การรับรู้ของนักศึกษาพยาบาลต่อการบูรณาการแนวคิดด้านการสร้างเสริมสุขภาพและการรับรู้สมรรถนะด้านการสร้างเสริมสุขภาพของนักศึกษาพยาบาลในการจัดการเรียนการสอนรายวิชาการพยาบาลจิตเวช

Authors

  • เครือวัลย์ ศรียารัตน์ ภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชนและจิตเวช
  • มณวิภา สาครินทร์ ภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชนและจิตเวช

Keywords:

การสร้างเสริมสุขภาพ, การรับรู้สมรรถนะด้านการสร้างเสริมสุขภาพ, การจัดการเรียนการสอน, วิชาการพยาบาลจิตเวช, health promotion, perceptions of health promotion, competencies, teaching and learning, psychiatric nursing

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้ของนักศึกษาพยาบาลต่อการบูรณาการแนวคิดด้านการสร้างเสริมสุขภาพและการรับรู้สมรรถนะด้านการสร้างเสริมสุขภาพของนักศึกษาพยาบาลในการจัดการเรียนการสอนรายวิชาการพยาบาลจิตเวช  กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 3 ปีการศึกษา 2552 จำนวน 154 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามการรับรู้ของนักศึกษาพยาบาลต่อการบูรณาการแนวคิดด้านการสร้างเสริมสุขภาพ แบบประเมินการรับรู้สมรรถนะด้านการสร้างเสริมสุขภาพของนักศึกษาพยาบาล ค่าความเชื่อมั่นโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค .85 และ .92 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติเชิงพรรณนา ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างรับรู้ว่ามีการระบุเนื้อหาที่ครอบคลุมการสร้างเสริมสุขภาพลงในลักษณะวิชา วัตถุประสงค์รายวิชาและวัตถุประสงค์ในหัวข้อย่อย คิดเป็นร้อยละ 96.8 , 94.8 และ 92.9 ตามลำดับ มีการรับรู้เกี่ยวกับมโนทัศน์หลักด้านการสร้างเสริมสุขภาพที่ใช้ในการเรียนการสอนในรายวิชาการพยาบาลจิตเวช เรื่องการส่งเสริมสุขภาพจิต อยู่ในระดับดีมาก (\dpi{80} \bar{X} =  4.77; SD = .48)  ส่วนการรับรู้เกี่ยวกับแนวคิด/กลวิธีสร้างเสริมสุขภาพ พบว่านักศึกษามีการรับรู้ทฤษฎีเกี่ยวข้องกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และการปรับเปลี่ยนความเชื่อและความคิด อยู่ในระดับดี  (\dpi{80} \bar{X} = 4.37; SD =.69) และ(\dpi{80} \bar{X} = 4.36; SD =.67) ตามลำดับ ส่วนการรับรู้สมรรถนะการสร้างเสริมสุขภาพ พบว่า นักศึกษามีการรับรู้สมรรถนะรวม 5 ด้าน อยู่ในระดับปานกลาง (\dpi{80} \bar{X}= 3.49; SD =.26)  โดยมีการรับรู้ในระดับดี คือการรับรู้สมรรถนะด้านการปฏิบัติกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ (\dpi{80} \bar{X}= 3.71; SD =.39) และการรับรู้สมรรถนะด้านคุณลักษณะส่วนบุคคลในการสร้างเสริมสุขภาพ (\dpi{80} \bar{X} = 3.51; SD =.39)

สรุปและข้อเสนอแนะ  ผู้สอนควรระบุแนวคิดการสร้างเสริมสุขภาพในวัตถุประสงค์รายวิชา และควรพัฒนาการเรียนการสอนที่ส่งเสริมการเรียนรู้ของนักศึกษาด้านการสร้างเสริมสุขภาพ


Nursing students’ perceptions toward the integration of health promotion concepts in learning and nursing students’ perceptions of the health promotion competencies of psychiatric nursing

The purposes of this study were to examine the perceptions of nursing students concerning the integration of health promotion concepts toward the learning and teaching of Psychiatric Nursing and to investigate nursing students’ perceptions of health promotion competencies. A sample of 154 third year nursing students participated in this study. Data were collected using questionnaires on the integration of health promotion concepts in the learning and teaching of Psychiatric Nursing, and nursing students self-assessment of health promotion competency. The questionnaires were tested for reliability with a Cronbach alpha coefficient of .85 and .92.  The data were analyzed using descriptive statistics, mean and standard deviation.

The results revealed that students perceived the integration of the concept of health promotion in course description, course objectives, and topic objective as 96.8%, 94.8% and 92.9% respectively. Students perceived promoting mental health at the highest level (\dpi{80} \bar{X} = 4.77; SD = .48). Perceptions toward concepts/strategies for health promotion were as follows: nursing students perceived behavior change theory (Behavioral change) and cognitive process modification to be good (\dpi{80} \bar{X} = 4.37; SD= .69; \dpi{80} \bar{X} = 4.36; SD = .67).  Students had perceived total five health promotion comprising of moderate level (\dpi{80} \bar{X} = 3.49; SD = .26) with perception of health promotion activities in good level (\dpi{80} \bar{X} = 3.71; SD = .39), followed by the personal attributes of health (\dpi{80} \bar{X} = 3.51; SD = .39)

Recommendations: A nursing instructor team should implement the concepts of health promotion by specifying them in course objectives. Teaching and learning that promote the learning of health promotion among students should be further developed.

Downloads

Issue

Section

บทความวิจัย (Research Report)