
Keywords:
-Abstract
การดูแลผู้ป่วยระยะประคับประคองเป็นการดูแลที่มุ่งเน้นการมีคุณภาพชีวิตที่ดีแม้ว่าจะมีเวลาในการมีชีวิตอยู่อย่างจำกัด การดูแลมีวัตถุประสงค์เพื่อตอบสนองมีความต้องการที่ซับซ้อนในทุกด้าน โดยเฉพาะความต้องการการช่วยเหลือเพื่อลดความทุกข์ทรมานด้านร่างกาย ด้านจิตใจจากความรู้สึกสูญเสีย เศร้าโศก การถูกแยกจากสังคมเนื่องจากการเจ็บป่วยที่รุนแรง ตลอดจนความต้องการด้านจิตวิญญาณ พยาบาลที่ให้การดูแลผู้ป่วยและครอบครัวในระยะนี้ต้องใช้ความรู้ ทักษะ และความสามารถเฉพาะด้านในการให้การดูแล เพื่อบรรเทาความทุกข์ทรมาน ให้มีคุณภาพชีวิตและคงไว้ซึ่งศักดิ์และศรีของความเป็นบุคคล บทความนี้นำเสนอการบูรณาการแนวคิดทฤษฎีการดูแลมนุษย์ของวัตสันในการพยาบาลผู้ป่วยและครอบครัวระยะประคับประคอง โดยนำเสนอกระบวนทัศน์ของทฤษฎี ข้อตกลงเบี้องต้นและปัจจัยการดูแล และการประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติการพยาบาลที่เน้นการให้คุณค่าของบุคคลในฐานะมนุษย์ผู้หนึ่งที่ควรได้รับการดูแล ทฤษฎีการดูแลมนุษย์ของวัตสันเป็นแนวทางให้พยาบาลสามารถให้การดูแล (Caring) ที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ป่วยและครอบครัวได้อย่างครอบคลุมและมีคุณภาพ
Applying Watson’s Human Caring Theory into Palliative care
Palliative care focuses on improving quality of life. The goal of palliative care is in response to the patient’s complex needs addressing a broad range of physical, psychological, social, family, and spiritual sufferings. Palliative nurses utilize knowledge, skills, and their expertise to provide nursing care to relieve the patient’s suffering and to enhance quality of life within a humanistic value. This article presents an integration of Watson’s Human Caring Theory into nursing practice to provide care for palliative patients and their family. Major elements of the theory are illustrated. Upholding Watson’s caring theory not only allows the nurse to practice the art of caring, to provide compassion to ease patients’ and families’ suffering, and to promote their healing and dignity but it can also contribute to expand the quality of nursing care.
Downloads
Issue
Section
License
เนื้อหาบทความหรือข้อคิดเห็นต่างๆ ในวารสารพยาบาลสภากาชาดไทยนี้ เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนบทความ ไม่ใช่ความเห็นของกองบรรณาธิการ หรือสถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย