การติดตามผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2539) ปีการศึกษา 2550 วิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทย

Authors

  • สมพิศ ใยสุ่น ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาการพยาบาลเด็กและการผดุงครรภ์ วิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทย
  • สมศรี เจริญหล้า ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ วิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทย
  • พิมพิไล ทองไพบูลย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาการพยาบาลเด็กและการผดุงครรภ์ วิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทย
  • เอมอร ชินพัฒนะพงศา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชนและจิตเวช วิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทย
  • ศุภาว์ เผือกเทศ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาการพยาบาลเด็กและการผดุงครรภ์ วิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทย
  • ศุทธิจิต ภูมิวัฒนะ อาจารย์ ภาควิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ วิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทย
  • จุฑาภรณ์ ทองบุญชู อาจารย์ ภาควิชาพื้นฐานวิชาชีพและบริหารการพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทย
  • จันทนี แต้ไพสิฐพงษ์ อาจารย์ ภาควิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ วิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทย
  • เครือวัลย์ ศรียารัตน์ อาจารย์ ภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชนและจิตเวช วิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทย

Keywords:

ความพึงพอใจ, หลักสูตรและการเรียนการสอน, ความสามารถในการปฏิบัติงาน, ผู้บังคับบัญชา, ผู้สำเร็จการศึกษา, satisfaction, curriculum and instruction working competency, supervisors, graduates

Abstract

การศึกษาครั้งนี้เป็นการติดตามผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต(หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2539) ปีการศึกษา 2550  วิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้สำเร็จการศึกษาที่มีต่อหลักสูตรและการเรียนการสอน  ความพึงพอใจต่อความสามารถในการปฏิบัติงานของผู้สำเร็จการศึกษา  ตามการประเมินตนเองของผู้สำเร็จการศึกษาและตามการประเมินของผู้บังคับบัญชา  รวมทั้งเปรียบเทียบความพึงพอใจต่อความสามารถในการปฏิบัติงานของผู้สำเร็จการศึกษาที่ผู้สำเร็จการศึกษาประเมินตนเองกับที่ประเมินโดยผู้บังคับบัญชา  กลุ่มตัวอย่าง คือ  ผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2539) ปีการศึกษา 2550 จำนวน 93 คน และผู้บังคับบัญชา จำนวน 100 คน  รวบรวมข้อมูลโดยใช้ แบบสอบถามการติดตามผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต  ของสมพิศ ใยสุ่น และคณะ(4) ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือ (Reliability) โดยวิธีสัมประสิทธิ์อัลฟ่า (α - Coefficient) เท่ากับ 0.92  วิเคราะห์ข้อมูล  มีผลการวิจัยดังนี้

1. ผู้สำเร็จการศึกษามีความพึงพอใจต่อหลักสูตรและการเรียนการสอน โดยรวมและรายข้ออยู่ในระดับมาก

2. ผู้สำเร็จการศึกษาและผู้บังคับบัญชา มีความพึงพอใจต่อความสามารถในการปฏิบัติงานของผู้สำเร็จการศึกษา โดยรวมและรายด้านทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านความรู้ความสามารถทางวิชาการ   

ด้านความสามารถพื้นฐานที่ส่งผลต่อการทำงาน และด้านคุณธรรมจริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ   อยู่ในระดับมาก ยกเว้น ด้านความรู้ความสามารถทางวิชาการ ที่ผู้บังคับบัญชาประเมินอยู่ในระดับปานกลาง

3. ความพึงพอใจต่อความสามารถในการปฏิบัติงานของผู้สำเร็จการศึกษา ที่ผู้สำเร็จการศึกษาประเมินตนเองสูงกว่าที่ประเมินโดยผู้บังคับบัญชา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ( p < 0.05) ทั้งโดยรวมและรายด้าน

 

A  Follow – up Study of Bachelor’s Degree Graduates form the 2007 Academic Year Nursing Program (Revised 1996 Curriculum) at the Thai Red Cross College of Nursing

This study evaluated graduates form the 2007 academic year Bachelor of Nursing Program (Revised 1996 Curriculum at the Thai Red Cross College of Nursing. It aimed to explore alumni satisfaction with the effectiveness of the nursing curriculum and to assess the satisfaction of selected nursing graduates in regard to selected competencies which were evaluated through self-assessment as well as by their former supervisors.

The sample consisted of two groups which comprised 93 alumni who graduated in 2007, and 100 of their former supervisors. The data were collected using Sompit et. al’s survey questionnaires. The results were as follows :

 1. The graduates’ levels of satisfaction with the overall curriculum and with all aspects of the course were at a good level. 

2. Overall. both graduates  and  their  supervisors  were satisfied with the 3 competency criteria, namely academic competency, basic knowledge for working competency, and nursing ethics. These were all rated at a good level except for supervisor satisfaction with academic competency which was rated as moderate.

3. An examination of the satisfaction with graduate competencies results showed that the graduates’ self-assessment produced higher scores than the evaluations of their supervisors. The results revealed significant statistical differences in all three criteria and in overall competencies as well (P < 0.05)

Downloads

Issue

Section

บทความวิจัย (Research Report)