ผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้ความสามารถของตนเอง และการรับรู้ประโยชน์ต่อพฤติกรรมการออกกำลังกาย และการจัดการกับความเครียดของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นภาคใต้

Authors

  • ทิพย์วรรณ บุณยาภรณ์ วิทยาจารย์ ชำนาญการ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ตรัง
  • รัตน์ศิริ ทาโต รองศาสตราจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์

Keywords:

การตั้งครรภ์วัยรุ่น, การรับรู้ความสามารถของตนเอง, การรับรู้ประโยชน์, Teenage pregnancy, Perceived Self-efficacy, Perceived Benefits

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้โปรแกรมส่งเสริมการรับรู้ ความสามารถของตนเองและการรับรู้ประโยชน์ต่อ พฤติกรรมการออกกําลังกายและการจัดการกับความเครียดของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นภาคใต้ โดยใช้รูปแบบการส่งเสริมสุขภาพของ Pender (2002) และแนวคิดการรับรู้ความสามารถของตนเองของ Bandura (1997) มาประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรม  กลุ่มตัวอย่างคือหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นภาคใต้ อายุไม่เกิน 19 ปี จํานวน 42 คน แบ่ง เป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 21 คน โดยจับคู่กลุ่มตัวอย่างให้เหมือนกันในเรื่องความเพียงพอของรายได้และลักษณะครอบครัว จับฉลากกลุ่มตัวอย่างเข้ากลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติและกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้ความสามารถของตนเองและการรับรู้ประโยชน์ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบวัดพฤติกรรมการออกกําลังกายและแบบวัดพฤติกรรมการจัดการกับความเครียดของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นภาคใต้  โดยได้ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาและความเที่ยง มีค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาคเท่ากับ .89 และ .77 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยายและการทดสอบค่าที

ผลการวิจัย พบว่า ค่าเฉลี่ยของคะแนนพฤติกรรมการออกกําลังกายและพฤติกรรมการจัดการกับความเครียดของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นภาคใต้กลุ่มที่ได้รับโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้ความสามารถของตนเองและการรับรู้ประโยชน์สูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p < .001) 

 

Effects of a Perceived Self-efficacy and Perceived Benefits Promotion Program on the Execise and Stress Management Behavior of Pregnant Teenagers from Southern Thailand

The purpose of this comparative experimental research was to examine the effects of a perceived self-efficacy and perceived benefits promoting program on the exercise and stress management behavior of pregnant teenagers from Southern Thailand. Pender’s Health Promotion Model (2002) and the Self - Efficacy Theory of Bandura (1997) were utilized to develop the intervention. The Subjects, consisting of 40 pregnant teenagers, Subjects were randomly assigned to equally-sized control and experimental groups. The participants were matched by income and type of family. The control group received routine nursing care while the experimental group undertook a program promoted that perceived self-efficacy and perceived benefits. Exercise and stress management behaviors were assessed using questionnaires that had been previously tested for content validity and reliability. Cronbach’s alpha coefficients  for  the questionnaires were .87 and .77, respectively. The data were analyzed using descriptive and t-test statistics.

The results showed that the mean score for the exercise behavior and stress management behavior of pregnant teenagers from Southern Thailand in the experimental group that underwent the perceived self-efficacy and perceived benefits program was significantly higher than that of the control group (p < .001) 


Downloads

Issue

Section

บทความวิจัย (Research Report)