ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการช่วยเลิกบุหรี่ของหญิงตั้งครรภ์ ที่มีสมาชิกครอบครัวสูบบุหรี่ มารับบริการในคลินิกฝากครรภ์ โรงพยาบาลเลิดสิน
Keywords:
สมาชิกครอบครัวสูบบุหรี่, พฤติกรรมช่วยเลิกบุหรี่, family member smoking, smoking cessationAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) พฤติกรรมการช่วยเลิกบุหรี่ของหญิงตั้งครรภ์ที่มีสมาชิกครอบครัวสูบบุหรี่ 2) ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการช่วยเลิกบุหรี่ของหญิงตั้งครรภ์ที่มีสมาชิกครอบครัวสูบบุหรี่ กลุ่มตัวอย่างเป็นหญิงตั้งครรภ์ที่มีสมาชิกครอบครัวสูบบุหรี่ ในคลินิกฝากครรภ์ โรงพยาบาลเลิดสิน กรุงเทพมหานคร จำนวน 100 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถามพฤติกรรมการช่วยเลิกบุหรี่ และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตามโมเดลส่งเสริมสุขภาพของเพนเดอร์และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องมีมาตราประมาณค่า 4 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) พฤติกรรมการช่วยเลิกบุหรี่ อยู่ในระดับปานกลาง ( = 2.61, SD = 0.63) การรับรู้ประโยชน์ในการช่วยเลิกบุหรี่อยู่ในระดับสูง ( = 3.57 , SD = 0.42) ส่วนการรับรู้อุปสรรคในการช่วยเลิกบุหรี่ การรับรู้ความสามารถในการช่วยเลิกบุหรี่ และความตั้งใจในการช่วยเลิกบุหรี่ อยู่ในระดับปานกลาง ( = 2.88, 2.91, 2.99, SD = 0.49, 0.46, 0.53) 2) ปัจจัยด้านการรับรู้ความสามารถในการช่วยเลิกบุหรี่และความตั้งใจในการช่วยเลิกบุหรี่ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการช่วยเลิกบุหรี่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ p <0.001 (r = 0.342, 0.519) 3) ปัจจัยด้านความตั้งใจในการช่วยเลิกบุหรี่ สามารถทำนายพฤติกรรมการช่วยเลิกบุหรี่ของหญิงตั้งครรภ์ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p<0.001 (beta = 0.454)
การวิจัยนี้มีข้อเสนอแนะว่า พยาบาลควรจะตระหนักถึงความสำคัญของความตั้งใจในการช่วยเลิกสูบบุหรี่และสนับสนุนให้หญิงตั้งครรภ์มีความมุ่งมั่นตั้งใจในการช่วยเหลือสมาชิกครอบครัวเลิกสูบบุหรี่ได้สำเร็จ
Predicting Factors of Smoking Cessation Behaviors in Pregnant Women Who Have a Family Member Smoking in Antenatal Clinic at Lerdsin Hospital
The purposes of this research are to study 1) Smoking cessation behaviors of pregnant women who have a family member smoking 2) Predicting factors of smoking cessation behaviors. This study were conducted through 100 pregnant women who have a family member smoking from ANC at Lerdsin Hospital in Bangkok by purposive sampling. Data was collected by using 4 scale questionnaire for pregnant women. The questionnaire were from review literatures and Health Promotion Pender’s model. Data was analyses by descriptive and multiple linear regression. The results were that: 1) Smoking cessation of pregnant women who have a family member. Smoking was medium range ( = 2.61, SD = 0.63), acknowledgement of benefits and intension to stop smoking were in a high range. ( = 3.57, SD = 0.42) acknowledgement of barrier, and self-efficacy to stop smoking and intension of smoking cessation were in medium range. ( = 2.88, 2.91, 2.99, SD = 0.49, 0.46, 0.53) 2) The correlation between perceived of self-efficacy to stop smoking and intension of smoking cessation assistance and smoking cessation behavior was positive significant at p-value <0.001 (r = 0.342, 0.519), respectively. 3) Intension of smoking cessation assistance can predict smoking cessation behaviors p< 0.001 (beta = 0.454 respectively at p-value <0.001).
This study suggests that intension of smoking to help people from smoking cessation behaviors in the family. It is important that nurses should be aware of the intension of smoking cessation family members smoking cessation successfully.
Downloads
Issue
Section
License
เนื้อหาบทความหรือข้อคิดเห็นต่างๆ ในวารสารพยาบาลสภากาชาดไทยนี้ เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนบทความ ไม่ใช่ความเห็นของกองบรรณาธิการ หรือสถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย