ปัจจัยทำนายการเสพแอมเฟตามีนของเยาวชนในชุมชนแออัด
Keywords:
การเสพแอมเฟตามีน, รูปแบบระบบของนิวแมน, เยาวชนในชุมชนแออัด, amphetamine use, The Neuman Systems Model, youth in congested communityAbstract
การวิจัยครั้งนี้ เป็นการศึกษาเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายการเสพแอมเฟตามีนของเยาวชนในชุมชนแออัด โดยใช้กรอบแนวคิดรูปแบบระบบของนิวแมน กลุ่มตัวอย่างเป็นเยาวชนที่อาศัยในชุมชนหัวรถจักรตึกแดง เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร จำนวน 193 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มเลือกตัวอย่างแบบมีระบบ และเก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้แบบสอบถามชนิดตอบเอง วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิตเชิงพรรณนา สถิติไคสแควร์เพียร์สัน และสถิติวิเคราะห์ความถดถอยโลจิสติกเชิงพหุแบบมีขั้นตอน
ผลการศึกษา พบว่าเยาวชนมีการเสพแอมเฟตามีน ร้อยละ 15 ในการหาความสัมพันธ์ พบว่าเพศ การเห็นคุณค่าในตนเอง สัมพันธภาพในครอบครัว ทัศนคติต่อการเสพแอมเฟตามีน การมีพฤติกรรมเสี่ยง การใช้ยาเสพติดในครอบครัว การเสพแอมเฟตามีนในกลุ่มเพื่อน และพัฒนกิจวัยรุ่น มีความสัมพันธ์กับการเสพแอมเฟตามีน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value <.05) และผลการวิเคราะห์ความถดถอยโลจิสติกเชิงพหุ พบว่า เพศชาย ทัศนคติต่อการเสพแอมเฟตามีนเชิงบวกและเป็นกลาง การมีพฤติกรรมเสี่ยง และการคบเพื่อนที่เสพแอมเฟตามีน สามารถร่วมทำนายการเสพแอมเฟตามีนได้ ร้อยละ 89.6
ข้อเสนอแนะจากการวิจัย คือ การป้องกันการเสพแอมเฟตามีนของเยาวชน ในชุมชนแออัด ควรเน้นสร้างโปรแกรมที่ผสมผสานการจัดกิจกรรมการส่งเสริมพัฒนาการในทุกๆ ด้าน ได้แก่ การเห็นคุณค่าในตนเอง ปรับทัศนคติต่อการเสพแอมเฟตามีน และเป็นกิจกรรมที่มีส่วนร่วมกันทั้งในเยาวชนโดยเฉพาะเยาวชนเพศชายกับสมาชิกในครอบครัว กลุ่มเพื่อน และชุมชน
Predictive Factors of Amphetamine Use Among Youths in a Congested Community
This cross-sectional survey study aimed to examine the predictive factors of amphetamine use utilizing the Neuman systems model among youths living in the Hua Rot Chak Tuek Daeng congested community, Bang Sue District, Bangkok. The subjects comprised 193 youths selected by a systematic sampling technique. Data were collected by a self-administered questionnaire and analyzed using descriptive statistics, Pearson’s Chi square test, and stepwise multiple logistic regression.
The results showed that 15% of the youths used amphetamine. There were significant relationships among sex, self-esteem, family relationship, positive attitudes towards amphetamine, history of risky behavior, family history use of drug, friends’ history use of drug, teenage developmental task, and amphetamine use (p-value <.05). The multiple logistic regression analysis showed that boy, positive attitudes towards amphetamine, history of risky behavior and friends history use of drug could predict amphetamine use among youths, accounted for 89.6%.
To promote primary prevention of amphetamine use among youth program, the health personnel should promote male teenage developmental tasks, self-esteem, and attitude modification against drugs through activities that need involvement from male youths, family members, friends and community.
Downloads
Issue
Section
License
เนื้อหาบทความหรือข้อคิดเห็นต่างๆ ในวารสารพยาบาลสภากาชาดไทยนี้ เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนบทความ ไม่ใช่ความเห็นของกองบรรณาธิการ หรือสถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย