ความเหนื่อยล้าและการจัดการความเหนื่อยล้า ในการฝึกปฏิบัติการพยาบาลพื้นฐาน ของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทย

Authors

  • ธิดารัตน์ พานชูวงศ์ อาจารย์ภาควิชาการพยาบาลพื้นฐานและบริหารการพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลสภากาดไทย
  • ธัญลักษณ์ บรรลิขิตกุล อาจารย์ภาควิชาการพยาบาลพื้นฐานและบริหารการพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลสภากาดไทย

Keywords:

นักศึกษาพยาบาล, ปฏิบัติการพยาบาลพื้นฐาน, ความเหนื่อยล้า, การจัดการความเหนื่อยล้า, nursing students, fundamentals of nursing practicum, fatigue, fatigue management

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเหนื่อยล้า การจัดการความเหนื่อยล้าในการฝึกปฏิบัติการพยาบาลพื้นฐานของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 2 ปีการศึกษา 2550 วิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทย  กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 2 ปีการศึกษา 2550 วิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทย  จำนวน 146 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามความเหนื่อยล้า แบบสอบถามการจัดการความเหนื่อยล้า ตรวจสอบความตรงโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 คน ความเที่ยงของแบบสอบถามความเหนื่อยล้า ได้ค่าความเชื่อมั่นที่ 0.78 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย และวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า 1. นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 2 ประเมินความเหนื่อยล้าขณะฝึกปฏิบัติการพยาบาลพื้นฐานบนหอผู้ป่วย โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง 2. นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 2 มีการจัดการความเหนื่อยล้าขณะฝึกปฏิบัติการพยาบาลพื้นฐานบนหอผู้ป่วยตามลำดับ คือ การปรับความรู้สึกที่เกี่ยวข้องกับการฝึกปฏิบัติการพยาบาลพื้นฐานหรือคิดทางบวก  การนอนหลับ การได้รับความช่วยเหลือจากบุคคลอื่นๆ และการได้รับกำลังใจและเอาใจใส่ ดังนั้นอาจารย์พยาบาลควรช่วยเหลือนักศึกษาในการจัดการความเหนื่อยล้า 


Fatigue and Fatigue Management  during the Fundamentals of Nursing Practicum for Nursing  Students at  the Thai Red Cross College of Nursing

The purposes of this descriptive study were to identify the causes of fatigue and the methods of fatigue management during the fundamentals of nursing practicum for nursing students in 2007 at the Thai Red Cross College of Nursing. The research sample was composed of one hundred and forty-six  2nd year nursing students who were studying this subject. The research instruments consisted of a fatigue assessment questionnaire, and an open-ended questionnaire for fatigue management. The questionnaires were examined by three experts and pre-tested for reliability, which was found to be 0.78 and 0.98. The data were analyzed using descriptive statistics and content analysis.

The results obtained were: 1. the mean total scores for fatigue obtained for nursing students were at a moderate level. 2. Fatigue management methods used by nursing students were positive thinking in situations relating to clinical practice in the fundamentals of nursing practicum, resting, getting help from others. This study provides some suggestions for nurse instructors to help nursing students manage fatigue.

Downloads

Issue

Section

บทความวิจัย (Research Report)