ผลของโปรแกรมการกระตุ้นการรู้คิดต่อความสามารถในการรู้คิด และความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน ในผู้สูงอายุที่เสี่ยงหรือมีภาวะสมองเสื่อม
Keywords:
ความสามารถในการรู้คิด, ความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน, ผู้สูงอายุ, ภาวะสมองเสื่อม, cognitive ability, activity of daily living, elder, dementiaAbstract
การวิจัยแบบทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการกระตุ้นการรู้คิด ต่อความสามารถในการรู้คิดและความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันของผู้สูงอายุที่เสี่ยงหรือมีภาวะสมองเสื่อม กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่เสี่ยงหรือมีภาวะสมองเสื่อมที่พักอาศัยในศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ จังหวัดปทุมธานี จำนวน 32 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม โดยการจับคู่ด้วยตัวแปร อายุ เพศ และระดับการศึกษา แล้วสุ่มกลุ่มตัวอย่างอย่างง่ายเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการกระตุ้นการรู้คิด เป็นระยะเวลาต่อเนื่อง 6 สัปดาห์ ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับกิจกรรมตามปกติของศูนย์ฯ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบประเมินสภาพสมองเบื้องต้นฉบับภาษาไทย (Mini - Mental State Examination Thai 2002: MMSE-Thai 2002) และดัชนีจุฬาเอดีแอล (Chula ADL Index) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา t-test และ Wilcoxon signed ranks test
ผลการวิจัยพบว่าค่าเฉลี่ยของคะแนนความสามารถในการรู้คิดของกลุ่มทดลองภายหลังเข้าร่วมโปรแกรมการกระตุ้นการรู้คิดสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) คะแนนความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันของกลุ่มทดลองก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรมฯ ไม่แตกต่างกัน(p>.05) ค่าเฉลี่ยของคะแนนความสามารถในการรู้คิด และคะแนนความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันหลังทดลอง ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมไม่แตกต่างกัน (p>.05)
การศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมการกระตุ้นการรู้คิดสามารถฟื้นฟูและส่งเสริมความสามารถในการรู้คิดในผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมและป้องกันภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยง และควรมีการดำเนินโปรแกรมอย่างต่อเนื่อง
Effects of a Cognitive Stimulation Program on the Cognitive Abilities and Ability to Perform the Activities of Daily Living in Elders Who are at Risk of or have Dementia
The purpose of this experimental research was to study the effects of a cognitive stimulation program on the cognitive abilities and the ability to perform the activities of daily living (ADLs) of elders who are at risk of or have dementia. The sample comprised thirty two elders, residing in the Social Welfare Development Center for the Elderly in Prathumthani province, who were at risk of or had dementia. The subjects were divided into two groups, using matched pairs with age, gender, and level of education and then simple random sampling for them to be placed in either the experimental group or the control group. The experimental group continuously attended the cognitive stimulation program for six weeks, while the control group attended a regular program provided by the center. The data were collected by using Mini-Mental State Examination Thai 2002: MMSE-Thai 2002 and the Chula ADL Index. The data were analyzed by using descriptive statistics, t-test and Wilcoxon signed rank test.
The research findings revealed that the average score of cognitive abilities in the experimental group after attending the program was significantly higher than prior to participating in the program (p<.001). The ADLs scores of the experimental group before and after participating in the program were not significantly different (p>.05). In addition, the scores of the cognitive and ADLs abilities between the experimental group and the control group after the experiment were not significantly different (p>.05).
The study indicates that the cognitive stimulation program can restore and promote the cognitive abilities of the elderly with dementia and prevent dementia in the elderly who are at risk. Therefore, the program should be conducted on a regular basis.
Downloads
Issue
Section
License
เนื้อหาบทความหรือข้อคิดเห็นต่างๆ ในวารสารพยาบาลสภากาชาดไทยนี้ เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนบทความ ไม่ใช่ความเห็นของกองบรรณาธิการ หรือสถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย