ผลของการใช้ยา acetaminophens ร่วมกับการเช็ดตัวต่ออุณหภูมิร่างกายของผู้ป่วยโรคสมองขาดเลือดในระยะเฉียบพลัน

Authors

  • สุภาพันรัตน์ คำหอม พยาบาล โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
  • ปรารถนา จับมณี พยาบาล โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
  • ดุษณี วินิจฉัย พยาบาล โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
  • ภาสิกา กิมหงษ์ พยาบาล โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
  • จรวยพร วงศ์ขจิต พยาบาล โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

Keywords:

โรคสมองขาดเลือดในระยะเฉียบพลัน, การควบคุมอุณหภูมิร่างกาย, การเช็ดตัว, acute ischemic stroke, body temperature control, wiping

Abstract

การศึกษากึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบอุณหภูมิร่างกายผู้ป่วยโรคสมองขาดเลือดในระยะเฉียบพลันระหว่างกลุ่มที่ใช้ยา acetaminophens ร่วมกับการเช็ดตัว กับกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาตามปกติ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคสมองขาดเลือดในระยะเฉียบพลันที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง จำนวน 20 ราย  เลือกตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนดไว้ แบ่งเป็นกลุ่มควบคุม 10 ราย และกลุ่มทดลอง 10  ราย  กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มทดลองได้รับการควบคุมอุณหภูมิร่างกายโดยการใช้ยา Acetaminophens ร่วมกับการเช็ดตัว วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติทดสอบวิลคอคซัน ไซน แรงค์เทส (Wilcoxon signed-rank test) และใช้สถิติทดสอบแมนวิทนีย์ ยูเทส (Mann-Whitney U-test) ผลการวิจัยพบว่า

1. ค่าเฉลี่ยของอุณหภูมิร่างกายในกลุ่มทดลองหลังได้รับโปรแกรมการควบคุมอุณหภูมิร่างกาย โดยการเช็ดตัวร่วมกับการใช้ยา acetaminophens ต่ำกว่าก่อนได้รับโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p<0.05)  

2. ค่าเฉลี่ยของอุณหภูมิร่างกายในกลุ่มทดลองหลังได้รับโปรแกรมการควบคุมอุณหภูมิร่างกายโดยการเช็ดตัวร่วมกับการใช้ยา acetaminophens ต่ำกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05)

ข้อเสนอแนะ ควรนำผลการทดลองใช้กับผู้ป่วยโรคสมองขาดเลือดในระยะเฉียบพลัน

The effectiveness of using acetaminophens with wiping to body temperature of patient with acute ischemic stroke 

This quasi-experimental research aims to compare the body temperature of patients with acute ischemic stroke using acetaminophens with wiping and the usual treatment. The sample of the study comprised randomized 20 patients with 10 acute ischemic stroke patients receiving acetaminophens with wiping as the experimental group and 10 patients receiving usual care as the control group. Data were analyzed by descriptive statistics. Wilcoxon signed-rank test and Mann-Whitney U test. The research results revealed that:

  1. The average temperature in the experimental group after post control body temperature  program was lower than pre-program. Statistical significance of p < 0.05
  2. The average temperature in the experimental group after control body temperature program was lower than those in the control group with a statistical significance of p <0.05

It is suggested that acetaminophens and wiping can reduce body temperature for acute ischemic stroke.

Downloads

Issue

Section

บทความวิจัย (Research Report)