ผลของโปรแกรมการให้ความรู้ผ่านสื่อซีดีการ์ตูนต่อพฤติกรรมในการดูแลตนเองเพื่อป้องกันการติดเชื้อที่ลิ้นหัวใจในผู้ป่วยเด็กวัยเรียนโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด
Keywords:
สื่อซีดีการ์ตูน, พฤติกรรมในการดูแลตนเอง, การติดเชื้อที่ลิ้นหัวใจ, ผู้ป่วยเด็กวัยเรียนโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด, cartoons on CD, Self-care behavior, Infective Endocarditis, School-age children, Congenital Heart DiseaseAbstract
การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของสื่อซีดีการ์ตูนต่อพฤติกรรมในการดูแลตนเองเพื่อป้องกันการติดเชื้อที่ลิ้นหัวใจในผู้ป่วยวัยเรียนโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยเด็กวัยเรียนโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดที่เข้ารับการรักษาที่คลินิกเด็กโรคหัวใจ แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย จำนวน 60 ราย โดย 30 รายแรกเป็นกลุ่มควบคุม ส่วน 30 รายหลังเป็นกลุ่มทดลอง กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ และกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการให้ความรู้ผ่านสื่อซีดีการ์ตูน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล และแบบประเมินพฤติกรรมในการดูแลตนเองเพื่อป้องกันการติดเชื้อที่ลิ้นหัวใจในผู้ป่วยวัยเรียนโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนพฤติกรรมในการดูแลตนเองเพื่อป้องกันการติดเชื้อที่ลิ้นหัวใจมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001)
The Effects of a Teaching Program using Cartoons on CD on Self -care Behaviors for Preventing Infective Endocarditis among School- age Children with Congenital Heart Disease
The purpose of this study was to examine the effects of providing information through cartoons on CD about self-care behaviors for the prevention of Infective Endocarditis among school-age children with congenital heart disease. Sixty school-age children with congenital heart disease at King Chulalongkorn Memorial Hospital were recruited as the sample for this study. This sample was divided into 2 equal groups : thirty in the control group and thirty in the experimental group. The control group received routine nursing care while the experimental group undertook a teaching program using cartoons on CD. The data were collected using personal interviews, questionnaires, and evaluation forms that were designed to determine the self-care behaviors of school-age children with congenital heart disease. The data were analyzed by means of percentage, mean value, standard deviation and t-test.
The results were as follows: school - age children with congenital heart disease demonstrated statistically significant higher scores on self-care behaviors for the prevention of Infective Endocarditis after being provided with information in cartoons on CD. The group of school - age children with congenital heart disease which had been provided with information in cartoons on CD demonstrated statistically significant higher scores on self - care behaviors for preventing Infective Endocarditis than the group of school-age children that was not given any such information.
Downloads
Issue
Section
License
เนื้อหาบทความหรือข้อคิดเห็นต่างๆ ในวารสารพยาบาลสภากาชาดไทยนี้ เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนบทความ ไม่ใช่ความเห็นของกองบรรณาธิการ หรือสถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย