ผลของโปรแกรมการส่งเสริมการรับรู้ความสามารถของตนเอง โดยการสอนแนะต่อพฤติกรรมการดูแลทารกเกิดก่อนกำหนดของมารดาวัยรุ่นครรภ์แรก
Keywords:
โปรแกรมส่งเสริมการรับรู้ความสามารถของตนเอง, การสอนแนะ, มารดาวัยรุ่นครรภ์แรก, พฤติกรรมการดูแลทารกเกิดก่อนกำหนด, Perceived Delf-Efficacy Promoting Program, Coaching, First-Time Adolescent Mothers, Premature Infants Caring BehaviorsAbstract
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการส่งเสริมการรับรู้ความสามารถของตนเองโดยการสอนแนะต่อพฤติกรรมการดูแลทารกเกิดก่อนกำหนดของมารดาวัยรุ่นครรภ์แรก กลุ่มตัวอย่าง คือ มารดาวัยรุ่นครรภ์แรก อายุ 14-19 ปี ที่คลอดบุตรที่โรงพยาบาลชลบุรี และทารกเกิดก่อนกำหนดที่มีน้ำหนักตัวระหว่าง 1,600-2,500 กรัมกลุ่มตัวอย่าง 20 คู่แรก จัดเป็นกลุ่มควบคุม กลุ่มตัวอย่าง 20 คู่หลังจัดเป็นกลุ่มทดลอง กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการส่งเสริมการรับรู้ความสามารถของตนเองโดยการสอนแนะ ซึ่งได้รับการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาก่อนนำไปทดลองใช้ เครื่องมือที่ใช้ในการกำกับการทดลอง คือ แบบประเมินความสามารถของตนเองในการดูแลทารกแรกเกิดก่อนกำหนดของมารดาวัยรุ่นครรภ์แรก มีค่าความเที่ยง เท่ากับ .94 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลของมารดาและทารก และแบบวัดพฤติกรรมการเลี้ยงดูทารกเกิดก่อนกำหนดของมารดาวัยรุ่นครรภ์แรก มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .88 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยายและสถิติการทดสอบค่าที (Independent t-test)
ผลการวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการดูแลทารกเกิดก่อนกำหนดของมารดาวัยรุ่นครรภ์แรกในกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการส่งเสริมการรับรู้ความสามารถของตนเองโดยการสอนแนะหลังการทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001)
The Effects of the Perceived Self-Efficacy Promoting Program Through Coaching on the Caring Behaviors of Prematrue Infants of First-Time Adolescent Mothers
The purpose of this quasi-experimental research was to examine the effect of the perceived self-efficacy promoting program through coaching on the caring behaviors of premature infants of first-time adolescent mothers. The participants were first-time adolescent mothers and their premature infants weighed between 1,600-2,500 grams. Subjective were assigned to the control group first, then to the experimental group, with 20 pairs in each. The experimental group received the perceived self-efficacy promoting program through coaching, and the control group received routine nursing care. The intervention was reviewed for content validity by a panel of experts. Perceived self-efficacy was measured to monitor for intervention effect. Its Cronbach’s alpha coefficient was at .94. The caring behaviors of premature infants questionnaire was used to collect the data. It demonstrated acceptable reliability with Cronbach’s alpha at .88. The data were analyzed using descriptive statistics and an independent t-test.
The results showed that the mean score of the caring behaviors by premature infants first-time adolescent mothers after participating in the perceived self-efficacy promoting program through coaching was significantly higher than that of the control group (p<.001).
Downloads
Issue
Section
License
เนื้อหาบทความหรือข้อคิดเห็นต่างๆ ในวารสารพยาบาลสภากาชาดไทยนี้ เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนบทความ ไม่ใช่ความเห็นของกองบรรณาธิการ หรือสถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย