ผลของกิจกรรมการพยาบาลตามรูปแบบการส่งเสริมสุขภาพของเพนเดอร์ต่อพฤติกรรมป้องกันการติดเชื้อของมารดาเด็กป่วยโรคมะเร็งวัย 1-5 ปี ที่ได้รับการรักษาด้วยเคมีบำบัด

Authors

  • วิชนัน จันทร์ส่อง นิสิตหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • วราภรณ์ ชัยวัฒน์ คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Keywords:

รูปแบบการส่งเสริมสุขภาพ, เด็กป่วยโรคมะเร็ง, การป้องกันการติดเชื้อ, health promotion, child cancer, infection precaution

Abstract

     การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของกิจกรรมการพยาบาลตามรูปแบบการส่งเสริมสุขภาพของเพนเดอร์ต่อพฤติกรรมป้องกันการติดเชื้อของมารดาเด็กป่วยโรคมะเร็งวัย 1-5 ปี ที่ได้รับการรักษาด้วยเคมีบำบัด กลุ่มตัวอย่าง คือ มารดาของเด็กป่วยโรคมะเร็งวัย 1-5 ปี ได้รับการรักษาด้วยเคมีบำบัดในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทยจำนวน 15 คน สุ่มเข้ากลุ่มด้วยการจับฉลาก  ได้กลุ่มทดลอง จำนวน 8 คน และกลุ่มควบคุม จำนวน 7 คน กลุ่มทดลองได้รับกิจกรรมการพยาบาลตามรูปแบบการส่งเสริมสุขภาพของเพนเดอร์ ซึ่งเป็นการให้คำปรึกษารายบุคคล เพื่อให้มารดาของเด็กป่วยโรคมะเร็งรับรู้ว่าประโยชน์ของพฤติกรรมป้องกันการติดเชื้อนั้นมีมาก อุปสรรคมีน้อย และตนเองมีความสามารถที่จะปฏิบัติพฤติกรรมดังกล่าวได้ ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามพฤติกรรมป้องกันการติดเชื้อที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น เครื่องมือมีค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหา .80 และค่าสัมประสิทธิ์ความเที่ยงของเครื่องมือ .78  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ Mann-Whitney U Test  

     ผลการวิจัยพบว่ามารดาเด็กป่วยโรคมะเร็งวัย 1-5 ปีที่ได้รับการรักษาด้วยเคมีบำบัดกลุ่มที่ได้รับกิจกรรมการพยาบาลตามรูปแบบการส่งเสริมสุขภาพของเพนเดอร์มีพฤติกรรมป้องกันการติดเชื้อดีกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

 

The Effect of the Nursing Intervention Based on Pender’s Health Promotion Model on Infection Prevention Behaviors in Mothers of 1-5 Year-Old Children with Cancer Undergoing Chemotherapy

     This quasi-experimental research was aimed to study the effect of nursing intervention based on Pender, s health promotion model on infection prevention behaviors in mothers of 1-5-year-old children with cancer undergoing chemotherapy. Fifteen mothers were randomly assigned, eight in the treatment group and seven in the control group. Mothers in the treatment group received the nursing intervention based on Pender, s health promotion model was individual counseling aiming to increase the perceived benefits of the infection prevention behaviors, to reduce perceived barrier, and to increase their self-efficacy. Data were collected by the infection prevention behaviors questionnaire developed by the researchers. Its content validity index was .80 and its reliability coefficient was .78. Data were analyzed by the Mann-Whitney U Test.

     It was found that mothers of 1-5-year-old children with cancer undergoing chemotherapy who received a nursing intervention based on Pender, s health promotion model infection prevention behaviors performed better at infection prevention behaviors than mothers who received routine nursing, at a statistical significance level of .05.

Downloads

Issue

Section

บทความวิจัย (Research Report)