กรณีศึกษาการใช้แนวทางปฏิบัติการหย่าเครื่องช่วยหายใจในโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง

Authors

  • ขวัญเรือน วงษ์มณี หน่วยโรคระบบทางการหายใจและบำบัดวิกฤตโรคระบบทางการหายใจ ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

Keywords:

การหย่าเครื่องช่วยหายใจ, กรณีศึกษา, weaning ventilator, case study

Abstract

การหย่าเครื่องช่วยหายใจ เป็นแนวทางการรักษาเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยสามารถหายใจได้เอง โดยไม่ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจเป็นระยะเวลานาน เนื่องจากการใช้เครื่องช่วยหายใจเป็นระยะเวลานาน ทำให้เพิ่มอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วย กลวิธีการหย่าเครื่องช่วยหายใจมี 2 วิธี คือ การตัดสินใจโดยใช้ดุลยพินิจของแพทย์ (Physician-directed weaning) และการใช้แนวปฏิบัติในการหย่าเครื่องช่วยหายใจ(Protocol-directed weaning) พยาบาลมีบทบาทสำคัญในทุกขั้นตอนของการหย่าเครื่องช่วยหายใจ บทความนี้จะนำเสนอกรณีศึกษาการใช้แนวทางปฏิบัติการหย่าเครื่องช่วยหายใจในโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง

 

A Case Study of Protocol–Directed Weaning in a Hospital

Weaning  from  mechanical ventilation is a treatment for intubated patients freeing from mechanical support. Prolonged mechanical support results in a significant increase in mortality.  Weaning strategies have two types: physician-directed weaning and  protocol-directed weaning. Nurses play important roles in  every step of the weaning process. This article presents a case study of protocol-directed weaning in a ward in a hospital.


Downloads

Issue

Section

บทความวิชาการ (Academic Articles)