กลยุทธ์การเสริมสร้างพลังอำนาจในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง

Authors

  • รสสุคนธ์ วาริทสกุล ภาควิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ วิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทย

Keywords:

กลยุทธ์, การเสริมสร้างพลังอำนาจ, โรคไตเรื้อรัง, strategies, empowerment, chronic kidney disease

Abstract

        พลังอำนาจในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังถือเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญที่จะช่วยให้ผู้ป่วยสามารถควบคุมความรุนแรงของโรคและลดโอกาสในการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากโรคและการรักษาได้ ในการพัฒนาให้ผู้ป่วยมีพลังอำนาจอย่างเพียงพอจำเป็นต้องคำนึงถึงปัจจัยทั้งด้านความเข้มแข็งของปัจเจกบุคคลและระบบสนับสนุนทางสุขภาพ กระบวนการเสริมสร้างพลังอำนาจต้องคำนึงถึงคุณลักษณะด้านการเรียนรู้ของผู้ป่วยแต่ละคนและต้องกำหนดเป้าหมายให้สอดคล้องกับระดับของพลังอำนาจที่ต้องการให้เกิดขึ้น คือ ระดับการตระหนักรู้ (Awareness) ระดับการยึดมั่นผูกพัน (Engagement) และระดับการควบคุมตนเอง (Self-control) ซึ่งแต่ละระดับมีวิธีการที่แตกต่างกันไป ส่วนระบบสนับสนุนหรือการจัดบริการสุขภาพเพื่อเสริมสร้างพลังอำนาจในกลุ่มผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังพบว่ามีการผสมผสานรูปแบบต่างๆ แตกต่างกันไปตามวัตถุประสงค์ของโปรแกรม กลยุทธ์ที่พบมี 3 รูปแบบ คือ การให้ความรู้ด้านสุขภาพ (Health educating) การให้คำปรึกษาแบบสร้างแรงจูงใจ (Motivational interviewing) และการเป็นพี่เลี้ยงสุขภาพหรือโค้ชสุขภาพ (Health coaching) บทความนี้มุ่งอธิบายแนวคิดการเสริมสร้างพลังอำนาจ และนำเสนอกลยุทธ์ที่ใช้ในการสร้างพลังอำนาจในกลุ่มผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่มีการพัฒนามาเป็นลำดับ ตลอดจนข้อเสนอแนะการนำไปใช้สำหรับบุคลากรสุขภาพที่เกี่ยวข้องต่อไป


Strategies for Empowerment in Patients with Chronic Kidney Disease 

        Power is known to be an influential factor for kidney patients in controlling their disease progression, and preventing disease- and treatment-related complications. To establish patient’s power, both the internal strength of individuals and healthcare supporting system should be taken into consideration. There is a specific goal of empowerment corresponding with each level of patient’s power: awareness, engagement, and self-control that can be accomplished with different strategies for the individuals. The strategies comprising health education, motivational interviewing, and health coaching are described. Suggestions for clinical practice are identified in this article. 

Downloads

Issue

Section

บทความวิชาการ (Academic Articles)