วิถีชีวิตที่เสี่ยงต่อการเกิดภาวะเมตาโบลิกของผู้ใหญ่ไทย ในเขตชนบท
Keywords:
วิถีชีวิต, ภาวะเมตาโบลิก, ผู้ใหญ่ไทย, ชนบท, lifestyle, metabolic syndrome, Thai adults, rural areaAbstract
การวิจัยเชิงคุณภาพครั้งนี้มีเป้าหมายเพื่อ ศึกษาวิถีชีวิตที่เสี่ยงต่อการเกิดภาวะเมตาโบลิกของผู้ใหญ่ไทย ในเขตชนบท เลือกผู้ให้ข้อมูลหลักแบบเจาะจงจากผู้ใหญ่เขตชนบทแห่งหนึ่งในจังหวัดพิจิตร ทั้งเพศชาย และเพศหญิงที่มีรอบเอวเกินมาตรฐาน จำนวน 20 คน เก็บข้อมูลระหว่างเดือนตุลาคม 2557– มกราคม 2558 โดยใช้การสนทนากลุ่ม การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสังเกตอย่างไม่มีส่วนร่วม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีของโคไลซี่
ผลการศึกษา พบว่า
วิถีชีวิตที่เสี่ยงต่อการเกิดภาวะเมตาโบลิกของผู้ใหญ่ไทย ในเขตชนบท ประกอบด้วย 1) มีกิจกรรมทางกายลดลง 2) บริโภคตามใจมากขึ้น และกลัวไม่คุ้ม 3) ขาดสติในควบคุมตนเองเพื่อการบริโภค และ 4) ไม่กล้าปฏิเสธ และเกรงใจ
จากผลการศึกษาครั้งนี้ แสดงให้เห็นว่า การลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะเมตาโบลิกของผู้ใหญ่ไทย ในเขตชนบท ควรมีการจัดโปรแกรมที่เน้นการออกกำลังกายที่เหมาะสมสำหรับกลุ่มผู้ใหญ่ การเสริมความรู้เกี่ยวกับการบริโภคที่เหมาะสม และพัฒนาทักษะการสื่อสารเพื่อการมีวิถีชีวิตสุขภาพ
Lifestyle risk of metabolic syndrome among Thai adults in rural areas
The purpose of this qualitative research was to study the lifestyle risk of metabolic syndrome among Thai adults in rural areas. The informants purposely selected were 20 Thai adults living in rural areas including men and women with a waist circumference over the standard. Data was collected during October 2014 to January 2015 using focus group interviews, in-depth interviews, and nonparticipant observations. Data was analyzed using the Colaizzi method of analysis.
The results of this study found that:
The lifestyle risk of metabolic syndrome among Thai adults in rural areas was composed of: 1) reduced physical activity, 2) Indulging themselves without consideration of the health consequences, 3) the consumer’s lack of self-control and, 4) being overly courteous by not eating a healthy diet.
The results of this study indicated that to reduce the risk of metabolic syndrome among Thai adults in rural areas a program should be established that focuses on appropriate exercises for adults, enhancing knowledge about the consumer, and the development of better communication skills for a healthier living style.
Downloads
Issue
Section
License
เนื้อหาบทความหรือข้อคิดเห็นต่างๆ ในวารสารพยาบาลสภากาชาดไทยนี้ เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนบทความ ไม่ใช่ความเห็นของกองบรรณาธิการ หรือสถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย