ผลของการเตือนการถอดสายสวนปัสสาวะต่อการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะจากการคาสายสวนปัสสาวะ
Keywords:
การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ, การเตือนการถอดสายสวนปัสสาวะ, การคาสายสวนปัสสาวะ, Catheter-Associated Urinary Tract Infection, urinary catheter removal reminder, indwelling urinary catheterizationAbstract
การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบจำนวนวันการคาสายสวนปัสสาวะ และอัตราการติดเชื้อ CAUTI ของผู้ป่วยศัลยกรรมประสาทที่ได้รับการคาสายสวนปัสสาวะ ระหว่างกลุ่มที่ใช้การเตือนการถอดสายสวนปัสสาวะและกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยศัลยกรรมประสาทที่ได้รับการคาสายสวนปัสสาวะ ที่เข้ารับการรักษาที่หอผู้ป่วยศัลยกรรมประสาท เครื่องมือวิจัย ประกอบด้วย เครื่องมือที่ใช้ทดลอง คือ การเตือนการถอดสายสวนปัสสาวะ และเครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบเก็บข้อมูลจำนวนวันการคาสายสวนปัสสาวะและอัตราการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาและทดสอบความเที่ยงแบบความเท่าเทียมกัน ได้ค่าความสอดคล้องเท่ากับร้อยละ 90.9 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยช่วง 6 เดือนแรกเป็นกลุ่มควบคุมที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ (n = 366) และ 6 เดือนหลังเป็นกลุ่มทดลอง (n = 333) เปรียบเทียบจำนวนวันการคาสายสวนปัสสาวะและอัตราการติดเชื้อ CAUTI ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ด้วยสถิติทดสอบแมนวิทนีย์ยู และสถิติไค-สแควร์ ตามลำดับ ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มที่ใช้การเตือนการถอดสายสวนปัสสาวะเมื่อหมดความจำเป็น มีจำนวนวันการคาสายสวนปัสสาวะน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Z = 4.918, p = .000) และอัตราการติดเชื้อ CAUTI แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ(χ2 = 0.359, p = 0.35)
ข้อเสนอแนะที่ได้จากผลการวิจัยคือ ควรนำการเตือนการถอดสายสวนปัสสาวะมาใช้ในการปฏิบัติการพยาบาลเพื่อลดจำนวนวันการคาสายสวนปัสสาวะ และอัตราการติดเชื้อ
The Effect of Urinary Catheter Removal Reminder on Catheter-Associated Urinary Tract Infection
This quasi-experimental study compared urinary catheter days and rate of catheter-associated urinary tract infection (CAUTI) of hospitalized neurosurgical patients who had a urinary catheter between a group receiving a urinary catheter removal reminder when catheterization was no longer necessary (experimental group) and a group receiving usual care (control group). Participants were neurosurgical patients who had a urinary catheter admitted at a neurosurgical ward. Research instruments consisted of an experimental instrument which was the “urinary catheter removal reminder” and the data collection instrument, namely, the Infection Surveillance Form used to record urinary catheter day and rate of CAUTI. This was validated and tested for inter-rater reliability yielding 90.9 percent agreement. Those in the first 6 months were in the control group (n = 366) and those in the following 6 months were in the experimental group (n = 333). Urinary catheter days and rates of CAUTI of the experimental and control groups were compared using Mann-Whitney U test and Chi-square test, respectively. The results show that the experimental group receiving the urinary catheter removal reminder when catheterization was no longer necessary had significantly lower urinary catheter days (Z = 4.918, p = .000) and tended to have non-significantly lower rates of CAUTI (χ2 = 0.359, p=0.35) compared to those of the control group.
It is recommended that a urinary catheter removal reminder should be utilized in clinical practice to reduce the urinary catheter days and rate of CAUTI.
Downloads
Issue
Section
License
เนื้อหาบทความหรือข้อคิดเห็นต่างๆ ในวารสารพยาบาลสภากาชาดไทยนี้ เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนบทความ ไม่ใช่ความเห็นของกองบรรณาธิการ หรือสถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย