การบูรณาการแนวคิดการสร้างเสริมสุขภาพในการจัดการเรียนการสอนในรายวิชา การพยาบาลเด็กและวัยรุ่นตามการรับรู้ของนักศึกษาพยาบาลและอาจารย์พยาบาล

Authors

  • พิมพิไล ทองไพบูลย์ ภาควิชาการพยาบาลเด็กและการผดุงครรภ์
  • จุรีย์ นฤมิตเลิศ ภาควิชาการพยาบาลเด็กและการผดุงครรภ์

Keywords:

แนวคิดการสร้างเสริมสุขภาพ, การเรียนการสอน, การพยาบาลเด็กและวัยรุ่น, health promotion concepts, teaching and learning, pediatric nursing

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้ของนักศึกษาพยาบาลและอาจารย์พยาบาลเกี่ยวกับการบูรณาการแนวคิดการสร้างเสริมสุขภาพในการเรียนการสอนรายวิชาการพยาบาลเด็กและวัยรุ่น กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 2 ที่สอบผ่านรายวิชาการพยาบาลเด็กและวัยรุ่น ปีการศึกษา 2552 จำนวน 180 คนและอาจารย์พยาบาลที่สอนรายวิชาการพยาบาลเด็กและวัยรุ่น จำนวน 8 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและการสัมภาษณ์  ข้อมูลเชิงปริมาณวิเคราะห์โดยใช้สถิติ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่านักศึกษาพยาบาลรับรู้ว่ามีการระบุเนื้อหาที่ครอบคลุมการสร้างเสริมสุขภาพในวัตถุประสงค์รายวิชา ลักษณะวิชา และวัตถุประสงค์ในหัวข้อย่อย คิดเป็นร้อยละ 96.1, 94.5,และ 89.0 ตามลำดับ   ส่วนอาจารย์พยาบาลรับรู้ว่ามีการระบุเนื้อหาที่ครอบคลุมการสร้างเสริมสุขภาพในลักษณะวิชา วัตถุประสงค์รายวิชา และวัตถุประสงค์ในรายหัวข้อย่อย คิดเป็นร้อยละ 100,100 และ 87.5 ตามลำดับ  นักศึกษาพยาบาลและอาจารย์พยาบาลมีการรับรู้มโนทัศน์หลักการสร้างเสริมสุขภาพที่ใช้ในการเรียนการสอนในระดับมากและมากที่สุด ด้านการประเมินโภชนาการ/การเจริญเติบโต (\dpi{80} \bar{X} = 4.19, SD = .60 และ \dpi{80} \bar{X} = 4.38, SD = .52) ตามลำดับ การรับรู้แนวคิด/กลวิธีสร้างเสริมสุขภาพที่ใช้ในการเรียนการสอนตามการรับรู้ของนักศึกษาพยาบาล คือ ทฤษฏีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (\dpi{80} \bar{X} = 4.06, SD = .69) อาจารย์พยาบาล คือ การเสริมสร้างพลังอำนาจและทฤษฎีการสร้างเสริมสุขภาพของเพนเดอร์ คิดเป็นร้อยละ 37.5 เท่ากัน  นักศึกษาพยาบาลมีการรับรู้สมรรถนะการสร้างเสริมสุขภาพโดยรวมอยู่ในระดับมาก (\dpi{80} \bar{X} = 3.50, SD = .36)

ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากการสนทนากลุ่มนักศึกษาพยาบาลและกลุ่มอาจารย์พยาบาลให้ข้อมูลที่สอดคล้องกันในประเด็นของการระบุเนื้อหาการสร้างเสริมสุขภาพในลักษณะวิชา และมีการนำมโนทัศน์หลักมาใช้ในการเรียนการสอน แต่แตกต่างกันในเรื่องแนวคิดหรือทฤษฎีสร้างเสริมสุขภาพที่ใช้ในการเรียนการสอน

สรุปและข้อเสนอแนะ  การจัดการเรียนสอนควรมีระบุแนวคิด ทฤษฎี กลวิธี ที่ชัดเจนเพื่อให้นักศึกษาสามารถนำไปใช้และต่อยอดในรายวิชาอื่นได้

 

The Integration of health promotion concepts in the teaching and learning of pediatric nursing: perception of nursing students and nursing instructors

 The purpose of this descriptive research was to study nursing students’ and nursing instructors‘ perceptions of the integration of health promotion concepts in pediatric nursing. The population comprised 180 second year nursing students and 8 nursing instructors who taught pediatric nursing. Data was collected by using the performance evaluation of health promotion and interviews on the concept of the integration of health promotion in teaching and learning with the focus group questions for nursing students and nursing instructors. The quantitative data was analyzed by descriptive statistics, frequency, percentage, mean, standard deviation and content analysis.

The result of the study showed that most perceptions of the nursing students toward the course of pediatric nursing theory has the health promotion concept in the descriptive subject  and objective in subtopic data analyzed at 96.1, 94.5 and 89.0%. Nursing Instructors‘ perceptions toward the integration concept is the same at 100, 100 and 87.5%. The perception of nursing students and nursing instructors is for the integration of health promotion concepts in the same topic of nutrition and development  (\dpi{80} \bar{X} = 4.19, SD = .60 and  \dpi{80} \bar{X} = 4.38, SD = .52). The nursing students’ perceptions of the strategy for health promotion is that of behavior modification Theory (\dpi{80} \bar{X} = 4.06, SD = .69) which differs from the nursing instructors who envisage the strategy for health promotion through empowerment  and  Pender ‘s health promotion at 37.5%. The perception of nursing students about efficacy is much (\dpi{80} \bar{X} = 3.50, SD = .36). The result of the analysis for the focus group does not differ from the above. The health promotion concept theory and strategy should clearly outline that nursing students can further apply themselves to another subject.   

Downloads

Issue

Section

บทความวิจัย (Research Report)