การตัดสินใจโอนย้าย/ลาออกของพยาบาลวิชาชีพ: กรณีศึกษาหอผู้ป่วยอายุรกรรมสามัญชาย โรงพยาบาลแห่งหนึ่ง

Authors

  • ศิริลักษณ์ วิทยนคร โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา
  • ธัญลักษณ์ บรรลิขิตกุล ภาควิชาการพยาบาลพื้นฐานและบริหารการพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทย
  • โศภนา น้อยนิวรณ์ โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา

Keywords:

กระบวนการตัดสินใจโอนย้าย/ลาออก, พยาบาลวิชาชีพ, การวิจัยเชิงคุณภาพ, turnover, registered nurses, qualitative study

Abstract

การศึกษาเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายสถานการณ์การตัดสินใจการโอนย้าย/ลาออกของพยาบาลวิชาชีพ ณ หอผู้ป่วยอายุรกรรมสามัญชาย ในโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง ผู้ให้ข้อมูลเป็นพยาบาลวิชาชีพที่เคยมีประสบการณ์การปฏิบัติงาน ณ หอผู้ป่วยอายุรกรรมสามัญชายและปัจจุบันย้ายหรือลาออกจากการปฏิบัติงาน ณ หอผู้ป่วยอายุรกรรมสามัญชายแล้ว คัดเลือกด้วยเทคนิค Snow ball มีผู้ให้ข้อมูลทั้งหมดรวม 10 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกตามแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis)

ผลการศึกษาพบว่า การตัดสินใจการโอนย้าย/ลาออกของพยาบาลวิชาชีพ ประกอบด้วย 1)  ความรู้สึกที่ไม่สามารถเผชิญกับปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงานต่อไปได้ ซึ่งปัญหาที่ผู้ให้ข้อมูลเผชิญ ได้แก่ การทำงานของหอผู้ป่วยที่มีความเฉพาะ การปฏิบัติงานของบุคลากรทําให้เกิดความรูสึกอึดอัดใจ กําลังคนไมเหมาะสมกับงาน ขาดกำลังใจหรือการรับรู้ปัญหาจากผู้บริหาร และความเหนื่อยล้าในการสอนพยาบาลจบใหม่ 2)  การเสาะแสวงหาข้อมูลข่าวสารเพื่อกำหนดทางเลือกที่จะโอนย้าย/ลาออกจากการปฏิบัติงาน ณ หอผู้ป่วยแห่งนี้ ประกอบด้วย การประเมินทางเลือกก่อนการตัดสินใจลาออกและปัจจัยที่สนับสนุนการตัดสินใจลาออก การกำหนดเลือกหรือตัดสินใจที่จะลาออกจากการปฏิบัติงาน ณ หอผู้ป่วยแห่งนี้อย่างเป็นทางการ จนได้รับการอนุมัติให้โอนย้าย/ลาออกตามต้องการ และ 3) การประเมินทางเลือกหลังการตัดสินใจเลือกลาออก/โอนย้าย

ผลการวิจัยที่ได้เป็นข้อมูลสำคัญให้ผู้บริหารทางการพยาบาลในการพิจารณาเพื่อแก้ปัญหาการโอนย้าย/ลาออกของพยาบาลวิชาชีพ

 

Decision making on turnover among registered nurses:  a qualitative study at the general medical ward in a hospital

This qualitative study aimed to advance our understanding of registered nurses' decision making concerning turnover from the general medical ward, which is located in the วhospital. Data were collected through in-depth interviews with 10 sample subjects, all of whom were registered nurses experienced in working at the general medical ward. They were recruited using the snowball technique until the data was saturated. The data were analyzed based on Colyzy’s content analysis principles.

The results revealed that all participants’ decision making concerning turnover from the general medical ward were described as follows: 1) Becoming overwhelmed with barriers or problems in the working environment. These were specific working culture, poor team working, inadequate patient-staff ratios, a lack of support from the administrator, and fatigue from teaching new registered nurses. All negatively affected participants’ well-being. As a result, the participants made the decision to withdraw from this ward to work at the new working environment. 2) All participants looked for a new place to work by gathering information: to evaluate options before making decisions, and then ask for factors that contributed to make the decision; participants decided to leave from this ward without hesitation by following a formal process of resignation. 3) All of them were satisfied with their decision making concerning the turnover of the ward.

Conclusion

The findings may be applied to the nursing administrative team to solve the barriers or problems in the working environment, which would decrease the decision making concerning turnover among nurses.

Downloads

Issue

Section

บทความวิจัย (Research Report)